พบครั้งแรกในไทยและเอเชีย มวนตัวห้ำชนิดใหม่ชอบกินเพลี้ยไฟศัตรูพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ

จันทร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๐:๑๒
นักวิจัยกรมวิชาการเกษตร เปิดตัวมวนตัวห้ำแมลงศัตรูธรรมชาติชนิดใหม่ ชอบกินเพลี้ยไฟมากที่สุด เผยเป็นมวนตัวห้ำที่ไม่เคยพบในไทยและเอเชียตะวันออกฉียงใต้ แถมเพาะเลี้ยงง่าย ขยายปริมาณได้มาก ต้นทุนน้อย ต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ ช่วยเกษตรกรลดใช้สารเคมี

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรมีผลงานวิจัยด้านการควบคุมกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ต้องการให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ถือเป็นวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดระดับความเสียหายจากศัตรูพืช และสามารถช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชไม่ให้สูงจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชได้ รวมทั้งลดปัญหาสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญเป็นวิธีการที่ได้ใช้ศัตรูธรรมชาติที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

ในประเทศไทยมีศัตรูพืชประเภทปากดูดที่สำคัญสร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว ไรแดง และไรขาว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ซึ่งสามารถลดประชากรของแมลงศัตรูพืชได้ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากศัตรูพืชในกลุ่มนี้มีขนาดเล็กและมีวงชีวิตสั้น สามารถปรับตัวสร้างความต้านทานต่อสารเคมีได้รวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อผู้ใช้โดยสารพิษเข้าไปสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคจากสารพิษตกค้าง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้สำรวจพบแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญถือเป็นแมลงที่พบครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติดังกล่าวเป็นมวนตัวห้ำชนิดCardiastethus exiguus Poppius พบที่แปลงมันสำปะหลังในจังหวัดกาญจนบุรี โดยมวนตัวห้ำชนิดนี้ชอบกินเพลี้ยไฟมากที่สุด ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีมวนตัวห้ำที่สามารถกินเพลี้ยไฟได้ รวมทั้งยังชอบกินแมลงศัตรูพืชซึ่งเป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ

จากการศึกษาวิจัยทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับมวนตัวห้ำ C. exiguus ด้านชีววิทยา การเพาะเลี้ยง โดยพบว่าเป็นมวนตัวห้ำที่มีศักยภาพดีในการควบคุมแมลงและไรศัตรูพืชที่สำคัญ เช่น เพลี้ยไฟฝ้าย ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาระบาดรุนแรงในพืชเศรษฐกิจ และมีรายงานการต้านทานสารฆ่าแมลง ยากในการป้องกันกำจัด ที่สำคัญคือค้นพบวิธีการเพาะเลี้ยงมวนตัวห้ำ C. exiguus ที่ง่าย สะดวก และประหยัดได้สำเร็จ รวมทั้งมีความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงขยายในปริมาณมาก หรือต่อยอดการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้

"ปัญหาที่สำคัญในขณะนี้คือเพลี้ยไฟมีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง ดังนั้นการค้นพบมวนตัวห้ำชนิดใหม่นี้แม้จะไม่ได้ทำให้เพลี้ยไฟหมดไปจากประเทศไทย แต่เป็นการป้องกันไม่ให้แพร่ระบาดได้ ที่สำคัญการควบคุมโดยชีววิธีคือ การลดใช้สารเคมีฆ่าแมลง ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และเป็นวิธีการกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค รวมทั้งสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยข้อมูลของมวนตัวห้ำชนิดใหม่นี้จึงสามารถลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวยังได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2561 ของกรมวิชาการเกษตรด้วย" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4