สสส. จับมือเครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์สังคม จัดงาน Creative Citizen Talk 2019

พฤหัส ๑๒ กันยายน ๒๐๑๙ ๐๙:๒๔
สสส. จับมือ เครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์สังคม Creative Citizen จัด Creative Citizen Talk 2019 ดึงนักคิดนักสร้างสรรค์ หลากหลายวงการร่วมปลุกแรงบันดาลใจให้สังคม

ในโลกยุคดิจิทัล ทุกประเทศทั่วโลกมุ่งสู่การสร้างพลเมืองสร้างสรรค์ ด้วยเป้าหมายที่หลากหลาย ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี การเสริมสร้างเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง ฯลฯ ทว่าในอีกมุมเล็กๆ ของการพัฒนา พลเมืองสร้างสรรค์ ยังสามารถใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งดีๆ ในสังคมได้อย่างหลากหลายมิติ รวมถึงมิติด้านสุขภาวะทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา

เครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์สังคม (Creative Citizen) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้มองเห็นถึงความสำคัญและพลังของนักสื่อสารสร้างสรรค์ จึงได้ จัดงาน Creative Citizen Talk 2019 ขึ้น ณ ห้องออดิทอเรียม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยครั้งนี้นับเป็นการจัดต่อเนื่อง ป็นครั้งที่ 6 โดยภายในงานก็ได้เชิญนักคิด นักสร้างสรรค์ นักสื่อสารสุขภาวะจากหลากหลายสาขาหลากหลายวงการอาชีพกว่า 10 ท่าน มาร่วมกันจุดประกายความคิดสร้างแรงบันดาลใจในแง่มุมต่างๆ ให้กับคนในสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย ศ. ดร. ภญ. จงจิตร อังคทะวานิช (ผู้ที่ได้มองเห็นถึงปัญหาสุขภาพของสงฆ์ไทยในอาหารก้นบาตร เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนโปรเจคสงฆ์ไทยไกลโรค) , จิระศักดิ์ รุ่งเรืองธัญญา (Creative Volunteer) พลเมืองธรรมดาที่มีหัวใจจิตอาสา ผู้ทำให้งานประจำ กีฬาที่รัก และงานเพื่อสังคมสามารถทำไปด้วยกันได้ , อาริยะ คำภิโล (เจ้าของกิจการร้านอาหารเพื่อสุขภาพชื่อดัง Jones' Salad ที่ตั้งเป้ากำไรสูงสุดคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่คนในสังคม ผู้สร้างคอนเทนต์ให้คน(กลับมา)รักสุขภาพจนเป็นเพจที่มียอดผู้ติดตามมากกว่าหนึ่งล้านคน) , รวิศ หาญอุตสาหะ นักธุรกิจจากแบรนด์ศรีจันทร์ (Srichand) ที่ตารางเวลาชีวิตแน่นเอียดตลอดทั้งสัปดาห์ จนทำให้ทั้งสุขภาพกายและจิตรวนทั้งขบวนแต่ก็ลุกขึ้นมาจัดการชีวิตตัวเองด้วยการออกวิ่งได้สำเร็จ , ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์ ช่างภาพสายแฟชั่น ผู้เชื่อมงานศิลปะกับปัญหาสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อมเอาไว้ด้วยกัน ผ่านมุมมองภาพถ่ายแนวจัดจ้านที่ไม่เหมือนใคร จนถูกเรียกว่า "นวัตกรรมภาพถ่าย" ที่สั่นสะเทือนวงการช่างภาพและสร้างปรากฏการณ์ทางสังคม , กัมปนาท พนัสนาชี แรปเปอร์รุ่นใหม่ขวัญใจวัยรุ่น (36Man Rapper)ที่ถ่ายทอดเรื่องราวโรคซึมเศร้าให้แก่สังคม ใช้เพลงแรปเป็นสะพานเชื่อมให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากับคนรอบข้าง, บุญชัย สุขสุริยะโยธิน นักคิดจากบริษัทตัวแทนโฆษณา (ชูใจ กะ กัลยาณมิตร) , ธีตา โหตระกิตย์ (เจ้าของร้าน Steps With Theera) ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพของเด็กพิเศษเปลี่ยนโรงเรียนร้านอาหารและคาเฟ่ให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อสื่อสารความสามารถที่ไม่ธรรมดาของเด็กพิเศษสู่สังคมวงกว้าง , ประสาน อิงคนันท์ ผู้อยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังสารคดีและสื่อสาระดีๆ มากว่า

