เกษตรฯ วางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม มุ่งลดปัญหาฝุ่นหมอกควัน

จันทร์ ๒๗ มกราคม ๒๐๒๐ ๐๘:๓๙
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากการเกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในหลายพื้นที่ของประเทศ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ ไอเสียจากรถยนต์ในเมืองใหญ่ การประกอบโรงงานอุตสาหกรรม และหมอกควันที่เกิดจากการเผาเศษซากพืช/วัชพืช และเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่การเกษตร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประกอบกับ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีข้อห่วงใยเรื่องนี้เช่นเดียวกัน จึงมอบหมายให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและเฝ้าระวังการเผาเศษซากพืชและวัชพืช และเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่เกษตร โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนป้องกันและเฝ้าระวัง รวมทั้งเสนอแนะมาตรการและแนวทางในการป้องกันการเผา ตลอดจนกำกับ ดูแล การดำเนินงานแก้ไขปัญหา ติดตามสถานการณ์ เพื่อมุ่งลดปัญหาฝุ่นหมอกควัน และรายงานความก้าวหน้าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบ
เกษตรฯ วางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม มุ่งลดปัญหาฝุ่นหมอกควัน

สำหรับแผนงาน/โครงการเพื่อสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2563 ที่เสนอเข้ามามี 4 โครงการ/แผนงาน ดังนี้

1. โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2 กิจกรรม คือ 1) ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร เป้าหมาย 16,800 ราย 2) สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร จำนวน 210 แห่ง พื้นที่ 42 จังหวัด

2. โครงการส่งเสริมการไถกลบและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อป้องกันหมอกควันในพื้นที่เกษตรภาคเหนือ โดยกรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 2 กิจกรรม คือ 1) การไถกลบตอซัง พื้นที่เป้าหมาย 70,000 ไร่ 2) การผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน 3,650 ตัน

3. โครงการส่งเสริมระบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน 45,000 ไร่ ส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ป่า ไม้หายากหรือไม้ประจำถิ่น โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก.

4. แผนบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า ด้วยปฏิบัติการฝนหลวงและดัดแปรสภาพอากาศเพื่อลดความหนาแน่นของหมอกควันรวมทั้งเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งขณะนี้ได้มีจังหวัดรายงานสถานการณ์พื้นที่การเผา รวม 23 จังหวัด ไม่มีสถานการณ์ 43 จังหวัด

ด้านนายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งถึงผลความก้าวหน้าการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ได้ดำเนินการ มีดังนี้ 1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่และเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่ มีเจ้าหน้าที่จากจังหวัดเป้าหมาย 42 จังหวัด สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่เกี่ยวข้อง และศูนย์ปฏิบัติการ รวม 100 ราย 2) กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อจัดตั้งเครือข่ายเกษตรปลอดการเผา รวม 226 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 108 ของเป้าหมาย (130 ตำบล + 96 ศพก.) 3) กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีหนังสือสั่งการไปยังทุกจังหวัด และทุกหน่วยงานของกรมฯ ให้ควบคุม กำกับดูแล และเข้มงวดไม่ให้เกิดการเผาในพื้นที่การเกษตรอย่างเคร่งครัด เร่งสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบจากการเผา รวมทั้งให้ความร่วมมือและสนับสนุนมาตรการต่างๆ กับหน่วยงานในพื้นที่ พร้อมทั้งขับเคลื่อนผ่านเวทีระดับจังหวัด ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด (อ.พ.ก.) และคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation : CoO) 4) ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งได้มีการจัดงานรณรงค์ระดับจังหวัดแล้ว 3 ครั้ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ น่าน และจังหวัดเชียงราย และจังหวัดที่เหลือในกลุ่มภาคเหนือมีแผนการจัดงานรณรงค์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 5) กำหนดจัดงาน "Kick-Off รณรงค์หยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร" ในวันที่ 28 มกราคม 2563 ณ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ต้องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ด้วยการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและนำเสนอทางเลือกให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อลดการเผา ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน คืนชีวิตให้ดิน ทางเลือกที่ 2 นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ทางเลือกที่ 3 นำเศษวัสดุการเกษตร มาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเลี้ยงโค ทางเลือกที่ 4 นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านพลังงาน เป็นพลังงานทดแทน เช่น ผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง หรืออัดก้อน ทางเลือกที่ 5 นำมาเพาะเห็ด หรือนำมาผลิตกระดาษ ทางเลือกที่ 6 คือ นำเศษใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้า ที่แห้งมาคลุมบริเวณโคนต้นพืช และทางเลือกที่ 7 นำเปลือกซังข้าวโพดหรือฟางมาทำวัสดุเพาะปลูก ขณะนี้อยู่ระหว่างการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร จำนวน 10,617 ราย คิดเป็นร้อยละ 63 ของเป้าหมาย

เกษตรฯ วางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม มุ่งลดปัญหาฝุ่นหมอกควัน เกษตรฯ วางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม มุ่งลดปัญหาฝุ่นหมอกควัน เกษตรฯ วางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม มุ่งลดปัญหาฝุ่นหมอกควัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4