ศอช. เดินหน้าวิจัย น้ำเสียและสิ่งปฏิกูลบนพื้นที่สูง ลงพื้นที่บ้านหัวแม่คำ จ.เชียงราย
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป Thursday June 6, 2019 17:21
ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ (ศอช.) หน่วยงานภายใต้สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการตามยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม ศึกษาวิจัย "โครงการการพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง : The development of wastewater and excreta management models in ethnic communities in highland areas" มีเป้าหมายที่จะศึกษาสถานการณ์ และพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล รวมถึงสร้างปัจจัยปกป้อง (protective factors) ทางสุขภาพให้กับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ระหว่างปี 2562 -2563 โดยใช้บ้านหัวแม่คำ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ศึกษาวิจัย ล่าสุดทีมงานวิจัยฯ นำโดยนางรุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ดร.ณาณสินี สุมา และ ดร.ประดับดวง เกียรติศักดิ์ศิริ ได้ลงพื้นที่ศึกษาบริบทวิถีชีวิต ซึ่งเป็นอารยธรรมของชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ (อาข่า ลีซู ลาหู่ และจีนฮ่อ) ต้นน้ำคำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำและเป็นต้นน้ำประปาภูเขา รวมถึงสภาพปัญหาน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้น ณ บ้านหัวแม่คำ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
นางรุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า การดำเนินงานในโครงการการพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลในชุมชนบนพื้นที่สูง ณ บ้านหัวแม่คำ จังหวัดเชียงราย ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายนนี้ มีแผนจะลงพื้นที่ เพื่อศึกษาหาคำตอบในเรื่องรูปแบบการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลที่จะเอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนวิเคราะห์ร่วมกันในประเด็นภารกิจและบทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความเข้าใจถึงความคาดหวัง ความต้องการ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เป็นรากฐานที่สำคัญต่อการขยายผลเชิงบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการพัฒนาในอนาคต เพื่อสุขภาพของคนไทยกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มที่เราไม่อาจทิ้งไว้ข้างหลัง
จากข้อมูลสถานการณ์สภาวะสุขภาพของประชาชนบนพื้นที่สูง ปี 2556 พบว่า ชุมชนชาวไทยภูเขามีแหล่งน้ำดื่มหลักคือ ประปาภูเขา ซึ่งหากมีการปนเปื้อนสารมลพิษจากแหล่งน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำบริโภคจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการบริหารจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ดี โครงการการพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง : The development of wastewater and excreta management models in ethnic communities in highland areas เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) เป้าหมายที่ 6 ว่าด้วยเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ได้รับการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์น้ำชาติด้านการจัดการคุณภาพน้ำ เพื่อประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี




Latest Press Release
นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ตามที่นักวิชาการเสนอแนะแนวทางจัดการขยะ โดยระบุควรมีกฎหมายการจัดการขยะที่ครอบคลุม รวมทั้งควรแก้ปัญหาขยะในคลองด้วย นั้น ที่ผ่านมา กทม. ให้ความสำคัญกับการจัดการมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง โดยสำนักสิ่งแวดล้อม กทม....
ถือเป็นการสัมผัสประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ของพี่น้องชาวบางสะพาน และประชาชนทุกภาคส่วน ที่จะได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับ "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" ซึ่งจะเข้ามาจอดเทียบท่าเรือน้ำลึกที่สุดในประเทศไทย ณ ท่าเรือประจวบในเครือสหวิริยา ในระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคมนี้...
คุณพัชราวดี วีรบวรพงศ์ กรรมการผู้จัดการและคุณวัลลภ กมลวิศิษฏ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมแสดงความยินดี เปิดสาขาใหม่ Starbuck สาขา พาลาเดียม โดยมี คุณเนตรนภา ศรีสมัย Managing Director และคุณธนาศักดิ์ กุลรัตนรักษ์...
นายไทวุฒิ ขันแก้ว รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. กล่าวตามที่สมัชชาแม่น้ำ และ 35 องค์กรภาคีเครือข่าย แถลงจุดยืนเพื่อคัดค้านโครงการก่อสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยระบุ...
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์ ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ภาคความรู้ ผ่านระบบ E testing สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร จำนวน 40 คน ให้กับนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ของ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ สาขาวิชา เทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ 1...