สิบปี มนุษย์วัยกลางคนที่ใช้สื่อออนไลน์มาทลายกำแพงช่องว่างระหว่างวัย ช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้ลูกหลานกับผู้สูงวัยในครอบครัวและสังคม , ชีวัน วิสาสะ ต้นฉบับนิทานเด็กสุดคลาสสิก "อีเล้งเค้งโค้ง" ผู้สร้างโลกแห่งจินตนาการผ่านเนื้อหาประเด็นสุขภาพ-สังคม ความงามทางภาษา และภาพประกอบเชิงคุณค่าปลูกฝังเมล็ดพันธุ์การอ่านและจิตสำนึกที่ดีให้แก่เด็กๆ เพื่อส่งต่อไปถึงผู้ใหญ่

สำหรับงานครั้งนี้ ธนบูรณ์ สมบูรณ์ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์สังคม Creative Citizen หัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดกิจกรรม กล่าวว่า "งานนี้เราได้จัดมาเป็นครั้งที่ 6 แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาในปีก่อนๆ แต่ละครั้งกิจกรรมของเราได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากว่าห้องประชุมที่จัดกิจกรรมเต็มทุกที่นั่ง และ ที่น่าดีใจไปกว่านั้นคลิปที่เราทำและเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้รับชม ตอนนี้ยอดวิวทะลุกว่า 2 แสนคน ตรงนี้เป็นเรื่องที่ดีมาก ซึ่งก็ต้องขอบคุณไปยัง สสส. ที่ให้การสนับสนุนพวกเราเป็นอย่างดีเสมอมา กิจกรรมดีๆ แบบนี้จึงเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนในปีนี้ โดยในปีนี้ เนื้อหาของเราก็จะเน้นเรื่องสุขภาวะเป็นหลัก เพราะอยากให้ผู้ที่ได้เข้ามาร่วมรับฟังได้นำแนวคิดจากประสบการณ์ดีๆ ของผู้บรรยาย ที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเราก็ยังหวังไปไกลกว่านั้นว่า บุคคลที่เข้ามาร่วมกิจกรรม ได้ฟังบรรยาย ในโอกาสข้างหน้าจะมาร่วมเป็นเครือข่ายจิตอาสานักสื่อสร้างสรรค์สังคมเพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลง สร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคมร่วมกับเราครับ"

และในส่วนของเนื้อหาการบรรยายของทั้ง10 ท่านนั้น ท่านแรก "ศ. ดร. ภญ. จงจิตร อังคทะวานิช" ได้กระตุกความคิดของผู้ฟังถึงประเด็นการใส่บาตรพระสงฆ์ไว้ว่า "ทุกวันที่เราใส่บาตร เราอธิษฐาน อยากให้เราสุขภาพแข็งแรง แต่อาหารที่เราถวายพระ มันดีต่อสุขภาพพระหรือเปล่า"

จากนั้น คุณจิระศักดิ์ รุ่งเรืองธัญญา ผู้ที่โหมงานหนัก ใช้ชีวิตแบบสุดโต่ง จนลืมดูแลสุขภาพตัวเอง กระทั่งร่างกายทรุดหนักป่วยด้วยหลายโรคหลายอาการ จึงได้หันมาดูแลสุขภาพตัวเองอย่างจริงจัง และงดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคทั้งหลายได้ในเวลาไม่นาน ได้ให้แง่คิดดีๆ ว่า "อย่าให้ใครมาบอกว่าเราคนเดียวทำไม่ได้หรอก ไม่มีใครมากำหนดได้ว่า เราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ไม่ได้ เพราะเราตัดสินใจได้ด้วยตัวเองว่าเราจะทำมันหรือไม่"

