ก.เกษตรฯ (แปลงข้าวโพดอัจฉริยะกำจัดหนอนกะทู้)

ศุกร์ ๐๖ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๖:๔๗
ขับเคลื่อนแปลงข้าวโพด : นางสาววราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการสาธิตการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องจักรกลเกษตรอัจฉริยะต่างๆ รวมถึงการทำการเกษตรแบบแม่นยำ มาทดสอบใช้ในแปลงเรียนรู้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ฃ

กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัวนวัตกรรมไฮเทคโดรนปราบหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ปลอดภัยต่อผู้ใช้ Kick off ณ แปลงเกษตรอัจฉริยะ จ.นครสวรรค์ ลดการใช้แรงงาน ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

นางสาววราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการสาธิตการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายบุญมี แท่นงาม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ ให้การต้อนรับ นายสมพงษ์ ทองช่วย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กล่าวรายงาน และเกษตรกรกว่า 200 เข้าร่วม ว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยสถานการณ์การผลิตในปี 2561 พบว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561-2562 พบว่า มีความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ มากถึง 8.25 ล้านตัน

สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในครั้งนี้ ดำเนินงานในพื้นที่ขอนายอำนาจ เอี่ยมสุภา สมาชิก ศพก. ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ โดยเปรียบเทียบกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมของเกษตรกร กับกรรมวิธีการผลิตแบบเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องจักรกลเกษตรอัจฉริยะต่างๆ รวมถึงการทำการเกษตรแบบแม่นยำ มาทดสอบใช้ในแปลงเรียนรู้ ครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการผลิตพืช ตั้งแต่ 1. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ด้วยการคลุกสารเคมีป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด 2. การเก็บตัวอย่างดินเพื่อจัดทำแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน สำหรับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินตามความต้องการของพืช 3. การปรับระดับดินด้วย Laser Land leveler และการเตรียมดินโดยใช้แทรคเตอร์ติดตั้งระบบพวงมาลัยอัตโนมัติ นำร่องด้วยระบบ GPS 4. การปลูกด้วยระบบนิวเมติก ที่ให้จำนวนต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นจากการปลูกปกติ 69% 5. การสำรวจความต้องการธาตุอาหารของพืช (ไนโตรเจน) ด้วยเครื่อง CropSpec (เทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น) และ 6. การพ่นสารเคมีกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยโดรน ซึ่งมีความปลอดภัยต่อเกษตรกร ประหยัดเวลาการพ่นสารลง 95% และประหยัดการใช้น้ำในการผสมปุ๋ย 95% เมื่อเทียบกับวิธีปกติ เป็นต้น ตลอดจนการใช้ sensor ตรวจวัดสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจากแปลงจะถูกรวบรวม เพื่อนำไปสู่การพัฒนา Big Data Platform ด้านการเกษตรอัจฉริยะ ที่สามารถประมวลผลข้อมูลผ่านระบบ internet เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการทำเกษตรกรรมได้อย่างแม่นยำ ผ่าน Application ต่างๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่เหมาะสมกับการเกษตรของประเทศไทย และนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่ได้รับการทดสอบจากแปลงเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ จากการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะในพื้นที่ 6 จังหวัดในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตพืช 6 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง มะเขือเทศ และสับปะรด พร้อมทั้งมีการจัดเก็บข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การจัดทำ Big Data ด้านเกษตรอัจฉริยะ พร้อมกันนี้ ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการ Startup ด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรอัจฉริยะที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ในราคาย่อมเยาว์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับพี่น้องเกษตรกร ตลอดจนมุ่งหวังให้เกษตรกรได้รับความรู้ เกิดแนวคิด และได้เห็นประจักษ์ ถึงประโยชน์ของการทำเกษตรอัจฉริยะ และสามารถตัดสินใจที่จะเลือกนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ไปใช้ โดยเน้นการรวมกลุ่มเกษตร เพื่อให้สามารถมีกำลังในการจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ได้

"งานในวันนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ ศูนย์วิจัยพืชไร่ โดย กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร รวมทั้ง หน่วยงานพันธมิตร และผู้ประกอบการในการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและเครื่องจักรกลต่างๆ มาใช้ในแปลงเรียนรู้การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จัดว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และลดการสูญเสียผลผลิต และลดการใช้แรงงาน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการในรูปแบบประชารัฐ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ร่วมสนับสนุนดำเนินการกับหน่วยงาน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่นำมาใช้ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของเกษตรกร พร้อมทั้งเก็บข้อมูลด้านต้นทุน การดำเนินการในการทำเกษตรอัจฉริยะเทียบกับการดำเนินการตามวิธีดั้งเดิมของเกษตรกร เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าในการดำเนินการ" นางสาววราภรณ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๒๒ เสนา ตอกย้ำความสำเร็จ ในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
๐๙:๑๑ EP พร้อมเดินหน้ารับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม ดันผลงานปี67โตทะยาน 4 เท่า หลังได้รับการสนับสนุนเงินกู้ Project Finance จาก
๐๙:๓๘ BEST Express บุก บางบัวทอง เปิดแฟรนไซส์ขนส่งสาขาใหม่ มุ่งศึกษาพื้นที่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ตอบความต้องการตรงจุด
๐๙:๑๗ ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด
๐๙:๓๗ CPANEL APM ร่วมต้อนรับคณะนักธุรกิจชาวกัมพูชา พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิต Precast จ.ชลบุรี
๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้