มูลนิธิพุทธจตุปาริสา เติมเต็ม บทบาทชาวพุทธ เร่งสร้างความสมบูรณ์แก่พุทธบริษัท 4

ศุกร์ ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๑๒
พร้อมขับเคลื่อนเติมเต็ม พุทธบริษัท 4!! มูลนิธิพุทธจตุปาริสาเผย เร่งเสริมสร้างความเข้าใจในพระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์ เผยแพร่คำสอนแก่สังคมไทยเข้าใจในพระพุทธศาสนาสู่ความสมบูรณ์ตามหลักธรรมตามพระไตรปิฏก

"มูลนิธิพุทธจตุปาริสา" มูลนิธิที่ส่งเสริมและสนับสนุนการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยการเผยแพร่คำสอนตามหลักพระธรรมตามไตรปิฎกและมุ่งเน้นให้พุทธบริษัท เกิดความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของพุทธบริษัท 4 อันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อน และทะนุบำรุงศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป

นางมิกิ พาร์เมลี โฆษกมูลนิธิพุทธจตุปาริสา ได้กล่าวถึงบทบาทของพุทธบริษัท 4 อันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งแท้จริงแล้วทั้ง 4 บริษัท มีหน้าที่หลักในการศึกษาและรักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาตามพระไตรปิฎก เพื่อทะนุบำรุงไว้ซึ่งการมั่นคงและตั้งมั่นของพุทธศาสนา ซึ่งการจะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้ จำต้องประกอบด้วยพุทธบริษัท 4 ซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นมิได้

มิกิ กล่าวว่า "ในสมัยพุทธกาล (ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังดำรงขันธ์อยู่นั้น) ภิกษุณี เป็นหนึ่งในพุทธบริษัท 4 ที่เกิดขึ้นและมีจำนวนมากพอ ๆ กับภิกษุแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ก็ทรงปรารถนาให้ ผู้หญิง ออกบวชและครองผ้ากาสาวะ เพื่อบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับภิกษุ"

ตามพุทธประวัติปรากฏชื่อของภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา พระมหาปชาปตีโคตมีเถรี หรือพระนามเดิม พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระมาตุจฉา (น้องสาวของมารดา) ของพระพุทธเจ้า ทรงได้อุปสมบท ตั้งใจศึกษาพระธรรม และ ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เถรี โดยพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะ คือเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู หรือ ผู้รู้ราตรีนาน (ผู้ที่ได้ฟังธรรมสะสมไว้มากหลายชาตินับครั้งไม่ได้) และ ยังมีภิกษุณีสงฆ์ ที่บรรลุธรรมเกิดขึ้นอีกมากมายเป็นอีกหนึ่งบริษัท ที่มีบทบาทในการเผยแพร่ พระธรรมวินัย ดังภิกษุ ตามประวัติศาสตร์ที่มีมาช้านาน

พุทธจตุปาริสาอุทยาน พุทธมณฑลสาย 5 และ วัฏฏะภิกษุณีปาฏิโมกข์ติปิฏก จังหวัดยโสธร เป็น 2 สถานที่ที่อยู่ในการสนับสนุนของมูลนิธิพุทธจตุปาริสา โดยทั้ง 2 สถานที่มีพระภิกษุ และ ภิกษุณีมาจำวัตร และปฎิบัติกิจสงฆ์ (กิจทางธรรม) ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ถูกต้องตามพระธรรมวินัยกว่า 84,000 พระธรรมขันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการปาฏิโมกข์ในวันพระ การจดจำและสาธยายพระไตรปิฏกในภาษาบาลี การทำวัตร การถวายผ้าอาบน้ำฝน การตัด เย็บ ย้อม ผ้าไตรจีวร และการทอดกฐิน โดยมีเป้าหมายเพื่อเติมเต็มพุทธบริษัท 4 และเผยแพร่ทะนุบำรุงซึ่งพระศาสนารวมทั้งเป็นแบบอย่างแก่เหล่าชาวพุทธเพื่อเข้าถึงพระธรรม ตามพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นคำสอนต้นแบบทางพระพุทธศาสนาตามหลัก "เถรวาท"

อัยเยคัมภีระ (อัยเย เป็นคำที่ใช้เรียกนำหน้า ภิกษุณี เช่นเดียวกับ ภันเต ซึ่งใช้เรียกนำหน้า ภิกษุ) ภิกษุณีที่ได้บวชกว่า 7 พรรษา (ปี) ปัจจุบันท่านจำวัตรที่มหาวิหารพุทธจตุปาริสา (ศรีลังกา) กล่าวว่า "ภิกษุณีมีบทบัญญัติในพระธรรมวินัยว่าต้องถือศีลถึง 311 ข้อ ขณะที่ภิกษุจะถือศีล 227 ข้อ ซึ่งการที่ภิกษุณีต้องรักษาศีลมากกว่าสงฆ์นั้นเกิดจากข้อจำกัดทางกายภาพซึ่งไม่ได้ส่งผล ต่อบทบาทและหน้าที่ในการเผยแพร่ศาสนาของภิกษุณีแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น ภิกษุมีผ้า ไตรจีวร หมายถึง ผ้าจีวรที่ห่มนั้นมี 3 ผืน ได้แก่สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวร) และ ผ้าอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) ภิกษุณีจะห่มผ้าทั้งหมด 5 ชิ้นที่เพิ่มขึ้นมาคือ สังกัจฉิกา (เสื้อใน) และ อุทกสาฏิกา (ผ้าแนบอันตรวาสก)"

