สกสว."ช่างชาวนา"

พฤหัส ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๐๘:๕๗
กาลเวลาผ่าน กระดูกสันหลังของชาติก็ก้าวสู่วัยชรา เพราะขาดคนรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทน คำถามคือแล้วจะทำอย่างไรให้ผืนนาไทยผ่านวิกฤตินี้ไปได้ ให้คนเดิมที่มีความรักต่อท้องนายังสามารถทำนาต่อแม้ร่างกายจะเริ่มอ่อนแรง และให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจ นำความเชี่ยวชาญเท่าทันต่อยุคสมัยของพวกเขามาพัฒนาผืนนาไทยอย่างยั่งยืน
สกสว.ช่างชาวนา

ทองหล่อ ขวัญทอง นักวิจัยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เล่าถึงบทบาทของตนในการเป็นทั้งนักวิจัยและชาวนาแดนอีสานจังหวัดยโสธรว่า คน (ชาวนา) ที่นี่รวมตัวกันเป็นกลุ่มอย่างอิสระโดยไม่ได้ผ่านการจัดตั้งของรัฐ จึงมีความคิดค่อนข้างนอกกรอบคิดที่จะพึ่งพาตนเองให้ได้มาก มีอิสระในการผลิตเมล็ดพันธุ์และการปลูกข้าว พวกเขาต่างทำนากันด้วยความรักโดยไม่ได้สนใจกาลเวลา มารู้ตัวอีกทีก็อายุ 60 – 70 ปีเข้าไปแล้ว แม้จะอยากทำนาต่อเพื่อเติมเต็มชีวิตแต่ร่างกายก็เริ่มอ่อนแรง สิ่งที่ต้องคิดต่อจึงเป็นเรื่องว่าจะทำอย่างไรให้ผืนนาแห่งนี้อยู่ต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในโลกที่เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ซึ่งคำตอบที่หนีไม่พ้นก็คือการเผชิญหน้ากับปัญหา ปรับวิถีการทำนาให้สอดคล้องกับยุคสมัย เพื่อส่งต่อการทำงานนี้ไปสู่ลูกหลานคนรุ่นใหม่ ให้พวกเขาทำหน้าที่สืบทอดต่อด้วยความรัก ความหวงแหน และความภาคภูมิใจ

จากโจทย์คำว่า "การปรับวิถีการทำนาให้สอดคล้องกับยุคสมัย" นี้เอง จึงทำให้เกิดการระดมกลุ่มคนเพื่อสร้างสรรค์วิธีการทำนาที่ตอบโจทย์พื้นที่และแรงงาน ด้วยการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม "ช่างชาวนา" เพื่อยกระดับเครื่องมือการทำนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

"การเกิดขึ้นของกลุ่มช่างชาวนา เริ่มต้นจากการช่วยกันสืบย้อนว่า มีเครื่องมือการทำนาที่ผ่านการออกแบบให้สอดรับกับบริบทของพื้นที่อยู่ที่ใดบ้าง มาจากช่างฝีมือคนไหน แล้วจึงช่วยกันออกตระเวนหาช่างเหล่านั้น ช่างที่พร้อมจะเดินไปด้วยกัน และพร้อมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนได้พบกับช่างรายย่อยที่อยู่ใกล้ชิดกับคนในชุมชนต่าง ๆ ช่างที่รู้ว่าคนในชุมชนมีเครื่องจักรประเภทไหน

และรู้ว่าจะต่อเติมเพิ่มสมรรถนะให้กับเครื่องจักรที่มีอยู่เดิมอย่างไร เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริง"

เมื่อรวมตัวกันเป็นกลุ่มช่างชาวนาได้ 10 คน เครื่องมือแรกที่ถูกพัฒนามาจากโจทย์ปัญหาที่หนักหนาสุดของชาวนาอีสาน "ปัญหาหลักคือคนอีสานทำนาดำไม่ค่อยได้ เพราะฝนไม่ตกตามฤดูกาล

การจะทำนาหว่านก็ไม่เหมาะกับบริบทการทำเกษตรแบบอินทรีย์ของคนที่นี่ เพราะต้องใช้ยาในการฆ่าหญ้า ประกอบกับชาวนาในกลุ่มส่วนใหญ่ก็ทำในส่วนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะต้องใช้ความละเมียดละไมในการปลูกมากกว่าข้าวทั่วไป วิธีการทำนาที่จะตอบโจทย์ที่สุดจึงเป็นการทำ 'นาหยอด' ดังนั้นเครื่องมือแรกที่กลุ่มช่างสร้างสรรค์จึงเป็น 'เครื่องหยอดข้าว' ซึ่งได้เครื่องต้นแบบมาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วจึงนำมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ยโสธรซึ่งเป็นดินทราย หลังจากพัฒนาตัวต้นแบบ (Prototype) เสร็จ จึงได้นำไปให้กลุ่มเป้าหมายทดลองใช้งานจริงอีกหลายครั้ง เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง

