กทม.เตรียมพร้อมรองรับสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์

จันทร์ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๗:๓๑
นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวตามที่ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยสถานการณ์ของผู้สูงอายุไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คาดในปี 2564 จะเข้าสู่ "สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์" ขณะที่ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุอายุคาดเฉลี่ยภาวะสุขภาพดีคนไทยในปี 2558 มีค่าเท่ากับ 66.8 ปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังว่า ที่ผ่านมา สำนักอนามัยได้เตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 โดยดำเนินการผ่านแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การบูรณาการระดับสำนักงานและระดับเขต ขณะเดียวกันได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร พร้อมวางแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนก่อนวัยสูงอายุและเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ดังนี้ 1) ส่งเสริมสุขภาพประชาชนในวัยทำงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผ่านภาคีเครือข่ายสุขภาพ 2) คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อค้นหาภาวะสุขภาพปกติ เสี่ยง และป่วยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคพฤติกรรมสุขภาพ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง 3) ดำเนินโครงการ PLC ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเชิงป้องกันระยะยาว 4) ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ (SRC)

เป็นศูนย์ต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านให้ติดสังคม โดยดูแลผู้สูงอายุแบบเช้าไปเย็นกลับ 5) จัดให้มีชมรมผู้สูงอายุครอบคลุมทุกพื้นที่ 6) ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ เพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยกำหนดหลักสูตรแกนกลางศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ ได้แก่ ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ การออกกำลังกาย และการจัดสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ

นายสุขสันต์ กิตติศุภกร รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. กล่าวว่า ในส่วนของสำนักการแพทย์ ได้จัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลทำการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ส่งผลให้ผู้สูงอายุกลับเข้าสู่สังคมได้ รวมถึงการตรวจคัดกรองเพื่อวางแผนการดูแลรักษาผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันได้มีการประเมินการใช้ชีวิตประจำวัน (ADL) ค้นหาผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ที่มีความจำเป็นต้องเข้าดูแลถึงบ้าน ตามโครงการ กทม.ใส่ใจผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง เป็นโครงการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงโดยทีมสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย และสำนักงานเขต ร่วมกันขยายการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในชุมชน นอกจากนั้น โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ยังให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังกับผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาล รวมถึงให้ข้อมูลสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์ของโรงพยาบาล อีกทั้ง ปัจจุบันโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ได้จัดตั้งหอผู้ป่วยชีวาภิบาล ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในระยะกึ่งกลาง (Intermediate care : IMC) ที่พ้นจากระยะวิกฤต เพื่อฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงอายุให้กลับคืนสู่สภาวะปกติก่อนกลับบ้านอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital