เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง’ สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย

อังคาร ๒๘ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๐:๐๒
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลาง มีแนวโน้มที่รุนแรง และแผ่วงกว้างกระทบพื้นที่เกือบทุกจังหวัด ซึ่งจังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7) ได้ทำการแปลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 (ข้อมูล ณ 19 มกราคม 2563) พบว่า จังหวัดชัยนาท พื้นที่ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมืองชัยนาท ตำบลกุดจอก อำเภอหนองมะโมงและตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี ส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ เป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง
เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย

จากการลงพื้นที่ของ สศท.7 เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เบื้องต้นพบว่า พืช ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง ได้รับผลกระทบทำให้ผลผลิตลดลง จึงมีการเตรียมข้อมูลและวางแผนด้านการเพาะปลูกให้กับเกษตรกรที่ประสบปัญหา ให้ลดการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำปริมาณมาก โดยเฉพาะข้าวนาปรัง และหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อาทิ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ข้าวโพดหวาน ซึ่งเป็นพืชที่ตลาดยังมีความต้องการต่อเนื่อง โดยสินค้าทางเลือกแต่ละชนิดมีต้นทุนและผลตอบแทน ดังนี้

- ถั่วลิสง ต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 5,430 บาท/ไร่ ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 75 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 356 กก./ไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 2,146 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคาที่ขายได้ ณ ไร่นา 21 บาท/กก.

- ถั่วเขียว ต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 2,283 บาท/ไร่ ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 75 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 123 กก./ไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 3,175 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคาที่ขายได้ ณ ไร่นา 44 บาท/กก.

- ข้าวโพดหวาน ต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 6,776 บาท/ไร่ ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 60-70 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,819 กก./ไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 4,138 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคาที่ขายได้ ณ ไร่นา 6 บาท/กก.

ด้านนายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการ สศท.7 กล่าวเสริมว่า สศท.7 ในฐานะหน่วยงานผู้แทนคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด ได้เสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร โดยให้เกษตรกรที่ประสบปัญหาในพื้นที่ ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงภัยแล้ง และยังได้มีการสำรวจพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภคและการเกษตร พร้อมทั้งรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชน ใช้น้ำอย่างประหยัด เก็บกักน้ำ และซ่อมแซมแหล่งน้ำ เพื่อให้สามารถเก็บน้ำใช้ได้อย่างเพียงพอตลอดฤดูการเพาะปลูก นอกจากนี้ เกษตรกรและประชาชนยังสามารถรับทราบข้อมูลสถานการณ์ พื้นที่แห้งแล้ง ได้ที่เว็บไซต์ http://drought.gistda.or.th เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจทำการเพาะปลูก หากแปลงเกษตรอยู่ในพื้นที่ภัยแล้งปีนี้ ควรจะเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยหรือพืชทนแล้งแทนได้ ทั้งนี้ ท่านที่สนใจรายละเอียดข้อมูลการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.7 โทร.05 640 5007-8 หรืออีเมล [email protected]

เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย เร่งมาตรการรับมือ 'ภัยแล้ง สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา