สวพ.8 ต่อยอดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หนุนวิจัยวัตถุดิบท้องถิ่นสร้างอัตลักษณ์ยกระดับอาชีพคนชุมชน

อังคาร ๑๗ กันยายน ๒๐๑๙ ๐๙:๓๙
นายจิระ สุวรรณประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่8(สวพ.8) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันสวพ.8ได้ให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นของแต่ละจังหวัดยกระดับเป็นเป็นอาชีพเพื่อสร้างได้ หลังจากก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปกล้วยฉาบน้ำตาลโตนดรำแดงพร้อมทั้งส่งเสริมการตลาดให้กับชุมชนควบคู่กัน โดยสวพ.8 ร่วมกับชุมชนจัดทำตลาดพรีเมี่ยมรำแดงแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม ที่บ้านป่าขวาง ต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งถือเป็นงานวิจัยที่พัฒนาชุมชนและเห็นผลได้จริง ตั้งแต่สร้างความเข้มแข็งชุมชน ผลิตพืชผสมผสาน รับรองมาตรฐาน แปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มตลาดจัดจำหน่ายและการท่องเที่ยวจนได้รับการชื่นชมจากพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ที่สามารถขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการผลิตพืชที่ยั่งยืนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จในเชิงรูปธรรม ในการส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนนำวัตถุดิบจากท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ในครอบครัว

ด้านนายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง สวพ.8 กล่าวเพิ่มเติมว่า การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบน้ำตาลโตนดเกิดจากสวพ.8 ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรวิจัยการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นนำเอากล้วยดีที่ปลูกบนดินยุคโฮโลซีน เมื่อทะเลยกตัวราว5000ปีมาแล้วผสมผสานกับน้ำตาลโตนดที่เป็นพืชประจำถิ่นคาบสมุทรสทิงพระ มาหลาย 100 ปี ทำให้ได้สินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีคุณค่าดัชนีน้ำตาลน้อยกว่าการใช้น้ำตาลทรายมีแคลเซียมและธาตุเหล็กสูงกว่าผลไม้ทั่วไปประมาณ5เท่าซึ่งการพัฒนาได้รับการสนับสนุนต่อยอดจากหลายภาคส่วน อาทิ อบต.รำแดง สำนักงานเกษตรอำเภอสิงหนคร มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาและสำนักงานพัฒนาชุมชน ในการร่วมกันส่งเสริมการผลิตพืชการแปรรูปสินค้าและการตลาดของเกษตรกรให้พัฒนาครบวงจรและมีความยั่งยืนในต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา

ทั้งนี้ สวพ.8ได้เข้ามาดำเนินงานวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ตำบลรำแดงเมื่อปี 2559 โดยเริ่มทดลองให้เกษตรกร ปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าว มาเป็นการปลูกไม้ผลและพืชผัก โดยการปรับสภาพพื้นที่นา ประมาณ 2 ไร่ ขุดยกร่องเป็นร่องสวน และปลูกกล้วย มะม่วง ส้มโอ และพืชผักต่างๆ สำหรับ การพัฒนาการปลูกกล้วย ได้แนะนำ ให้เกษตรกรปฏิบัติ ตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตรเพื่อให้ได้กล้วยคุณภาพดีเกรดพรีเมี่ยม เพราะมีการรับรองมาตรฐานคุณภาพ GAP

นอกจากการขายเป็นผลผลิตกล้วยสดแล้ว ได้มีการศึกษาการแปรรูป เป็นกล้วยฉาบและเพื่อเป็นการสร้างอัตลักษณ์สินค้า จึงได้นำเอาจุดเด่นของพื้นที่เข้ามาผนวกกับสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า พื้นถิ่นซึ่งปัจจุบันพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระถือเป็นแหล่งปลูกต้นตาลโตนดมากที่สุดในประเทศไทยและเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตน้ำผึ้งตาลโตนดคุณภาพดี การนำผลิตภัณฑ์ ทั้งสองอย่างมารวมกันจึงทำให้ได้กล้วยฉาบ น้ำตาลโตนด ที่มีเอกลักษณ์จนสามารถพัฒนาสูตรเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและล่าสุดได้รวมกลุ่มเกษตรกรจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนขึ้นในปีนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