สคช.เปิดเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ”การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ”

พุธ ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๒๕
สคช.เปิดเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ" ร่วมหารือแนวทางการสร้างระบบการเทียบโอนสมรรถนะที่มีประสบการณ์การทำงานสู่การรับรองด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้อง พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อพัฒนากลไกระบบการรับรองสมรรถนะที่มี รวมถึงประสบการณ์การทำงานสู่การรับรองด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า กำลังคนวัยทำงานที่สำรวจเมื่อปี 2560 มีจำนวน 38,099,000 คน เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ พบว่าลูกจ้างที่การศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประมาณ 17,307,000 คน ในขณะที่ลูกจ้างที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษาประมาณ 6,262,000 คน ซึ่งผู้ทำงานที่ใช้คุณวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับที่จบมาจริงประมาณ 450,000 คน จำนวนประชากรวัยเรียนที่ได้เข้ารับการศึกษาแล้ว ออกจากระบบการศึกษาในขณะที่ยังไม่จบหลักสูตร รวมทั้งจำนวนประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาแล้วเข้าสู่การทำงานมีเพิ่มมากขึ้น ประมาณ 3.5 ล้านคนเมื่อปี 2559 ซึ่งทักษะความสามารถในการทำงานเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากความสนใจ โดยศึกษาจากบุคคล แหล่งความรู้อื่นๆ ฝึกฝนเพื่อสร้างประสบการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

การรับรองบุคลากรที่มีประสบการณ์ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ด้วยกระบวนการเทียบโอนที่มี เพื่อบ่งบอกถึงการมีสมรรถนะ อาทิ ประกาศนียบัตรการฝึกอบรม ตัวอย่างผลงาน เอกสารบันทึก ภาพถ่าย วีดีโอ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานในภาระงาน เป็นต้น เพื่อกำหนดว่าบุคคลนั้นได้สั่งสมประสบการณ์ผ่านการทำงาน การใช้ชีวิต หรือการอบรม การมีทักษะ ความรู้และประสบการณ์ที่ต้องการตรงตามมาตรฐานการอบรมหรือคุณวุฒิด้านนั้น และสมรรถนะนั้นยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน (Recognition of Prior Learning:RPL) ซึ่งการรับรองสมรรถนะที่มีเป็นการเปิดโอกาสในการทำงานและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตัวเอง ตอบโจทย์นักศึกษา คนทำงาน ผู้ประกอบการ ทำให้รับทราบถึงทักษะของบุคลากร และเติมเต็มศักยภาพได้ตรงตามความต้องการขององค์กรเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย

ล่าสุด สคช.เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาระบบรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ" ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ประกอบอาชีพโดยตรง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องในสาขาอาชีพ และองค์กรรับรองในสาขาวิชาชีพต่างๆ ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รูปแบบในการพัฒนาและจัดทำกลไก เพื่อการรับรองสมรรถนะที่มีด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งสคช.จะนำเสียงสะท้อนที่หลากหลาย ซึ่งถือเป็นข้อเสนอแนะที่สำคัญมาบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาโปรแกรมและกระบวนการประเมินที่เหมาะสม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มอาชีพและสร้างโอกาสให้กับกำลังคนในสาขาต่างๆต่อไป

นายคำจันทร์ เย็นไธสงค์ Smart Farmer กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การบ่มเพาะนิสัยการเก็บผลงานสร้าง Portfolio ของคนในอาชีพเป็นสิ่งจำเป็น โดยจัดเก็บหลักฐานที่สำคัญเกี่ยวกับอาชีพตัวเอง ซึ่งอาจได้มาจากการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายหรือวีดีโอ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงาน มีกระบวนการที่บูรณาการความรู้และการปฏิบัติ การสาธิตให้ดู เอกสารการทำงานที่พัฒนาขึ้นด้วยตัวเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะ ความรู้ ประสบการณ์การทำงาน เพื่อประกอบการสมัครเข้าสู่การประเมินในรูปแบบ RPL ทั้งนี้ระดับคุณวุฒิวิชาชีพแต่ละสาขาแบ่งออกเป็น 5 ระดับชั้น ซึ่งการทดสอบเพื่อประเมินผลทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริงในแปลง การสัมภาษณ์เชิงเทคนิคและประสบการณ์

"เกษตรกรจะเป็นเพียงผู้ผลิตไม่ได้ แต่ต้องเป็นผู้ประกอบการควบคู่ไปด้วย โดยเปลี่ยนจากภาคการผลิตไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น ทำฟาร์มให้เป็นศูนย์เรียนรู้ได้ จัดทำสมุดเซ็นต์เยี่ยม ในแต่ละปีมีการสรุปยอด การวิเคราะห์สถานการณ์ ดินฟ้าอากาศ ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการผลิต กลยุทธ์การตลาดเพื่อวางแผนการผลิต เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าแก่ผลผลิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อประกอบการสมัครเข้าสู่การประเมินในรูปแบบ RPL "

นางสาวอรนันท์ อุดมภาพ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังนวศรีเนอสซิ่งโฮม กล่าวว่า เทรนด์ความต้องการของตลาดอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุมีมากทั้งในและต่างประเทศ โดยต้องการผู้ดูแลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ แต่ปัจจุบันอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นคนที่ไม่ได้รับการอบรมจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน แต่เป็นการถ่ายทอดความรู้แก่กัน หรืออาศัยประสบการณ์ส่วนตัว ดังนั้นการรับรองสมรรถนะที่มีด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ระดับชั้นคุณวุฒิทำให้เห็นศักยภาพมากขึ้น ความรู้ที่ได้จากการอบรมสามารถนำมาประยุกต์และปรับปรุงอาชีพของตัวเอง ถือเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ก้าวเข้าสู่โลกการทำงาน สร้างความมั่นใจต่อคนในอาชีพและผู้ประกอบการ เพราะอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวพันกับความปลอดภัยของชีวิตผู้ใช้บริการ

นอกจากนี้ ยังได้มีการเปิดเวทีนำเสนอรูปแบบการประเมิน RPL พร้อมทั้งปัจจัยแห่งความสำเร็จของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสารณรัฐประชาชนจีน ที่เกิดจากการสนับสนุนจากนายจ้าง การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง การให้แรงจูงใจจากภาครัฐ โอกาสฝึกอบรมเพิ่มเติมของลูกจ้าง และทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการยอมรับของอุตสาหกรรมนั้นๆ พร้อมกันนี้ได้มีการประชุมกลุ่มย่อย ในสาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ วิชาชีพธุรกิจเสริมสวย วิชาชีพค้าปลีก วิชาชีพบริการยานยนต์ และวิชาชีพเกษตรกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ โดยส่งตัวแทนสรุปข้อคิดเห็นจากกลุ่มย่อยทุกกลุ่มอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?