"ปัจจุบัน มูลนิธิให้การอุปฐาก ดูแลภิกษุและภิกษุณีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ ๕๐ รูป หมุนเวียนไป พำนักตามมหาวิหารทั้ง 7 สถานที่ซึ่งอยู่ในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิในประเทศไทย อาทิ วัดภิกขุณีปาฏิโมกข์ธัมมติปิฏก จังหวัดยโสธร ซึ่งมีเจ้าอาวาสคือ อัยเยปฐมโลกติปิฏก ซึ่งท่านได้บรรพชาอุปสมบทมาทั้งแล้ว 12 พรรษา อัยเยท่านได้กล่าวว่า "อุบาสกและอุบาสิกาจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ (เข้าบรรพชา) นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะอุบาสิกานั้นมีข้อจำกัดมากมายนัก ไม่ว่าจะเป็นทั้งการยอมรับจากครอบครัว หรือความกดดันจากสังคมที่มองว่าภิกษุณีเป็นสิ่งที่อุปโลกน์ขึ้น แท้จริงแล้วอุบาสิกาที่ตัดสินใจเข้าบรรพชานั้นมีความตั้งใจหลักเพื่อต้องการศึกษาและเข้าใจพระธรรมวินัยเพื่อหาคำตอบของชีวิตและค้นหาเส้นทางการหลุดพ้นจากทุกข์ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงได้ตรัสสอนไว้ และบางท่านเมื่อได้เข้าใจความสำคัญและหน้าที่ของพุทธบริษัท 4 แล้ว ก็ได้บรรพชาเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของพุทธบริษัท 4 ตามคำกล่าวของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง" อัยเยคัมภีระ กล่าว

อัยเยคัมภีระ กล่าว เพิ่มเติมว่า "เป้าหมายสูงสุดของมูลนิธิพุทธจตุปาริสาคือการทำให้เกิดชุมชนชาวพุทธบริษัท 4 ที่มีความรู้ตามพระธรรมวินัยเท่าเทียมกัน และพร้อมที่จะช่วยกันขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาสทบเนื่องต่อไปอย่างยั่งยืน โดยภารกิจหลักในปัจจุบันคือ การให้ความรู้และความเข้าใจในหน้าที่ให้แก่พุทธบริษัท ในแต่ละส่วนทั้งอุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี อันเป็นจะกลไกสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงดำรัสไว้"

"การเรียนรู้และปฏิบัติธรรมในประเทศไทยได้ถูกผสมผสานและปรุงแต่งไปตามยุคสมัย ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทยจนเป็นเนื้อเดียวกัน หลายหลักการจึงอาจบิดเบือนไปจากคำสอนในพระไตรปิฎก ซึ่งการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาได้ดีที่สุดในวันนี้จึงเป็นการกลับไปสู่จุดเริ่มต้น คือการรณรงค์ศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎกและนำสิ่งที่เราศึกษาแล้วนั้นมาร่วมกันปฏิบัติ ดังที่โลกใบนี้ประกอบด้วยผู้หญิงและผู้ชาย ต่างมีหน้าที่ต่างกันแต่ ทั้งสองเป็นการ ผสมผสานและคงสมดุลของโลกใบนี้ เช่นเดียวกับ พุทธศาสนาที่ต้องมี 4 บริษัทมาทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อเกิดการสมดุลและสมบูรณ์ของพุทธศาสนา" มิกิกล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ มูลนิธิพุทธจตุปาริษาจัดทำวิดีโอเกี่ยวกับเหตุการณ์การสถาปนาพุทธบริษัท 4 ในชื่อเรื่อง THE STORY OF BUDDHACATUPARISA พุทธศาสนิกชนและผู้ที่สนใจ สามารถรับชมได้ที่ https://youtu.be/BYDt6RaQ6Us

"พุทธจตุปาริสาอุทยาน" โดย "มูลนิธิพุทธจตุปาริสา" ศูนย์กลางการส่งเสริมและสนับสนุนให้พุทธบริษัท 4 ได้มีโอกาสศึกษาหลักธรรมและข้อปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยได้อย่างถูกต้องตามพระไตรปิฎก เพื่อเข้าใจในความหมายที่ลึกซึ้งตรงตามพระพุทธวจนะ 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยมีภิกษุและภิกษุณีร่วมจำพรรษา และปฏิบัติกิจสงฆ์ (กิจทางธรรม) พร้อมทั้งอุปถัมธ์วัดกว่า 7 แห่งทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศทั่วโลก ได้แก่ วัฏฏะภิกขุนีปาฏิโมกขะธัมมะติปิฏกะ จังหวัดยโสธร วัดศาสนาพุทธทั้งในอลาสก้า แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย อุรุกวัย ศรีลังกา และอินเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4