อยากวิ่งนำต้องทำตาม!! ก้าวสู่อุตฯ อัจฉริยะยุคใหม่ ต้องใส่ใจ 4 ความ “สมาร์ท” แบบญี่ปุ่น

ศุกร์ ๐๖ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๔:๒๓
ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแทบจะตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมากก็คือ การนำ"ระบบอัจฉริยะ" หรือที่เรียกกันอย่างสั้นๆว่า "สมาร์ท" เข้ามาเป็นเฟืองหลักสำหรับขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ก้าวไปสู่ Smart Industry หรือ โรงงานอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตที่มีความทันสมัย การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการทำงานให้สะดวก ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งในเรื่องของการประหยัดพลังงานและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยระบบสมาร์ทเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่หลาย ๆ สถานประกอบการควรหันมาใช้และให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างทั้งภาพลักษณ์ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพื่อให้รับมือได้ทันกับบริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

ประเทศหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับการนำระบบ "สมาร์ท" มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการนำระบบไอโอที หุ่นยนต์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆมาใช้ในการดำเนินงานหลายๆประเภท โดยระบบสมาร์ทต่างๆของญี่ปุ่นยังเป็นต้นแบบและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมของหลายๆประเทศ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมในไทย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดงานนิทรรศการและงานแฟร์ด้านเครื่องจักรและระบบการผลิตทีทันสมัย เพื่อแบ่งปันข่าวสารข้อมูล ตลอดจนกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมได้เรียนรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่จำเป็น ทั้งนี้ จากความใส่ใจในกระบวนการดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่วันนี้ประเทศญี่ปุ่นจะยังคงไว้ซึ่งสถานะความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าของโลก

นายทาดาชิ โยชิดะ ประธานสมาคมบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA กล่าวว่า Smart Industry จะไม่ใช่แนวคิดในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอีกต่อไป หากแต่จะเป็นพัฒนาการและการปฏิวัติรูปแบบโรงงานแบบใหม่ ที่หลายๆระบบจะต้องมีความเป็นอัจฉริยะ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ชาญฉลาด และมีเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในการก้าวไปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้น สถานประกอบการต่างๆจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็น "SMART" 4 ประเภท ได้แก่

- Smart People คือการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและมีความพร้อมกับการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในยุคใหม่อยู่เสมอ ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ในสถาบันการศึกษา เช่น ทักษะการเขียน Coding ทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเฉพาะทาง การผลิตวิศวกรที่สามารถรองรับความต้องการและผลกระทบทางอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรด้านความเสี่ยง วิศวกรการเงิน วิศวกรด้านไอโอที นอกจากนี้ยังควรจะต้องพัฒนาความสามารถเฉพาะทางที่หุ่นยนต์ หรือ AI ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ เพื่อรับมือกับแนวโน้มการถูกแทนที่แรงงานด้วยเครื่องมือดังกล่าวในอนาคต

- Smart Technology & Innovation โดยเป็นการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในทุกกระบวนการทางอุตสาหกรรม เพื่อให้ผลลัพธ์ในกระบวนการผลิตและการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลเสียให้น้อยลงที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในยุคใหม่คือ IoT (Internet of Things) เป็นการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมโยงกับระบบต่างๆภายในสถานประกอบการ เพื่อให้การสั่งการทำงานง่าย รวดเร็ว และสามารถกระทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ส่วนต่อมาคือ Big Data ซึ่งจะเป็นระบบที่วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำนายพฤติกรรม การเตือนภัย แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยในการตัดสินใจให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามด้วย หุ่นยนต์ ซึ่งจะมีหน้าที่ในการทำงานทดแทนส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ เช่น การทำงานในพื้นที่หรือบรรยากาศที่มีความเสี่ยง การผลิตที่มีความต่อเนื่องหรือระยะเวลาที่ยาวนาน Blockchain ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ความลับของบริษัท การเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และสุดท้ายคือระบบ AI ซึ่งเป็นระบบที่มีความขำนาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพของสินค้า การคำนวณ การตรวจจับความผิดพลาดจากการดำเนินงาน เป็นต้น

- Smart Maintenance หรือระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างวิศวกรรมการซ่อมบำรุงรักษา ระบบการบริหารจัดการการผลิต ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต Cloud Computing และ Big Data พร้อมนำข้อมูลสารสนเทศ ต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์และทำนายล่วงหน้าว่าเครื่องจักรหรือสายการผลิตใดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหา โดยในการยกระดับ Smart Maintenance ดังกล่าว จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลสภาพการทำงานของเครื่องจักรและเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้น ทำให้ดำเนินการแก้ไขป้องกันปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาดยังช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยยังถือว่ายังมีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ปีละไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาท

- Smart Environment & Community ซึ่งเป็นการจัดการบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน เช่น พื้นที่ที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เช่น นวัตกรรม เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในองค์กร รวมทั้งให้ความสำคัญในการบริหารจัดการ หรือมีโซลูชั่นที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีในการกำจัดมลพิษทั้งทางบก น้ำ อากาศ นวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมและกากขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเติบโตและยั่งยืน

นายทาดาชิ กล่าวเสริมว่าประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะให้ความสำคัญกับความ "SMART" ในด้านต่างๆแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือ การจัดงานแฟร์และนิทรรศการด้านอุตสาหกรรม โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นเสมือนเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ ประสบการณ์ และกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีความตื่นตัวที่จะแข่งขันการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์อุตสาหกรรมของประเทศให้ดูมีความทันสมัยและเปี่ยมไปด้วยการพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง พร้อมที่จะรักษามาตรฐานและประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอ ทั้งนี้ หนึ่งในนิทรรศการด้านอุตสาหกรรมที่ได้การยอมรับ และถูกจัดมาอย่างต่อเนื่องคือ Maintenance & Resilience Tokyo ซึ่งเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับระบบการซ่อมบำรุงรักษา เทคโนโลยีที่จำเป็นในการผลิต อุปกรณ์ เทคโนโลยี และโซลูชั่นในการบำรุงรักษาโรงงานและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่จำเป็น โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ของญี่ปุ่นให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีมาจัดแสดง พร้อมด้วยการสัมมนาให้ความรู้จากภาครัฐและเอกชน และได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาเกือบ 60 ปี

ทั้งนี้ JMA ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพ ความเป็นพันธมิตร และความสำคัญของการเป็นฐานด้านการผลิตของไทย จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะนำงาน Maintenance & Resilience Tokyo มาจัดครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้ชื่อ Maintenance & Resilience Asia 2019 หรือ MRA 2019 โดยการจัดงานดังกล่าว JMA มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตในไทย โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีศักยภาพที่ดีทัดเทียมกับญี่ปุ่น นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังจะช่วยให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางแห่งความทันสมัยในด้านกระบวนการผลิต การบำรุงรักษา และนวัตกรรมเทคโนโลยี และช่วยกระตุ้นให้ประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนเดินหน้าในทิศทางเดียวกัน ซึ่งงานดังกล่าวจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 2 – 4 ตุลาคม 2562 ณ ไบเทค บางนา นอกจากจะมีการจัดแสดงเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากญี่ปุ่นแล้ว ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสำคัญต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนต่างๆ มาร่วมขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตไปอีกระดับ

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด โทรศัพท์ 02 – 5590856 อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4