นอกจากนี้ อาริยะ คำภิโล เจ้าของ Jones' Salad ได้เล่าประสบการณ์ของการทำธุรกิจที่เริ่มจากศูนย์และขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเอง ลองผิดลองถูก จนกระทั่งประสบความสำเร็จมาจนทุกวันนี้ เล่าว่า "เหนือสิ่งอื่นใด กำไรที่เป็นเม็ดเงินหรือกำไรทางธุรกิจ ก็ไม่ได้สำคัญเท่ากับสิ่งที่เราได้ทำแล้วเราได้กำไรทางใจ คือได้ทำคอนเทนต์ดีๆ ให้กับสังคม" และในส่วนของ นักธุรกิจชื่อดัง เจ้าของแบรนด์ศรีจันทร์ รวิศ หาญอุตสาหะ ผู้ที่ใช้การวิ่งสร้างแรงบันดาลใจในชีวิต กล่าวว่า "เวลาของคุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับเข็มนาฬิกาของคุณ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณมีพลังทำ 1 เข็มนาฬิกาของคุณที่ผ่านไปได้แค่ไหนมากกว่า"

อีกทั้งยังมีช่างภาพชื่อดัง ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์ ที่ใช้ภาพถ่ายในการทำงานเพื่อสังคม ให้แง่คิดดีๆ ว่า "ภาพถ่ายสามารถทำอะไรได้มากมาย อาจเป็นอาวุธในการทำร้ายคนอื่นได้ หรืออาจสร้างภาพถ่ายที่สร้างสรรค์ให้คนอื่นรู้สึกดีก็ได้ ภาพถ่ายสุดท้ายในมือถือของคุณเป็นภาพอะไรครับ"

และใครจะเชื่อว่าแรปเปอร์เลือดใหม่ กัมปนาท พนัสนาชี ที่ให้ความบันเทิงกับทุกคนจะมีน้องสาวแท้ๆ ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ผ่านการฆ่าตัวตายมานับครั้งไม่ถ้วน ได้มาบอกเล่าประสบการณ์เรื่องราวในครอบครัวเพื่อเป็นอุทาหรณ์ กล่าวว่า "ไม่มีใครอยากป่วย ไม่ว่าโรคซึมเศร้าหรือแค่ไข้หวัดธรรมดา ในเมื่อไม่มีใครอยากป่วย จงอย่ามองว่าการป่วยของคนที่เรารักเป็นภาระ" และต่อด้วยเรื่องราวของการใช้งานโฆษณา กระตุ้นจิตสำนึกของคนในสังคม บุญชัย สุขสุริยะโยธิน ให้แง่คิดว่า "เราจำเป็นต้องรู้จริงๆ ไหมว่าอะไรคือความคิดสร้างสรรค์ หรือจริงๆ แล้วมันก็อยู่กับเราตลอดเวลา ในตอนที่เราคิดจะสร้างอะไรดีๆ เพื่อคนอื่นและตัวเอง"

จากนั้น ธีตา โหตระกิตย์ เจ้าของ Steps With Theera ร้านกาแฟที่มีพนักงานในร้านเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเธอมีลูกที่เป็นเด็กกลุ่มนี้ ก็ได้มาแชร์เรื่องราวของการเป็นแม่ที่ต้องดูแลลูกที่เป็นออทิสติก ที่อยากจะสื่อสารกับสังคมว่า "ความต้องการของพวกเขาเหล่านี้ จริงๆ ไม่ได้ต่างจากความต้องการของคนธรรมดาๆ ทั่วไป สิ่งที่เขาต้องการก็คือเขาไม่ได้ต้องการจะถูกเรียกว่าเป็นคนพิเศษ"

สำหรับ ประสาน อิงคนันท์ พิธีกรรายการสารคิดีชื่อดัง ได้มาเล่าเรื่องราวประสบการณ์ทำงานเพจ "มนุษย์ต่างวัย" ที่อยากให้คนรุ่นใหม่เข้าใจและเห็นความสำคัญของผู้สูงวัย จึงได้ให้แง่คิดไว้ว่า "สังคมเราแบ่งแยกกันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความคิด ศาสนา ความเชื่อ แล้วยังต้องมาแบ่งแยกกันด้วยเรื่องวัยอีกเหรอ บางทีคนสองวัยอาจจะคิดเหมือนกันก็ได้"

จากนั้นผู้ที่ทำงานสร้างสรรค์เพื่อเด็กๆ "ชีวัน วิสาสะ" นักเขียนหนังสือนิทานยอดนิยม "อีเล้งเค้งโค้ง" กล่าวว่า "นิทานเดินทาง ออกไปเพื่อให้เด็กๆ จดจำเอาไว้ว่าวันนี้เด็กๆ ได้รับการแบ่งปันหนังสือแล้วหนึ่งเล่ม เมื่อพวเกขาโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ เขาก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักการแบ่งปัน"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้