นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” เดินทางสู่ขอนแก่น ปลุกกระแสไอเดียงานดีไซน์ตามรอยแดนอาทิตย์อุทัย ที่ “ม.ขอนแก่น”

ศุกร์ ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๓:๓๐
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภายหลังจากนิทรรศการ "ออกแบบ แบบญี่ปุ่น" หรือ "Japanese Design Today 100" นิทรรศการระดับโลกจากแดนอาทิตย์อุทัย ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก และจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ญี่ปุ่นจำนวน 100 ชิ้น ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) และ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่ (TCDC เชียงใหม่) ที่ผ่านมา ได้สร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นต่อมคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แก่นักออกแบบ เยาวชนไทยในพื้นที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ที่เข้าร่วมชมเป็นอย่างมาก โดยในมุมของนักออกแบบรุ่นใหม่มองว่า "Design for Function หรือการดีไซน์เพื่อตอบโจทย์การใช้งานเป็นหลัก ถือเป็นแนวคิดการออกแบบที่น่าสนใจ และยังคงนำมาปรับใช้ได้จนถึงปัจจุบัน" ขณะที่นักศึกษามองว่า "จากผลงานการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ที่ได้รับจากนิทรรศการ สามารถนำไปปรับใช้และเพิ่มไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี"

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และ เจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศไทย (Japan Foundation) จึงไม่รอช้า เคลื่อนกองทัพนิทรรศการออกแบบ แบบญี่ปุ่น ไปสร้างแรงบันดาลใจการดีไซน์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ณ หัวเมืองใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใจกลางเมืองขอนแก่นอย่าง หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (FAG) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับการดีไซน์ผลิตภัณฑ์แก่คนนิวเจน ที่นอกจากการคิดผลิตเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้จริงแล้ว นักออกแบบชาวญี่ปุ่นมีกระบวนการคิดผลิต คิดต่อยอดหรือคิดเลือกใช้วัสดุในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างไร ให้เป็นที่สนใจของผู้ใช้งานที่ต่างช่วงวัย และต่างเชื้อชาติในหลายยุคสมัย

คุณโนริโกะ คาวาคามิ หนึ่งในภัณฑารักษ์ผู้คัดเลือกวัตถุจัดแสดงภายในนิทรรศการ "ออกแบบ แบบญี่ปุ่น" ได้กล่าวย้ำถึงสิ่งที่ทำให้ผลงานการดีไซน์ของญี่ปุ่นได้สร้างอิทธิพลแก่นักออกแบบและผู้ใช้งานทั่วโลก คือ "จิตวิญญาณ" จิตวิญญาณที่มุ่งแสวงหาสิ่งที่ดีขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งจิตวิญญาณนี้มิได้แฝงอยู่ในดีไซเนอร์เท่านั้น แต่ยังแฝงอยู่ในทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ทั้งดีไซเนอร์ ช่างฝีมือ หรือแม้กระทั่งวิศวกร ที่มีคุณลักษณะใน 3 ด้าน คือ ความเอาใจใส่ การออกแบบผลงานที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ เช่น รถยนต์ประหยัดพลังงาน หรือแม้กระทั่งการเตรียมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เสื้อโค้ทเพื่อชีวิต ที่สามารถพกของใช้สำคัญได้มากกว่า 10 ชิ้น ความสมบูรณ์แบบ การผสมผสานจิตวิญญาณและเทคนิคงานฝีมือดั้งเดิม สู่การสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น โคมไฟตั้งโต๊ะ ที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิคการทำเครื่องเขิน หรือวอล์คแมน (Walkman) ผลงานสมัยใหม่ที่ใส่มุมมองความสมบูรณ์แบบอย่างดั้งเดิมเข้าไป และ ความเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตในการสื่อสารร่วมกันร่วมกันระหว่าง ผู้ผลิตท้องถิ่นและนักออกแบบรุ่นใหม่ สู่การรังสรรผลงานคุณภาพที่มาพร้อมเทคนิคการออกแบบที่ร่วมสมัย

ทั้งนี้ เมื่อผู้เข้าชมได้สัมผัสกับผลงานการออกแบบทั้งหมด 100 ชิ้นซึ่งแบ่งเป็น 89 ผลงานที่สามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวัน และ 11 ผลงานที่บ่งบอกถึงลักษณะพิเศษของการออกแบบผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า งานออกแบบญี่ปุ่น ไม่ได้พยายามจะสร้างเทรนด์หรือไม่ได้จะพยายามจะสร้างกระแสขึ้นมาอย่างเดียว แต่งานออกแบบญี่ปุ่นพยายามจะตอบคำถามอย่างจริงจังว่า สิ่งที่ออกแบบแต่ละชิ้นกำลังตอบโจทย์อะไร ดังนั้นกระบวนการผลิตงานแต่ละชิ้นจึงใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ในขณะเดียวกันผลงานที่ได้ก็จะเป็นสิ่งที่ใช้ต่อไปได้อีกนานเช่นกัน

ด้าน นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ได้กล่าวเสริมว่า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ยังคงเดินหน้ายกระดับศักยภาพนักออกแบบไทย ผ่านการเรียนรู้แนวคิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันที่เข้าถึงความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง ภายใน "ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)" ทั้ง ทีซีดีซี กรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) ทีซีดีซี เชียงใหม่ (TCDC เชียงใหม่) รวมถึงมินิ ทีซีดีซี (miniTCDC) ณ สถาบันการศึกษาทั้วประเทศ เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ รวมถึงประชาชนที่สนใจ ในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ไปกับทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการได้ในอนาคต อันนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศในลำดับต่อไป

ทั้งนี้ หากใครไม่อยากพลาดโอกาสสุดท้ายในครั้งนี้ ก็สามารถเดินทางมาชมชิ้นงานทั้ง 100 ชิ้นได้ฟรี! ระหว่างวันที่ 12 – 28 กรกรฎาคม 2562 เวลา 9.00 – 19.00 น. (ทุกวัน ยกเว้นวันอังคารที่ 16 อาสาฬหบูชา วันพุธที่ 17 เข้าพรรษา) ณ หอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (FAG) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งนอกจากจะมีการจัดแสดงชิ้นงานนับร้อยจากฝีมือนักออกแบบญี่ปุ่นแล้ว ในวันแรกของการจัดแสดง ยังมีการบรรยายพิเศษโดยผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมออกแบบ อย่าง ดร.ขาม จาตุรงคกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณจุฑามาส บูรณะเจตน์ และ ปิติ อัมระรงค์ นักออกแบบจากสตูดิโอ o-d-a (object design alliance) นายอภิสิทธิ์ กล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC กรุงเทพฯ) อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 ต่อ 213 , 214 หรือเว็บไซต์ tcdc.or.th และ #JapanDesign100

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้