เมอร์ค และ Broad Institute ประกาศกรอบการทำงานด้านการอนุญาตให้ใช้สิทธิใน CRISPR เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม

ศุกร์ ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๐๘:๐๐
- กรอบการทำงานใหม่นี้ ช่วยให้เข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญา CRISPR ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อนำไปวิจัยต่อไป

เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และ Broad Institute of MIT and Harvard (บอสตัน, แมสซาชูเซตส์) ได้ประกาศความตกลงว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา CRISPR โดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้การดูแลของแต่ละฝ่ายในการนำไปใช้งานในงานวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์

อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าวว่า "การร่วมมือกับ Broad Institute ทำให้การอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี CRISPR เป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เทคโนโลยีนี้เข้าถึงได้กว้างขึ้นสำหรับชุมชนการค้นคว้าและวิจัยทั่วโลก" และกล่าวต่ออีกว่า "ด้วยความตกลงนี้ เราจะช่วยให้ลูกค้าประสบผลสำเร็จในการวิจัยได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาพัฒนายาสำหรับโรคที่ก่อนหน้านี้รักษาไม่ได้"

Broad Institute และเมอร์ค มีเป้าหมายร่วมกันในการทำให้องค์กรทุกแห่งใช้เทคโนโลยีดังกล่าวด้วยเครื่องมือ CRISPR ที่หลากหลายยิ่งขึ้น และเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักวิทยาศาสตร์เข้าถึงได้ง่ายขึ้น Broad Institute จึงเตรียมออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา CRISPR ของเมอร์ค และ Broad Institute แก่กลุ่มผู้ขอรับอนุญาตใช้สิทธิ เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยภายในและสำหรับเครื่องมือการวิจัยเชิงพาณิชย์ ภายใต้ข้อตกลงนี้ บริษัทต่าง ๆ ที่ใช้ CRISPR ในงานวิจัยและการพัฒนาของตน ก็ยังสามารถออกใบอนุญาตต่อ เพื่อเปิดโอกาสให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของทั้งสองบริษัทผ่าน Broad Institute ได้อีกด้วย กรอบการทำงานนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ถือสิทธิบัตรที่สำคัญรายอื่น ๆ สามารถเข้ามาเป็นหนึ่งในนี้ได้ในอนาคต ไม่ว่าจะโดยผ่านกรอบการทำงานนี้ หรือผ่านระบบร่วมใช้สิทธิบัตรภายนอกหรือความร่วมมือ เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงเทคโนโลยี CRISPR ที่สำคัญโดยไม่มีการผูกขาดสิทธิการเข้าถึง

"เราเชื่อว่าผู้ถือสิทธิบัตร CRISPR รายใหญ่ ๆ ควรร่วมกันทำให้การเข้าถึงง่ายดายและเปิดกว้างมากขึ้น ความตกลงครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความสัมพันธ์ที่จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาการเข้าถึงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญเหล่านี้" อิซซิ โรเซ็น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจ Broad Institute กล่าว "Broad Institute มีการออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี CRISPR แบบไม่ผูกขาดสำหรับทุกการใช้งานอยู่เดิมแล้ว เว้นแต่เพียงการใช้เพื่อรักษามนุษย์ ขณะนี้เรามุ่งสร้างการเข้าถึงที่กว้างขว้างและเรียบง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ สำหรับทรัพย์สินทางปัญญา CRISPR ที่สำคัญ"

ทั้งสองสถาบันร่วมมือกันเพื่อพัฒนากรอบการทำงานที่ (1) ทำให้ทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้การควบคุมของ Broad Institute และที่สถาบันเป็นเจ้าของร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ (เช่น Harvard University, Massachusetts Institute of Technology, New York Genome Center, New York University, The Rockefeller University, University of Iowa Research Foundation, University of Tokyo, Whitehead Institute for Biomedical Research และอื่น ๆ ) สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีการผูกขาดสิทธิการเข้าถึง และ (2) ให้สิทธิการเข้าถึงแบบไม่ผูกขาดในทรัพย์สินทางปัญญาของเมอร์ค โดยมีข้อจำกัดบางประการเจาะจงในทรัพย์สินทางปัญญาของเมอร์คสำหรับการสร้างหนูทดลอง

กรอบการทำงานด้านการอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว มีองค์ประกอบดังนี้:

- ทรัพย์สินทางปัญญาของเมอร์คสำหรับเทคโนโลยี CRISPR ซึ่งเสนอให้ภายใต้แบรนด์ Sigma-Aldrich จะเข้าถึงได้แบบไม่ต้องเสียค่าสิทธิสำหรับสถาบันการศึกษาที่ไม่หวังผลกำไร ชุมชนธุรกิจที่ไม่หวังผลกำไร และหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ สำหรับการวิจัยภายในองค์กร โดยสอดคล้องกับข้อปฏิบัติและข้อกำหนดที่มีมาอย่างยาวนานของ Broad Institute

