โครงการพัฒนาป่าไม้ปากแม่น้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันนี้มีความสมบูรณ์ เอื้อประโยชน์ราษฎรชายฝั่งได้ยั่งยืน

ศุกร์ ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๑๙
พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง พร้อมด้วยพลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี และคณะอนุกรรมการฯ เดินทางไปยังโครงการพัฒนาป่าไม้ปากแม่น้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้า รับฟังการบรรยายสรุปผลโครงการพัฒนาป่าไม้ปากแม่น้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา

ปี 2517 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์สนับสนุนให้มีการปลูกพันธุ์ไม้ต่าง ๆ บริเวณชายทะเลปากน้ำปราณบุรี เพื่อพัฒนาเป็นป่าอเนกประโยชน์ผลิตไม้ ป้องกันลมพายุ เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรหมู่บ้านปากน้ำปราณบุรี ต่อมากรมป่าไม้

ได้ดำเนินการจัดตั้ง "โครงการพัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรีตามพระราชประสงค์" ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า- คลองคอย เพื่อดำเนินการตามพระราชเสาวนีย์ โดยปี 2540 สำนักงาน กปร. สนับสนุนงบประมาณให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (เดิมคือกรมป่าไม้) ดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน จัดทำแปลงศึกษา และรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าชายหาด รวมทั้ง จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ป้ายสื่อความหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน

พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี กล่าวในระหว่างการเยี่ยมชมโครงการว่าป่าชายเลนแห่งนี้ว่า ย้อนมองกลับไปในอดีตมาจนถึงปัจจุบันรวมเวลาร่วม 40 ปี ที่มีการปลูกป่าโกงกางเพิ่ม ส่วนต้นเดิมที่ยังมีอยู่มีอายุกว่า 100 ปี ปัจจุบันสภาพป่าสมบูรณ์ มีต้นไม้ป่าชายเลนเกิดขึ้นตามธรรมชาติมากขึ้น ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้พยายามขยายพื้นที่ป่าเพิ่มเติมในพื้นที่ยังพอขยายได้ ทำให้ได้พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นร่วม 1,500 ไร่ ซึ่งจะทำให้พื้นที่ป่าผืนนี้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

"ปัจจุบันบางพื้นที่ได้เปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวป่าชายเลน ให้ผู้คนเดินทางเข้ามาศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนได้มากขึ้น สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความรักและหวงแหนในป่าชายเลนมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญป่าชายเลนเป็นแหล่ง

เพาะขยายพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ และอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญตามธรรมชาติ เมื่อสัตว์น้ำเหล่านี้เจริญเติบโตก็ออกไปหากินในทะเลทำให้ท้องทะเลมีความอุดมสมบูรณ์" พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี กล่าว

ทางด้านนายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการ กปร. กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำพระราชดำริมาดำเนินการ

ด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ มีการบริหารจัดการโดยประชาชนในพื้นที่ และที่น่าดีใจก็คือท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์ผืนป่าอย่างเต็มที่

"ปัจจุบันเป็นแหล่งสร้างความรู้เรื่องของป่าชายเลน ให้กับประชาชนในพื้นที่และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดีตลอดมา

ก่อเกิดอาชีพต่าง ๆ มากมาย เช่น อาชีพมัคคุเทศก์ ตลอดถึงสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ อาทิ ปู กุ้ง หอย และปลาชนิดต่างๆ ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ขยายพันธุ์ และเจริญเติบโตในป่าชายเลนแล้วออกไปหากินในท้องทะเล ทำให้พื้นที่ทั้งแนวชายฝั่งและกลางทะเลมีความสมบูรณ์ สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่ออาชีพประมงชายฝั่งเป็นอย่างดี" เลขาธิการ กปร. กล่าว

นายสมเดช นาคดี เกษตรกรประมง ชุมชนบ้านเก่า หมู่ที่ 1 ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า

ในอดีตประมาณ 40 ปีที่แล้ว ปากน้ำปราณมีความอุดมสมบูรณ์มาก การทำประมงเพียงออกทะเลไปบริเวณร่องปากน้ำปราณบุรีก็สามารถจับสัตว์น้ำได้มากพอขาย ไม่ต้องออกเรือไปหาปลาในท้องทะเลไกล ๆ แต่ต่อมาเทคโนโลยีต่าง ๆ ทันสมัยมากขึ้นมีการนำมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต แต่เศษวัสดุเหลือใช้จากความต้องการในการใช้ชีวิตก็ทิ้ง

ไม่มีการจัดเก็บที่ถูกต้อง เช่น วัสดุเหลือใช้จากการทำประมง เศษโฟม พลาสติก ขวดน้ำต่าง ๆ ก็ไหลลงสู่ท้องทะเล ขณะเดียวกันการบุกรุกพื้นที่เพาะขยายพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำอย่างป่าชายเลนก็เพิ่มมากขึ้น สัตว์น้ำเหล่านั้นก็อพยพไปอยู่ที่อื่นหมดทำให้ในพื้นที่มีสัตว์น้ำให้จับน้อยลงตามไปด้วย

"เมื่อทางการทำโครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนในพื้นที่ด้วยการปลูกป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมและขยายพื้นที่ไปเรื่อย ๆ ทำให้ปัจจุบันพื้นที่สีเขียวได้กลับคืนมาและมีปริมาณมากขึ้น เติมเต็มความสมบูรณ์ของป่าชายเลน ตอนนี้มีสัตว์น้ำในปริมาณมากขึ้น การจับสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งสามารถทำได้ มีปลาและสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น หอย กุ้ง และปูเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวประมงจึงมีรายได้มากขึ้น ทุกคนต่างเห็นความสำคัญของป่าชายเลน และก็เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันอนุรักษ์ ดูแลและเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้ามีป่าชายเลนและป่าชายเลนสมบูรณ์ ทุกคนก็มีกินมีใช้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน" นายสมเดช นาคดี กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๓๐ นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวฯ มก. คว้า 3 รางวัล การแข่งขัน 5MSPP 2024 ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1-ชมเชย
๑๓:๒๘ คณะวิศวฯ มก. สำรวจ-แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พื้นที่สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสัง จ.หนองบัวลำภู
๑๓:๑๓ ผู้บริหาร- อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือ ม.ไต้หวัน
๑๓:๔๖ DE BEAU CLINIC ตอกย้ำเป็นผู้นำคลินิกเสริมความงาม ฉลองครบรอบ 14 ปี ปล่อยโปรสุดพิเศษ!
๑๓:๒๕ PRM ขนส่งน้ำมัน Jet A1 พุ่ง อานิสงส์ท่องเที่ยวซัมเมอร์หนุน
๑๓:๒๐ วว. โดย สถานีวิจัยลำตะคอง จัดกิจกรรมต้อนรับปิดเทอม ยอดนักสืบ.โลกแมลง รุ่นที่ 1
๑๓:๔๕ ลงพื้นที่สำรวจแปลงมะพร้าวติดตามสถานณ์โรคและแมลงในช่วงฤดูแล้ง
๑๓:๒๓ แม็ทชิ่ง กรุ๊ป จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง มั่นใจรายได้เป็นไปตามเป้า
๑๓:๔๖ เอเอ็มอาร์ เอเซีย จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผ่านฉลุย ผู้ถือหุ้นมีมติเห็นชอบทุกวาระ
๑๓:๑๙ Prepay Nation ร่วมมือกับ MULA เพื่อลดช่องว่างทางการเงินสำหรับแรงงานต่างด้าว