กนย. ตั้งคณะทำงานฯ ร่วมศึกษาแนวทางการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาคุณภาพ ขยายตลาด เพิ่มมูลค่า และรายได้อย่างยั่งยืน

พฤหัส ๓๐ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๔:๔๔
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) จัดการประชุมคณะทำงานศึกษาการทำสวนยางอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2563 เดินหน้าหาแนวทางให้เป็นรูปธรรม สอดรับกับแนวโน้มและความต้องการของตลาดโลก มุ่งพัฒนาคุณภาพยางพาราไทย ขยายตลาด เพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้ชาวสวนยาง ณ ห้องประชุมสถลสถานพิทักษ์ อาคาร 1 ชั้น 6 การยางแห่งประเทศไทย
กนย. ตั้งคณะทำงานฯ ร่วมศึกษาแนวทางการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาคุณภาพ ขยายตลาด เพิ่มมูลค่า และรายได้อย่างยั่งยืน

นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดยางพาราโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป การปลูกยางพาราจึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยังยืน เช่น การจัดการสวนยางให้เป็นไปตามมาตรฐาน FSCTM PEFCTM และ มอก. 14061 ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่ การปลูก ผลผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์จากยางพาราและไม้ยางพารา ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามระบบการรับรองมาตรฐานดังกล่าว หากไม่ดำเนินการอาจมีผลระทบต่อตลาดยางพาราและไม้ยางพาราไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2562 และที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานศึกษาการทำสวนยางอย่างยั่งยืน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยผู้แทน 3 ฝ่าย คือ หน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อหาข้อสรุปแนวทางที่จะสนับสนุนและดำเนินการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจยืนต้นอย่างยั่งยืนให้เป็นรูปธรรม ซึ่งคณะทำงานชุดดังกล่าว ได้มีการหารือร่วมกัน และตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อศึกษาในด้านต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 คณะ คือ คณะทำงานย่อยศึกษาแนวทางการรับรองมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน คณะทำงานย่อยเพื่อศึกษาและขับเคลื่อนการทำสวนยางอย่างยั่งยืน และคณะทำงานย่อยศึกษาการใช้สวนยางยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ โดยจะจัดประชุมและส่งข้อมูลเพื่อเสนอ กนย. พิจารณาในคราวประชุมครั้งถัดไป

นายขจรจักษณ์ กล่าวอีกว่า "การรับรองมาตรฐานการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามแบบ FSCTM PEFCTM และ มอก. 14061 จะสามารถพัฒนาคุณภาพ เพิ่มมูลค่าน้ำยางและไม้ยาง ขยายตลาดการจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ รวมไปถึงผลผลิตอื่น ๆ ในสวนยาง เช่น พืชแซมยาง พืชร่วมยาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางอีกทางหนึ่ง ผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากไม้ยางและผลผลิตยางพาราที่ได้การรับรองมาตรฐานไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป เป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป"

กนย. ตั้งคณะทำงานฯ ร่วมศึกษาแนวทางการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาคุณภาพ ขยายตลาด เพิ่มมูลค่า และรายได้อย่างยั่งยืน กนย. ตั้งคณะทำงานฯ ร่วมศึกษาแนวทางการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาคุณภาพ ขยายตลาด เพิ่มมูลค่า และรายได้อย่างยั่งยืน กนย. ตั้งคณะทำงานฯ ร่วมศึกษาแนวทางการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาคุณภาพ ขยายตลาด เพิ่มมูลค่า และรายได้อย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4