วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดไมเกรนจากสารสกัดเก๊กฮวยสู่เชิงพาณิชย์

พฤหัส ๒๖ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๑:๑๔
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามบันทึกข้อตกลงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรน "4 GRAINE" สารสกัดจากเก๊กฮวยสู่เชิงพาณิชย์ ผลงานการวิจัยของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. ให้แก่ นายไพศาล เวชพงศา กรรมการบริษัทแสงสว่างตราค้างคาว จำกัด ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ในรูปแบบผงชงละลายน้ำ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้บ่อยครั้ง โดยไม่มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เหมือนกับยารักษาไมเกรนในกลุ่มอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ผ่านการประเมินความปลอดภัยในสัตว์ทดลองทั้งการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง นับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรไทยด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม ในวันพุธที่ 25 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมผู้บริหารชั้น 8 อาคารวิจัยและพัฒนา 1 วว. เทคโนธานี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

"...ความร่วมมือในครั้งนี้สอดคล้องตามทิศทางและการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไทยด้วยนวัตกรรม และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา และลดต้นทุน รวมทั้งเติบโตได้โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เป็นพื้นฐานสำคัญ โดยมีแนวทางการพัฒนา คือ เร่งส่งเสริมให้เกิดสังคมนวัตกรรม โดยเสริมสร้างนวัตกรรมภาคธุรกิจ พัฒนานวัตกรรมภาครัฐและภาคสังคม ตลอดจนผลักดันงานวิจัยเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่สำคัญของ วว. ในการดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา วิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมนวัตกรรม และขีดความสามารถในการแข่งขัน ไปใช้ในการสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเชิงบูรณาการ ตลอดจนมีการพัฒนาเครือข่ายในการการพัฒนางาน วทน. อย่างเป็นระบบ เพื่อการแก้ไขปัญหาของภาคเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ…" ผู้ว่าการ วว. กล่าว

"ไมเกรน" เป็นอาการปวดศีรษะชนิดเรื้อรังที่ไม่ใช่แค่ปวดศีรษะเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นซ้ำและอาจจะเป็นเวลาไหนก็ได้ สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กอายุ 7-8 ปี จนถึงวัยทำงาน แต่ที่พบบ่อยจะเป็นช่วงอายุ 15 - 55 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน ในผู้หญิงพบไมเกรนได้ 16-18% ส่วนในผู้ชายพบได้ 6-8% และอัตราการเป็นไมเกรนต่อประชากรในโลก คือ 1 ต่อ 8

ทั้งนี้มีข้อสันนิษฐานที่เชื่อได้ว่า การปวดศีรษะไมเกรนจะเริ่มต้นเกิดขึ้น เมื่อมีตัวกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการต่างๆเป็นลูกโซ่ นำไปสู่อาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับของสารสื่อประสาท serotonin ซึ่งพบว่ามีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง เป็นผลให้เส้นเลือดฝอยที่มีเส้นประสาทพันรอบเส้นเลือดเหล่านี้ถูกยืด จึงเป็นการกระตุ้นและส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะที่ค่อนข้างรุนแรง โดยจะเริ่มต้นปวดตุบๆ ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของศีรษะ เช่น เบ้าตา ขมับ ซึ่งทำให้เกิดความรำคาญ และเมื่ออาการรุนแรงขึ้นจะทำให้รู้สึกทรมาน อาจมีอาการคอแข็ง อ่อนแรง มีความรู้สึกไวต่อแสง เสียง มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

การป้องกันการเกิดไมเกรน ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผลกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ไม่ใช้น้ำหอม ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ส่วนการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนจะต้องใช้ยาในการบรรเทาอาการปวด โดยผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนไม่รุนแรงอาจใช้ยาแก้ปวด เช่น aspirin, ibuprofen, หรือยาผสมระหว่าง paracetamol, aspirin, และ caffeine อย่างไรก็ตาม อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารและผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ที่มีอาการไมเกรนที่รุนแรงอาจใช้ยาในกลุ่ม serotonin receptor agonists เช่น sumatriptan, almotriptan, zolmitriptan ที่ออกฤทธิ์โดยกระตุ้น serotonin receptor ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะให้ผลการรักษาดีมาก แต่มีอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ค่อนข้างอันตรายต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นอกจากนี้ราคาของยาในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง

วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรที่ไม่เป็นพิษ และมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรน โดยการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบผงชงละลายน้ำ ซึ่งน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ทรมานจากอาการไมเกรน เนื่องจากสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้บ่อยครั้ง โดยไม่มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เหมือนกับยารักษาไมเกรนในกลุ่มอื่นๆ โดยการนำดอกเก๊กฮวยมาสกัด และศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงในสัตว์ทดลอง แล้วนำมาพัฒนาเป็นผงชงละลายน้ำ ที่มีกลิ่นหอมของดอกเก๊กฮวย ทั้งนี้ มีการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลิตภัณฑ์พบว่า สามารถกระตุ้น serotonin receptor ได้เช่นเดียวกันกับ sumatriptan นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยังผ่านการประเมินความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง ทั้งการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง เมื่อศึกษาประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ในอาสาสมัคร พบว่า ผลิตภัณฑ์สามารถยับยั้งอาการปวดศีรษะไมเกรนได้โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆจากการใช้ผลิตภัณฑ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผลการดำเนินงานหรือขอรับบริการด้านวิทยาศาสตร์ของ วว. ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 E-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