เร่งแก้ปัญหากุ้งราคาตก ภาครัฐลุยอัดแคมเปญ ช่วยเกษตรกรพยุงราคา

จันทร์ ๐๙ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๒:๕๒
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาซื้อขายกุ้งขาวแวนนาไมที่ปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม - กันยายน ปี 2562 พบว่า กุ้งขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 6 เนื่องจากไทยส่งออกกุ้งลดลง โดยมีปริมาณส่งออก 126,658 ตัน (ลดลงร้อยละ 5) คิดเป็นมูลค่า 37,531 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 10) เนื่องจากราคากุ้งไทยมีราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง จึงส่งผลการส่งออกกุ้งไทยไปตลาดโลกลดลง ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท ความสามารถในการแข่งขันของไทยจึงลดลงไปด้วย นอกจากนี้ ทางผู้ประกอบการห้องเย็นและโรงงานแปรรูปขาดสภาพคล่อง รวมทั้งเลิกกิจการไปบางส่วน ดังนั้น ความต้องการกุ้งเพื่อส่งออกจึงน้อยลง และกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับความเดือดร้อนจากราคากุ้งที่ตกต่ำตั้งแต่ช่วงต้นปี 2562 เป็นต้นมา

กระทรวงเกษตรฯ โดย สศก. และ กรมประมง ได้ร่วมประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยการนำผลผลิตส่วนเกินกุ้งออกจากตลาด จำนวน 40,000 ตัน และกำหนดราคาเป้าหมายที่เกษตรกรขายได้ให้กุ้งขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม อยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท

ด้านนางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการ สศก. กล่าวเสริมว่า สำหรับมาตรการช่วยแก้ไขปัญหาราคากุ้ง กรมการค้าภายใน ได้เตรียมดำเนินการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการที่รับซื้อกุ้งเพิ่ม จำนวน 30,000 ตัน วงเงินกู้ 5,000 ล้านบาท โดยชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ระยะเวลา 6 เดือน วงเงิน 75 ล้านบาท และการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการที่รับซื้อกุ้งเพื่อเก็บในสต๊อก ระยะเวลา 3 เดือน จำนวน 10,000 ตัน วงเงินกู้ 1,500 ล้านบาท โดยชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ระยะเวลา 6 เดือน วงเงิน 22.50 ล้านบาท และชดเชยค่าเก็บกิโลกรัมละ 1 บาท เป็นเงิน 10 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 32.50 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งจัดทำโครงการและมาตรการดังกล่าว

นอกจากนี้ เตรียมขยายการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ให้มากขึ้น โดยให้กรมการค้าต่างประเทศจัดทีมเจรจาระหว่างผู้ประกอบการส่งออกไทยกับผู้ประกอบการนำเข้ารายใหม่ๆ พร้อมกับส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ โดยให้กรมการค้าภายในจัดกิจกรรมส่งเสริมการบริโภค เช่น นำกุ้งจากฟาร์มเกษตรกรจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น การขายออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปีที่เป็นช่วงเทศกาลที่ผู้บริโภคภายในประเทศจะซื้อกุ้งในราคาถูกลงกว่าท้องตลาดทั่วไป ซึ่งเชื่อมั่นว่า มาตรการดังกล่าว จะสามารถช่วยยกระดับราคากุ้ง ให้สูงขึ้นได้อย่างแน่นอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4