สทนช.เปิดเวทีครั้งที่ 2 แจงข้อมูลการสร้าง“เขื่อนหลวงพระบาง” เร่งรวบรวมข้อกังวลประชาชน 8 จว.ริมโขง เตรียมเสนอ สปป.ลาว

อังคาร ๒๘ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๕:๕๒
สทนช. ลงพื้นที่อำนาจเจริญ เปิดเวทีเป็นครั้งที่ 2 ร่วมให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง ตามระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง เพื่อรวบรวมข้อกังวลด้านผลกระทบของประชาชน 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง กำหนดเป็นท่าทีของไทย สะท้อนผ่านกลไก PNPCA ไปยัง สปป.ลาว
สทนช.เปิดเวทีครั้งที่ 2 แจงข้อมูลการสร้างเขื่อนหลวงพระบาง เร่งรวบรวมข้อกังวลประชาชน 8 จว.ริมโขง เตรียมเสนอ สปป.ลาว

ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดเวทีให้ข้อมูล โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง ครั้งที่ 2 (Procedures for Notification, Prior Consultation and Agreement, PNPCA) โดยมี นายประดับ กลัดเข็มเพชร รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานพิธีเปิด และนายพิจิตร บุญทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 150 คน ประกอบด้วย ดร.จันสะแหวง บุนยง อธิบดีกรมนโยบายและแผนพลังงาน สปป.ลาว ผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ คณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมลุ่มน้ำโขง สถาบันการศึกษา กลุ่มผู้ใช้น้ำ ด้านเกษตรกรรม และด้านประมง

นายประดับ กลัดเข็มเพชร รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างรวม 4 ประเทศ คือ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่เป็นประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ซึ่งรัฐบาล 4 ประเทศ ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 โดยมีข้อตกลงที่จะใช้น้ำของระบบลุ่มน้ำโขงอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม หากมีการนำน้ำจากแม่น้ำโขงมาใช้ภายในลุ่มน้ำหรือผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ จะต้องดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติ เรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง (Procedures for Notification, Prior Consultation and Agreement, หรือ PNPCA) ซึ่งเป็นกระบวนการที่กรอบระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน

สำหรับการเปิดเวทีในวันนี้ เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกจัดที่จังหวัดนครพนม เพื่อให้ประชาชนจังหวัดนครพนม หนองคาย และบึงกาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องของ 8 จังหวัดริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่ประกอบด้วย เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง และได้แสดงความคิดเห็นต่อข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ส่งผ่านไปยัง สปป.ลาว ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่จะได้รับทราบข้อมูลองค์ประกอบและการพัฒนาโครงการ รวมถึงเสนอความคิดเห็นต่อข้อกังวลที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการเปิดเวทีวันนี้จะมีการให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง ของ สปป.ลาว ภายหลังจากที่ สปป.ลาว ได้เสนอโครงการผ่านทางคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โดยสาระสำคัญจะเน้นชี้แจงความเป็นมาของโครงการฯ ระเบียบปฏิบัติ PNPCA ให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง สปป. ลาว รวมทั้งชี้แจงสรุปผลรายงานทบทวนทางด้านเทคนิคของโครงการฯ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูล การบรรยายสรุปความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศต่อร่างรายงานทบทวนทางด้านเทคนิคของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง สปป. ลาว (Technical Review Report: TRR) รวมทั้งรายงานผลการประชุมเวทีการให้ข้อมูลที่ผ่านมา ตลอดจนรับฟังข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน และส่งให้ สปป.ลาวได้รับทราบผ่านกลไก PNPCA

สำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบางนับเป็นโครงการลำดับที่ 5 ที่ สปป.ลาว มีแผนจะก่อสร้างบนแม่น้ำโขงสายประธาน ต่อจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี โครงการไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮง โครงการไฟฟ้าพลังน้ำปากแบงและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำปากลาย ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวเป็นประเด็นที่ภาคประชาชนและประชาสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงของไทยทั้ง 8 จังหวัด

ดังนั้น สทนช. ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (Thai National Mekong Committee: TNMC) ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานภายใต้กรอบความร่วมมือ MRC ได้กำหนดจัดเวทีให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง สปป. ลาว ภายในประเทศ 3 ครั้ง (ครั้งที่ 1 จังหวัดนครพนม ครั้งที่ 2 จังหวัดอำนาจเจริญ และครั้งสุดท้ายที่จังหวัดเลย) ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง เพื่อนำข้อมูลด้านเทคนิคเกี่ยวกับการก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางจากการประชุมกับ สปป.ลาว ในฐานะประเทศเจ้าของโครงการ และข้อคิดเห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดสู่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงรับฟังประเด็นข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบสะสมและข้ามพรมแดนของโครงการฯ ต่อพื้นที่ท้ายน้ำต่อคนในท้องถิ่น อาทิ ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม รวมถึงระบบนิเวศลำน้ำโขง ที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ นำไปสู่การกำหนดเป็นท่าทีประเทศไทยเสนอ สปป.ลาว พิจารณา ผ่านสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ตามลำดับ ทั้งนี้ สทนช. จะได้ติดตามและร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Action Plan) ของโครงการร่วมกับ 4 ประเทศ เพื่อให้การพัฒนาเขื่อนหลวงพระบางเกิดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำให้น้อยที่สุด อันก่อให้เกิดความร่วมมือในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมรองรับการพัฒนาโครงการฯ ต่อไป

สทนช.เปิดเวทีครั้งที่ 2 แจงข้อมูลการสร้างเขื่อนหลวงพระบาง เร่งรวบรวมข้อกังวลประชาชน 8 จว.ริมโขง เตรียมเสนอ สปป.ลาว สทนช.เปิดเวทีครั้งที่ 2 แจงข้อมูลการสร้างเขื่อนหลวงพระบาง เร่งรวบรวมข้อกังวลประชาชน 8 จว.ริมโขง เตรียมเสนอ สปป.ลาว สทนช.เปิดเวทีครั้งที่ 2 แจงข้อมูลการสร้างเขื่อนหลวงพระบาง เร่งรวบรวมข้อกังวลประชาชน 8 จว.ริมโขง เตรียมเสนอ สปป.ลาว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4