นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” (Japanese Design Today 100) อะไรทำให้งานออกแบบญี่ปุ่นสร้างอิทธิพลระดับโลก?

พุธ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๕:๒๔
เจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศไทย (Japan Foundation) ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency: CEA) โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center: TCDC) นำเสนอนิทรรศการ "ออกแบบ แบบญี่ปุ่น" Japan Design Today 100 ที่แสดงถึง "วิถีร่วมสมัย" ของชาวญี่ปุ่นที่เปิดทางให้จารีตแบบดั้งเดิมเดินทางไปพร้อมกับนวัตกรรมและการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลผ่านตัวอย่างของการออกแบบที่ดีที่สุดเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 100 ผลงาน เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของลักษณะงานดีไซน์ญี่ปุ่น และนำสู่การศึกษารูปแบบสังคมแนวคิดในการสร้างสรรค์งานที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง

นิทรรศการ "ออกแบบ แบบญี่ปุ่น" Japanese Design Today 100 สัญจรไปจัดแสดงทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และมีการปรับรูปแบบใหม่โดยรวบรวมการออกแบบสินค้าในปัจจุบันควบคู่ไปกับการออกแบบสมัยใหม่นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 ถึง 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบสมัยนี้ ภายในห้องนิทรรศการเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้จริงในปัจจุบันจำนวน 89 ชิ้น และตัวแทนคาแรกเตอร์ดีไซน์ญี่ปุ่นอีก 11 ผลงาน ทั้งหมดถูดจัดกลุ่มตามประเภทการใช้งานจำนวน 10 กลุ่ม ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงความเข้าใจในวัสดุและนวัตกรรมที่เหมาะกับการใช้ชีวิตแบบคนญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง อาทิ

งานออกแบบคลาสสิกระดับตำนานของญี่ปุ่น (Classic Japanese design)

ขวดบรรจุซอสถั่วเหลืองชิ้นแรก ที่ออกแบบให้เทซอสได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดฝา

ชื่อผลงาน: Kikkoman Soy Sauce Dispenser 150ml bottle, 1961

นักออกแบบ: Kenji Ekuan

เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัว (Tableware and Cookware)

อุปกรณ์บอกอุณหภูมิสำหรับปิดฝาถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตัวคนจะเปลี่ยนสีตามความร้อน-เย็นของภาชนะ

ชื่อผลงาน: Cupmen 1 Hold on, 2009

นักออกแบบ: Akira Mabuchi

เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ (Apparel and Accessories)

เสื้อโค้ตเพื่อชีวิต นอกจากป้องกันความหนาวเย็นแล้ว โฮม 1 ยังมีกระเป๋าขนาดใหญ่สำหรับเก็บของใช้ยามฉุกเฉินและช่วยให้อยู่รอดในสภาวะขาดแคลน

ชื่อผลงาน: Final Home "HOME 1", 1994

นักออกแบบ: Kosuke Tsumura

ของใช้สำหรับเด็ก (Children)

หน้ากากป้องกันการติดเชื้อสำหรับทารกอายุตั้งแต่ 1.5 ปีขึ้นไป รูปทรงโดมขยายพื้นที่ภายในหน้ากากทำให้หายใจได้สะดวก

ชื่อผลงาน: First Face Mask for Babies, 2011

อุปกรณ์เครื่องเขียน (Stationary)

เทปกาวจากกระดาษญี่ปุ่น คุณสมบัติ ทนทาน แต่บาง ลอกออกได้ง่าย ปัจจุบัน เอ็มที ถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลายมาขึ้น เช่น วอลเปเปอร์ สำหรับงานตกแต่งภายในอีกด้วย

ชื่อผลงาน: mt-masking tape, 2008

นักออกแบบ: Koji Lyama

อุปกรณ์กิจกรรมสันทนาการ (Hobbies)

ตำนานกล้องเล็ก เลนส์กว้าง GR เป็นกล้องดิจิทัลที่ถือว่ามีระบบชัตเตอร์ไวเหมาะสำหรับถ่ายภาพเหตุการณ์-อารมณ์ความรู้สึกประเภท Street Snap

ชื่อผลงาน: GR, 2013

นักออกแบบ: Tatsuo Okuda, Masahiro Kurita, Takashi Ishida

นอกจากนี้ ยังมีงานดีไซน์ในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือน (Furniture and Housewares) ของใช้สำหรับสุขภาพ (Healthcare) ขนส่ง (Transportation) และ อุปกรณ์กู้ภัยและบรรเทาสาธารณภัย (Disaster relief) โดยทั้งหมดเป็นงานดีไซน์ของสินค้าครัวเรือนทำหน้าที่เป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล แนวคิดของนักออกแบบ และบริษัทที่ผลิตสินค้า รวมไปถึงธรรมชาติของวัฒนธรรมญี่ปุ่นปัจจุบัน

ในส่วนวัตถุจัดแสดงได้รับการคัดเลือกโดยภัณฑารักษ์ชาวญี่ปุ่น จำนวน 4 คน นำโดย ฮิโรชิ คาชิวางิ และ มาซาฟูมิ ฟูคากาวะ ที่ให้ความสำคัญกับ ดีไซน์สเคป การสำรวจวิถีชีวิต มุมอง วัฒนธรรม และมุมมองของผู้ใช้ในสังคมร่วมสมัย รวมถึง โนริโกะ คาวากามิ และ ชู ฮางิวาระ นำเสนอจุดแข็งของนักออกแบบชาวญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับแหล่งผลิตในภูมิภาคทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาและช่างฝีมือในท้องถิ่น

ข้อมูลนิทรรศการ

ชื่อนิทรรศการ: Japanese Design Today 100 ออกแบบ แบบญี่ปุ่น

สถานที่จัดแสดง: อาคารไปรษณีย์กลาง (ส่วนหลัง) ห้องแกลเลอรี่ ชั้น 1

วัน-เวลา: 24 เมษายน 2562 – 26 พฤษภาคม 2562 I เวลา 10.30-21.00 น.

เปิดบริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์)

ข้อมูลศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นพื้นที่การเรียนรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA หน่วยงานเฉพาะด้านที่ทำหน้าที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโต และการส่งเสริมให้ภาคการผลิตนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจและประเทศ

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาคารไปรษณีย์กลาง เลขที่ 1160 ถนนเจริญกรุง

แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501

โทร : (66) 2 105 7400

แฟกซ์ : (66) 2 105 7450

tcdc.or.th

ข้อมูล เจแปนฟาวน์เดชั่น

เจแปนฟาวน์เดชั่น (Japan Foundation) เป็นองค์กรสาธารณะเฉพาะกิจ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1972 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศโดยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ผ่านโครงการหลากหลายแขนง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนทางศิลปะและวัฒนธรรม การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางด้านญี่ปุ่นศึกษา และทางด้านวิชาการ เพื่อที่จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจในศิลปะและวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านทางทัศนศิลป์ ทางเจแปนฟาวน์เดชั่นได้ร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศในการจัดนิทรรศการ ตั้งแต่ศิลปะแบบดั้งเดิม ไปจนถึงศิลปะร่วมสมัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4