แนวคิดของกลุ่มคือการสร้างอุปกรณ์การทำนาที่ตอบโจทย์พื้นที่และการเปลี่ยนแปลงไปของแรงงาน ทำอย่างไรจะทุ่นแรงให้ได้มากขึ้น ใช้แรงงานให้น้อยลง แทนการจ้างแรงงานมาทำนา และปรับผืนนาให้สอดรับกับเครื่องมือที่นายทุนผลิต ตอนนี้สามารถผลิตเครื่องหยอดข้าวต้นแบบที่เหมาะกับพื้นที่โจทย์ได้แล้ว ไม่เพียงหยอดข้าวได้ดี แต่ยังมีขนาดเครื่องยนต์เล็กเหมาะกับการทำงานในผืนนาขนาดย่อม และยังมีน้ำหนักที่เบาพอจะให้คนชราและคนรุ่นใหม่ทำนาได้ไม่ลำบากเหนื่อยยากเหมือนแต่เดิม นอกจากนั้นยังมีอีกเครื่องมือหนึ่งที่กลุ่มช่างได้พัฒนาควบคู่กันไป เพราะเป็นปัญหาใหญ่ของคนทำนาแบบปลอดสารในพื้นที่เช่นกัน คือ 'เครื่องกำจัดวัชพืช' ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาให้สมบูรณ์"

เครื่องมือที่ช่างชาวนาพัฒนาขึ้นไม่เพียงทุ่นแรง แต่ยังทำให้ผืนนาแห่งนี้มีมูลค่าสูงขึ้น จากการที่ชาวนาสามารถกำหนดชะตาชีวิตได้ด้วยตนเอง "แน่นอนสิ่งแรกที่เกิดขึ้นกับนาที่ใช้เครื่องมือของช่างชาวนา คือ 'ต้นทุนลดลง' เพราะเครื่องมือที่ผลิตขึ้นมีราคาเพียงหลักหมื่นต้น ๆ แตกต่างจากเครื่องมือที่ผลิตโดยบริษัทใหญ่ราคาหลักแสนหลักล้าน ประกอบกับการที่เครื่องยนต์มีกลไกการทำงานไม่ซับซ้อน จึงเหมาะกับการซื้อไปใช้ในทุกชุมชนหรืออาจไปถึงทุกครัวเรือน จะคนวัยไหนก็สามารถใช้งานได้สะดวก จึงลดต้นทุนแรงงานจากที่จะต้องจ้างคนมาช่วยทำนา ประเด็นที่สอง คือ 'กำหนดชะตาชีวิตได้ด้วยตัวเอง' เพราะการที่ต้องอาศัยแรงงานผู้อื่นในการทำนา บางครั้งอาจทำให้เวลาทำนาคลาดเคลื่อน ซึ่งแท้จริงแล้วหากพลาดไปจากเวลาที่เหมาะสมเพียงวันหรือสองวันบางครั้งก็เหมือนพลาดไปเป็นปี ชาวนาอีสานจึงต้องทันต่อช่วงการมาของน้ำและสภาพของดินที่เหมาะสม ประเด็นสุดท้ายคือการ 'ลดการสูญเสีย' เพราะการที่สามารถควบคุมคุณภาพในการปลูกได้มากขึ้น จึงใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์ลดลงกว่าครึ่ง และใช้เวลาในการทำนาลดลงด้วยเช่นกัน สามารถนำเวลาที่เหลือไปใช้ในการทำเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์หรือสร้างรายได้เพิ่ม ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนรายได้ก็ถือว่าเพิ่มขึ้นอีกกว่าครึ่งจากรายได้เดิม"

การสร้างสรรค์เครื่องมือของกลุ่มช่างชาวนา อยู่บนความหวังว่าจะทำให้คนรุ่นใหม่หันกลับมาสนใจผืนนาที่จะเป็นมรดกตกทอดไปสู่ตน "ก็หวังว่าเทคโนโลยีที่สะดวกสบายขึ้น สร้างรายได้มากขึ้น และมีความมั่นคงในการทำงาน เพราะมีตลาดอาหารปลอดสารพิษที่พร้อมรับสินค้าและให้ราคาที่ค่อนข้างดีโดยตลอดจะทำให้พวกเขาหันมาสนใจ รู้สึกหวงแหน และเกิดเป็นความรักต่อไป หวังว่าพวกเขาจะนำความรู้ความเชี่ยวชาญของคนรุ่นใหม่มาพัฒนาต่อยอดให้ผืนนาแห่งนี้งดงามและงอกเงยยิ่งขึ้น"

ก้าวต่อไปของกลุ่มช่างชาวนา ไม่เพียงจะมีการพัฒนาเครื่องมือจากความต้องการของผู้ใช้งานจริงให้มากขึ้น "กลุ่มช่างนากำลังเดินหน้าไปสู่การขยายวงกว้างในหลายมิติ ทั้งในการรวมตัวของกลุ่มช่างที่มากขึ้น การขยายขอบเขตองค์ความรู้เชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี เช่น อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และขยายการใช้งานเทคโนโลยีไปสู่วงกว้าง โดยการจัดตั้งพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ ผู้ที่สนใจสามารถทดลองใช้ได้ในพื้นที่เครือข่ายจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งจะขยายวงกว้างต่อไปในอนาคต"

สักวันผืนนาไทยอาจมีคนรุ่นใหม่มาเป็นผู้ขับเคลื่อนสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วยความรัก

สกสว.ช่างชาวนา สกสว.ช่างชาวนา สกสว.ช่างชาวนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๑๑ เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๖:๓๖ ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๖:๐๐ STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๖:๓๗ ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๖:๑๖ HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๖:๒๑ ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๕:๒๗ เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๕:๑๙ ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น