นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด ตอบโจทย์การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์

อังคาร ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๕:๒๙
นักวิจัย สกสว. พบเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีความจำเพาะในการป้องกันโรคใบจุดผักสลัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนาสูตรสำเร็จที่สะดวกต่อการใช้งานของเกษตรกร ตอบโจทย์การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์
นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด ตอบโจทย์การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์

โรคใบจุดของผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Curvularia areia และ Corynespora cassiicola เป็นปัญหาสำคัญในการปลูกผักสลัด เนื่องจากส่งผลให้ผลผลิต และคุณภาพของผักสลัดลดลง โดยเฉพาะในฤดูฝนซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกษตรกรส่วนจะปลูกผักสลัดเพื่อการค้าในรูปแบบนี้

นางสาวบุรฮานะฮ์ ใบยี นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากการสำรวจโรงเรือน หากเกิดการระบาดของโรคใบจุดในต้นกล้าผักสลัด จะมีอัตราตายถึง 100% แต่ถ้าโตกว่านั้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย 40-50% โดยที่ผ่านมาเกษตรกรจะใช้เชื้อรา Trichoderma sp. ในรูปแบบเชื้อสด ซึ่งกรมวิชาการเกษตรส่งเสริมให้ใช้เป็นเชื้อปฏิปักษ์ในการควบคุมโรค แต่เนื่องจากการใช้เชื้อสดมีข้อจำกัดหลายอย่าง ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมที่ยุ่งยาก การปนเปื้อนซึ่งจะทำให้เชื้อเกิดการด้อยประสิทธิภาพ และมีอายุการเก็บรักษาที่สั้น

เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบจุดของผักสลัด นางสาวบุรฮานะฮ์ ใบยี ได้ศึกษาวิจัย 'สูตรสำเร็จของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคของผักสลัดไฮโดรโปนิกส์สำหรับการค้า' โดยมี รศ.ดร.อนุรักษ์ สันป่าเป้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

นางสาวบุรฮานะฮ์ กล่าวว่า ในงานวิจัยมีการศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) 6 isolate ก่อนคัดเลือกมา 2 สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้กลไกการเป็นปฏิปักษ์ในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดในผักสลัดได้ดีที่สุด คือ Trichoderma asperellum T1 และ Trichoderma spirale T76-1

"เชื้อราไตรโคเดอร์มาทั้ง 2 สายพันธุ์ มีความจำเพาะในการป้องกันโรคใบจุดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฎิปักษ์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถใช้กลไกการแก่งแย่งแข่งขัน โดยเจริญได้เร็วกว่าเชื้อก่อโรคและเข้าครอบครองพื้นที่บนหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อได้เร็วกว่า ทำให้เชื้อก่อโรคถูกจำกัดพื้นที่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กลไกการทำลายชีวิต โดยการสร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อก่อโรค และสร้างสารระเหยที่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อรามายับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคใบจุดทั้ง 2 ชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นกลไกการป้องกันตนเองให้พืชโดยกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันตัวเองในต้นผักสลัดทำให้มีความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค ดังนั้นเราจึงเห็นศักยภาพของเชื้อราทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่เหมาะสมในการใช้ควบคุมโรคทางใบสำหรับพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์" นางสาวบุรฮานะฮ์ กล่าวเสริม

แต่ปัญหาที่เห็นจากการลงพื้นที่ทำวิจัย คือ เกษตรกรมีความยุ่งยากในการเตรียมเชื้อสดเพื่อใช้งาน นักวิจัยจึงมีการพัฒนาสูตรสำเร็จของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เพื่อสะดวกแก่การใช้งานของเกษตรกร

ใช้เทคโนโลยีการทำสูตรสำเร็จจากเชื้อสดในรูปแบบต่างๆ โดยใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่นแป้ง และน้ำมันพืช และนำไปผ่านกระบวนการต่างๆ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำในสภาวะปลอดเชื้อ

นางสาวบุรฮานะฮ์ กล่าวว่า "ทีมวิจัยมีการพัฒนาสูตรสำเร็จของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาทั้ง 2 ชนิด ทั้งแบบผง แกรนูล แกรนูลแคปซูล และสูตรของเหลวอิมัลชั่น ซึ่งเป็นสูตรที่เหมาะสมที่สุดและมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการนำไปใช้ เนื่องจากสปอร์ของเชื้อถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของน้ำมัน เมื่อนำไปผสมน้ำใช้เชื้อจะ Active ทำงานได้เลย นอกจากนี้ยังพบว่าสูตรสำเร็จชนิดนี้เมื่อนำไปพ่นในโรงเรือนไฮโดรโปนิกส์ จะไม่ก่อเกิดปัญหาหัวฉีดตัน"

จากการทดลองใช้จริงในโรงเรือนเปรียบเทียบกับเชื้อสดแล้ว พบว่าการลดดัชนีความรุนแรงของโรคมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน แต่จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในรูปแบบสูตรสำเร็จจะลดความยุ่งยากในการเตรียมของเกษตรกร รวมถึงระยะเวลาในการเก็บเชื้อให้มีประสิทธิภาพได้ยาวนานถึง 4-6 เดือน เมื่อเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิที่ 10 องศาเซลเซียส ซึ่งการใช้เชื้อสดจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 14 วันหลังจากเตรียมเชื้อ นอกจากนี้ยังใช้งานง่าย เพียงใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์สูตรสำเร็จ 30 กรัม หรือ 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร พ่นในโรงเรือนหรือแปลงปลูกเพียงเดือนละ 1 ครั้ง แต่หากโรงเรือนมีการติดเชื้อก็ทำการพ่น 2 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถ้าเป็นการใช้เชื้อสดเกษตรกรต้องมีการเตรียมเชื้อในปริมาณที่เยอะมาก จึงเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรได้อีกด้วย

นางสาวบุรฮานะฮ์ กล่าวว่า "หากเทียบกับเชื้อปฏิปักษ์สูตรสำเร็จตามท้องตลาด สูตรสำเร็จต้นแบบตัวนี้จะให้ประสิทธิภาพดีกว่า เนื่องจากมีความจำเพาะต่อโรคใบจุดสำหรับการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งสูตรสำเร็จนี้ก็สามารถนำไปปรับใช้เพื่อนำไปควบคุมโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรต้นแบบร่วมกับ บริษัท ไทย แอดวานซ์ อะกรี เทค จำกัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ให้แก่สูตรสำเร็จของเชื้อปฏิปักษ์ เพื่อให้สามารถตอบสนองการใช้งานของเกษตรกรได้อย่างสูงสุด"

งานวิจัยครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างองค์ความรู้ใหม่ และโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากการทำเชื้อสูตรสำเร็จของไตรโคเดอร์มายังไม่แพร่หลาย และยังเป็นการค้นพบเชื้อราไตรโคเดอร์ที่มีความจำเพาะในการป้องกันโรคใบจุดของผักสลัดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถลดความเสียหายของผักสลัด เป็นการควบคุมเชื้อโรคแบบชีววิถี

ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายของผู้บริโภค

นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด ตอบโจทย์การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์ นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด ตอบโจทย์การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์ นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด ตอบโจทย์การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