ศูนย์ LogHealth วิศวะมหิดล ติดปีก 26 รพ.ต้นแบบ Logistics Champions รับมือยุคดิสรัพชั่น

จันทร์ ๒๖ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๑๔
ความปลอดภัยในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (Patient Safety) ถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่ไทยและประชาคมโลกตื่นตัว ทำอย่างไรจะลดความแออัดของผู้ใช้บริการ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการบริการประชาชนรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมพลังความร่วมมือกับ 26 โรงพยาบาลต้นแบบในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เปลี่ยนผ่านด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านระบบวิศวกรรมโลจิสติกส์ เพื่อแก้ปัญหาและยกระดับการบริหารจัดการ พร้อมทั้งวางแผนอนาคตตั้งเป้าขยายผลพัฒนาโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อรองรับการก้าวสู่สังคมสูงวัยของประเทศและส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพในอนาคต

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ "Hospital Logistics Network : ติดปีกโรงพยาบาลยุคดิสรัพชั่น" ณ โรงแรมริชมอนด์ กล่าวว่า ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์และสุขภาพโดยมุ่งสู่การเป็นเมดิคัลฮับ(Medical Hub)ของภูมิภาคอาเซียน แต่โลกวันนี้และอนาคตมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งจะก่อให้เกิดดิสรัพชั่น จึงเป็นโอกาสอันดีที่วิศวะมหิดลได้ริเริ่มโครงการ Hospital Logistics ช่วยเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดให้สามารถรับมือยุคดิสรัพชั่น ในการยกระดับพัฒนาความปลอดภัยของผู้ป่วยด้วยคุณภาพและสามารถให้บริการที่รวดเร็วและแม่นยำ โดยได้ศึกษาวิจัยด้าน Healthcare Logistics ดำเนินโครงการ Train the Trainer เพื่อต้องการสร้างบุคลากรโรงพยาบาลให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและสามารถนำแนวความคิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการจัดการโลจิสติกส์ในโรงพยาบาลไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม ต่อยอดสู่การปฏิบัติได้จริง ทั้งเป็นผลดีต่อการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัย ส่งเสริมธุรกิจเฮลท์แคร์รักษาพยาบาลในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติที่มีมูลค่า 1 แสนล้านบาท และส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของประเทศในอนาคตซึ่งมีมูลค่าราว 26,000 ล้านบาทอีกด้วย

รศ.ดร.ดวงพรรณ ศฤงคารินทร์ หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) กล่าวว่า ความปลอดภัยในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (Patient Safety) ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการแพทย์และสุขภาพที่ไทยและประชาคมโลกตื่นตัว โดยกระบวนการในการรักษามีหลายขั้นตอน ปัญหาที่มักพบใน รพ. ได้แก่ ความแออัดของผู้มาใช้บริการ ขาดการจัดการปัญหาการจัดซื้อหรือสำรองยาไม่ถูกต้องแม่นยำ การสูญเสียงบประมาณ ขณะที่แต่ละหน่วยงานในหลายโรงพยาบาลยังไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงขาดระบบข้อมูลในการติดตามและสอบย้อนกลับยาและเวชภัณฑ์เหล่านั้นได้ ศูนย์ LogHealth ได้ศึกษาวิจัยลงพื้นที่และวิเคราะห์ออกแบบโครงการโลจิสติกส์ในโรงพยาบาล โดยได้พัฒนาต้นแบบ Logistics Champion 26 โรงพยาบาล ผ่านการอบรมหลักสูตร Train the Trainer : Logistics in Hospital โครงการนี้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่โรงพยาบาลโดยสามารถลดมูลค่าสินค้าคงคลังลงได้ มากกว่าร้อยละ 30 ส่งผลให้การบริหารการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น , ลดระยะเวลารอคอยของผู้รับบริการ อย่างน้อย ร้อยละ 20 , ลดขั้นตอนกระบวนการด้านระบบพัสดุ (ยาและเวชภัณฑ์) กระบวนการจัดซื้อ และลด Lead Time ในการรอคอยสินค้า, ลดปริมาณสำรองยาและเวชภัณฑ์ใหม่ โดยใช้เทคนิค ABC Analysis ทำให้มูลค่าสินค้าคงคลัง (ยาและเวชภัณฑ์) ลดลงอย่างน้อย ร้อยละ 20 , พัฒนากระบวนการขนส่งในโรงพยาบาล ใช้ทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคตทางศุนย์ LogHealth มีแผนจะขยายความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศ

ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ในการดำเนินงานโครงการ Hospital Logistics ได้พัฒนา 26 โรงพยาบาลต้นแบบ Logistics Champion ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช กทม.,โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานี,โรงพยาบาลรามาธิบดี กทม.,โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จ.สงขลา, โรงพยาบาลมุทรปราการจ.สมุทรปราการ, โรงพยาบาลอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี, ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายก,โรงพยาบาลสวนผึ้ง จ.ราชบุรี , โรงพยาบาลเลิดสิน กทม., โรงพยาบาลชลบุรี จ.ชลบุรี,โรงพยาบาลเชียงดาว จ.เชียงใหม่ , โรงพยาบาลนวมินทร์ กทม.,โรงพยาบาลลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ , โรงพยาบาลวัง จ.พิษณุโลก , โรงพยาบาลสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร, โรงพยาบาลสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี,โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี , โรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กทม.,โรงพยาบาลวัดเพลง จ.ราชบุรี ,โรงพยาบาลสระบุรี จ.สระบุรี, ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายก, โรงพยาบาลมะการักษ์ จ.กาญจนบุร ,โรงพยาบาลอุดรธานี จ.อุดรธานี, โรงพยาบาลคูเมือง จ.บุรีรัมย์, โรงพยาบาลศรีณรงค์ จ.สุรินทร์, โรงพยาบาลเชียงแสน จ.เชียงราย, โรงพยาบาลแพร่ จ.แพร่

รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า จากความแออัดและความล่าช้าในบริการ ทางศิริราชฯ ได้เข้าร่วมโครงการ Hospital Logistics กับศูนย์ LogHeath วิศวะมหิดล โดยดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบและใช้เทคโนโลยีวางระบบโลจิสติกส์ของอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ทำให้เกิดระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของการไหล, กระบวนการ และการจัดการทรัพยากรในระบบโลจิสติกส์ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดของประชาชนผู้รับบริการและการดำเนินการในกระบวนการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ Hospital Logistics ยังได้ศึกษาพัฒนาและจัดตั้งหน่วยขนส่งกลาง รวมทั้งวิเคราะห์ออกแบบเส้นทางขนส่งที่เหมาะสม ครอบคลุมสินค้า 7 หมวด ได้แก่ เวชภัณฑ์ยา , เวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา , น้ำเกลือ , เวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ , สิ่งส่งตรวจ , พัสดุ , น้ำดื่ม ทั้งนี้ช่วยให้บริการรักาและการขนส่งในโรงพยาบาลเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ถ่ายทอดประสบการณ์ว่า ปัญหาหลักที่โรงพยาบาลต้องการพัฒนาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก คือ การทำงานซ้ำซ้อนและความล่าช้า จึงได้ร่วมมือกับศูนย์ LogHealth วิศวะมหิดล ดำเนินโครงการโดยจัดตั้งระบบขนส่งกลาง สำหรับหมวดเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ พัสดุ และพัฒนาระบบโปรแกรมสารสนเทศครอบคลุมให้บริการรับ-ส่ง ผ้า สะอาด/สกปรก ส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ส่งวัสดุสำนักงาน ส่งเวชภัณฑ์เฉพาะทาง ให้บริการจัด-รับ-ส่ง เครื่องมือของงานจ่ายกลาง ถึงหน่วยงานทั้งโรงพยาบาล รวมทั้งการจัดส่งยาผลิตเอง ให้บริการรับใบสั่งยา และส่งยาผู้ป่วยในไปยังหอผู้ป่วยต่างๆ ขยายการให้บริการในส่วนงานโภชนาการด้วย ทั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อโรงพยาบาลหลายด้าน เช่น ลดระยะเวลาและลดจำนวนบุคลากรที่ใช้ในการรับ-ส่งเครื่องมือ ผ้า เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ วัสดุสำนักงาน เวชภัณฑ์เฉพาะทาง กว่าร้อยละ 20 พัฒนาระบบบาร์โค้ดในวัสดุเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ทุกชิ้น ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพการให้บริการและเชื่อมต่อการบริหารจัดการ จนถึงด้านการเงินได้อย่างถูกต้องแม่นยำด้วย

รศ.นพ.ประสิทธิ์ วุฒิสุทธิเมธาวี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ซึ่งเข้าร่วมโครงการ Hospital Logistics เผยว่า ก่อนหน้านี้ รพ. พบปัญหาขาดการบูรณาการข้อมูลซึ่งทำให้การบริการประชาชนและการบริหารติดขัด จึงได้พัฒนาระบบโลจิสติกส์ทำให้การบริหารจัดการโรงพยาบาลทุกขั้นตอนให้มีความโปร่งใส นำข้อมูลที่เป็นจริงไปใช้ได้ สามารถลดปริมาณสต็อกในคลังลงได้ กำหนดปริมาณสต็อกได้อย่างเหมาะสม พัฒนาตรฐานระบบบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดี พัฒนาประสิทธิภาพสต๊อกยาผู้ป่วยใน รพ.สงขลานครินทร์ ด้วยระบบ Logistics โดยใช้ข้อมูลอัตราการใช้จริง ลดมูลค่าการสำรองน้ำเกลือลงได้ ลดปัญหา Dead Stock ลดพื้นที่ในการสำรองน้ำเกลือบนหอผู้ป่วย มีระบบขนส่ง PSU Logistics Patient Transportation (PSU LPT) ให้บริการเวรเปลทันเวลาโดยวิเคราะห์ ออกแบบตามหลักวิศวกรรมโลจิสติกส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4