มท. สั่งการ ปภ. บูรณาการจังหวัดเข้มมาตรการเตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “วิภา”และมรสุมตะวันออกเฉียงใต้กำลังแรง

จันทร์ ๐๕ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๑๓
กระทรวงมหาดไทยสั่งการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บูรณาการจังหวัดเสี่ยงได้รับผลกระทบฝนตกหนักจากอิทธิพลพายุโซนร้อน "วิภา" และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ในช่วงวันที่ 3 – 6 ส.ค. 62 เน้นย้ำมาตรการ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัย การแจ้งเตือนภัยที่รวดเร็วและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมประเมินสถานการณ์และจัดเตรียมสรรพกำลัง วัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้สามารถปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที รวมถึงจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยรองรับการอพยพประชาชนกรณีสถานการณ์ภัยมีแนวโน้มรุนแรง พร้อมกำชับดูแลด้านการดำรงชีพครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยน้อยที่สุด

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีพายุโซนร้อน "วิภา" จะเคลื่อนขึ้นฝั่งเมืองฮานอยในวันนี้ (3 ส.ค. 62) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 3 – 6 สิงหาคม 2562 ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม รวมถึงทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ห่วงใยประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง จึงได้เน้นย้ำให้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารภัย (ปภ.) บูรณาการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง มุ่งเน้นการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการแจ้งเตือนภัยที่รวดเร็วและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ควบคู่กับการแจ้งเตือนภัย/ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์ภัย แนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และวิธีปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยผ่านช่องทางสื่อสารทุกรูปแบบ รวมถึงให้จัดเตรียมสรรพกำลังวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายอาสาสมัครจิตอาสาในพื้นที่จัดเตรียมจุดปลอดภัยรองรับการอพยพประชาชน

กรณีสถานการณ์ภัยมีแนวโน้มรุนแรง ทั้งนี้ ให้เตรียมพร้อมดูแลด้านการดำรงชีพของประชาชนอย่างครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะการจัดหาอาหาร และน้ำดื่มสะอาด การดูแลสุขภาพอนามัยและรักษาพยาบาล ส่วนจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายทะเล ให้ฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำเข้มงวดมาตรการความปลอดภัยทางทะเล โดยเฉพาะการห้ามเดินเรือออกจากหรือเข้าฝั่งในช่วงที่มีคลื่นลมแรง สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยขอให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4