- การอนุญาตให้ใช้สิทธิจะเป็นไปตามการพิจารณาตามหลักจริยธรรมของ Broad Institute และเมอร์ค ซึ่งมีนโยบายไม่อนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี CRISPR สำหรับการใช้งานบางประการ เช่นการตัดต่อเจิร์มไลน์มนุษย์ทางคลินิก

- ทั้งสองฝ่ายสามารถออกใบอนุญาตด้วยตนเองได้ต่อไปนอกเหนือจากกรอบการทำงานนี้

- นอกเหนือจากทรัพย์สินทางปัญญาของ Broad Institute และเมอร์คแล้ว กรอบการอนุญาตให้ใช้สิทธินี้ยังรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่ Broad Institute เป็นเจ้าของร่วมกับสถาบันอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น Harvard University, Massachusetts Institute of Technology, The Rockefeller University, University of Iowa Research Foundation, University of Tokyo, Whitehead Institute for Biomedical Research และอื่น ๆ

Broad Institute และเมอร์ค ต่างมีแนวปฏิบัติที่พัฒนามาเพื่อส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับการปรับแต่งจีโนม โดยคำนึงถึงบรรทัดฐานทางศีลธรรมและทางกฎหมายอย่างถี่ถ้วน Broad Institute ได้เผยแพร่นโยบายการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา "institutional policies on IP licensing" ไว้บนเว็บไซต์ของสถาบัน ส่วนเมอร์คเองก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางชีวจริยธรรม (Bioethics Advisory Panel) ภายนอก เพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติสำหรับการวิจัยที่ธุรกิจของเมอร์คมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับหรือการวิจัยที่ใช้การปรับแต่งจีโนม และได้ระบุหลักการดำเนินการที่ชัดเจน ซึ่งคำนึงถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์และทางสังคม เพื่อนำเสนอแนวทางการรักษาที่มีแนวโน้มเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยและการใช้งานต่าง ๆ

ติดตามเมอร์คได้ทาง Twitter @Merckgroup ทาง Facebook @merckgroup และทาง LinkedIn

เกี่ยวกับ Broad Institute of MIT and Harvard

Broad Institute of MIT and Harvard ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 เพื่อส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้เปลี่ยนแปลงวงการการแพทย์ Broad Institute มุ่งอธิบายทุกองค์ประกอบทางโมเลกุลของชีวิตตลอดจนความเชื่อมโยงต่าง ๆ ค้นพบรากฐานโมเลกุลของโรคที่สำคัญในมนุษย์ พัฒนาแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและการรักษาโรค และเผยแพร่การค้นพบ เครื่องมือ วิธีการ และข้อมูลให้แก่ชุมชนวิทยาศาสตร์ทั้งหมดอย่างเปิดกว้าง

Broad Institute ก่อตั้งโดย MIT, Harvard, โรงพยาบาลในเครือ Harvard และสองผู้มีใจกุศลและมีวิสัยทัศน์จากลอสแอนเจลิสอย่าง Eli และ Edythe L. Broad สถาบัน Broad Institute นี้ประกอบด้วยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่มืออาชีพ และนักศึกษาจากชุมชนวิจัยทางชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัย MIT และ Harvard และที่อื่น ๆ โดยมีการร่วมมือกับสถาบันทั้งของรัฐและเอกชนกว่าร้อยสถาบันในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Broad Institute ได้ที่ http://www.broadinstitute.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ของเมอร์คทั้งหมดได้รับการเผยแพร่ผ่านทางอีเมลในเวลาเดียวกับที่มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของเมอร์ค กรุณาเข้าไปที่ www.merckgroup.com/subscribe เพื่อลงทะเบียนออนไลน์ เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกบริการนี้

เกี่ยวกับ เมอร์ค

เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ โดยมีการดำเนินงานครอบคลุมด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และวัสดุสมรรถนะสูง พนักงานประมาณ 52,000 คนของบริษัทต่างทุ่มเทในการสร้างความแตกต่างที่ดีต่อชีวิตของผู้คนหลายล้านคนในทุก ๆ วัน ด้วยการนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตที่มีความสุขและยั่งยืนยิ่งขึ้น เมอร์คเป็นทั้งผู้พัฒนาเทคโนโลยีตัดต่อยีน ไปจนถึงการเสาะหากลวิธีใหม่ ๆ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ท้าทายที่สุด ตลอดจนการคิดค้นอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยในปี 2561 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.48 หมื่นล้านยูโร ใน 66 ประเทศ

การสำรวจทางวิทยาศาสตร์และการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คือหัวใจหลักในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมอร์ค ทั้งยังอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเมอร์คนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2211 ปัจจุบัน ครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ "เมอร์ค" ทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจในชื่อ อีเอ็มดี เซโรโน ในวงการดูแลสุขภาพ, มิลลิพอร์ซิกมา ในวงการชีววิทยาศาสตร์ และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียลส์

วิดีโอ - https://mma.prnewswire.com/media/948315/Udit_Clip_Merck.mp4

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/948313/CRISPR_Merck.jpg

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้