สจด. เปิดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ คว้ารางวัลงานวันนักประดิษฐ์ 2563

ศุกร์ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๖:๑๐
จบไปแล้วสำหรับการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2563 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ที่ปีนี้มีผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์จากนักเรียน นักศึกษา ทั้งในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา รวมถึงนักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ
สจด. เปิดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ คว้ารางวัลงานวันนักประดิษฐ์ 2563

ที่ร่วมส่งผลงานเป็นจำนวนมาก โดยในปีนี้โครงการ "Thailand New Gen Inventors Award 2020" (I-New Gen Award 2020) สร้าง "เยาวชนผู้เปลี่ยนอนาคต : Youth as Future Changer" เปิดรับผลงานทั้งในกลุ่มเกษตรและอาหาร กลุ่มสุขภาพและการแพทย์ กลุ่มพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ และกลุ่มการท่องเที่ยว ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ ระดับอุดมศึกษา กลุ่มการท่องเที่ยว พร้อมเงินรางวัล 70,000 บาท มาครองได้สำเร็จ จากผลงาน "ระบบแสงเล่าเรื่องสำหรับงานนิทรรศการ" (Story-Telling using Visible Light System for Exhibition) โดยนายกชพัฒน์ เล็กสาลี นายกฤตเมธ เหล่างาม และนายปกรณ์ อุตตโมบล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร.ปรีชา กอเจริญ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และดร.คทา จารุวงศ์รังสี นักวิจัยหน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)

สำหรับการทำงานของระบบแสงเล่าเรื่องสำหรับงานนิทรรศการ นักศึกษาเจ้าของผลงานอธิบายจุดเริ่มต้นและหลักการทำงานให้ฟังว่า การนำเสนอผลงานนิทรรศการที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วเป็นการนำเสนอข้อมูลผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด แผ่นป้ายปิดประกาศ หรือการนำเสนอแบบเสียงเล่าเรื่อง หากสังเกตจะพบว่าการจัดนิทรรศการจะมีแสงสว่างประกอบอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งแหล่งกำเนิดแสงนั้นมาจากหลอดไฟ LED จากการศึกษาพบว่าหลอดไฟ LED มีช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 375 nm - 780 nm โดยที่ดวงตามนุษย์ไม่สามารถจับการกระพริบได้

แต่จะเห็นเพียงแสงที่ส่องสว่างเท่านั้น ทางทีมงานจึงเล็งเห็นประโยชน์จากความถี่กระพริบดังกล่าวในการนำมาเป็นช่องทางการส่งสัญญาณข้อมูล หากมองในภาพรวม คือ หลอดไฟ LED สามารถให้ความสว่างและส่งสัญญาณได้ในเวลาเดียวกัน หลักการทำงานพื้นฐาน คือ การควบคุมให้แหล่งกำเนิดแสงทำการเปิดปิดตามจังหวะของข้อมูลดิจิทัลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ การใส่ชุดตัวเลขฐาน 2 128 บิต หรือที่เรียกว่า รหัส ลงในตัวส่งข้อมูลผ่านแสง เช่น ข้อมูลชุด A รหัสตัวเลขที่ใส่ลงในวงจรจะเป็น 0100...01000001 หรือ ข้อมูลชุด B รหัสตัวเลขที่ใส่ลงในวงจรจะเป็น 0100...01000010 เป็นต้น และตัวส่งข้อมูลมีหน้าที่แปลงรหัสตัวเลขเป็นการกระพริบของแสง ถัดมาคือตัวรับสัญญาณรหัส ส่วนแรกเป็นการสร้างแอพพลิเคชันเฉพาะและติดตั้งใน Smart Phone สำหรับใส่ข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ สามารถแบ่งเนื้อหาเป็นข้อมูลชุด A, B หรือ C ตามความต้องการ และเครื่องรับสัญญาณ (Dongle) ที่เสียบเข้ากับตัว Smart Phone ใช้ในการส่งรหัสสัญญาณที่รับไปยังแอพพลิเคชันเพื่อเข้าถึงข้อมูลในแอพพลิเคชันที่ติดตั้งไว้ เช่น ภาพ เสียง และวีดีโอ เป็นต้น เช่น เมื่อไปยืนบริเวณนิทรรศการที่สนใจ แสงไฟที่ส่องลงมาจากด้านบนจะส่งรหัสการเข้าถึงข้อมูลมายังตัวรับและตัวรับจะแปลงรหัสไปยังไฟล์ข้อมูลที่ตั้งค่ารหัสนั้น ๆ ไว้ โดยผลงานชิ้นนี้จัดทำตามมาตรฐาน CP-1223 ว่าด้วยการส่งรหัสระบุตัวตนหรือข้อมูลสำหรับอุปกรณ์ด้านมัลติมีเดียด้วยแสงที่มองเห็น ออกโดย Japan Electronics and Information Technology Industries Association ประเทศญี่ปุ่น นอกจากแสดงถึงความสร้างสรรค์และการใช้อุปกรณ์รอบตัวให้มีประโยชน์แล้ว ยังเป็นการสร้างความหลากหลายทางเทคโนโลยีในการนำเสนอผลงานนิทรรศการในอนาคตอีกด้วย

นอกจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากงานดังกล่าวแล้ว ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของอาจารย์ ยังสามารถคว้ารางวัลประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล 100,000 บาท จากผลงานเรื่อง "เครื่องตรวจวัดประสิทธิภาพมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบ 3 เฟส โดยไม่รบกวนการทำงานแบบพกพา" ภายใต้การทำงานร่วมกันของ รศ.ดร.ปรีชา กอเจริญ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผศ.เพชร นันทิวัฒนา อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีดิจิทัล สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และรศ.ดร.กีรติ ชยะกุลคีรี อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำหรับผลงานดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ประเมินการใช้พลังงานของมอเตอร์ในภาคอุตสาหกรรม ช่วยในการบอกประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์ หากตรวจพบว่ามอเตอร์มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำจะช่วยให้ทางโรงงานอุตสาหกรรมตัดสินใจเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ ส่งผลต่อการลดใช้พลังงานของภาคอุตสาหกรรมและภาพรวมของประเทศ คณะทีมงานได้อธิบายถึงชุดอุปกรณ์ตรวจวัดว่าเป็นเครื่องตรวจวัดการทำงานมอเตอร์ในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้งานได้จริงเครื่องแรกของประเทศไทย มีระบบอัลกอริทึมที่แตกต่างจากเครื่องมือตรวจวัดชั้นนำที่มีขายอยู่ในท้องตลาด และระบบซอฟแวร์ได้ดำเนินการจดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลักการทำงาน คือ นำเครื่องตรวจวัดไปติดตั้งกับมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสามเฟสขณะทำงานจริงเพื่อตรวจวัดค่าทางไฟฟ้า คือ ค่าแรงดัน ค่ากระแส กำลังไฟฟ้าจริงและความเร็วรอบมอเตอร์ จากนั้นค่าที่วัดได้จะถูกนำไปประมวลผลในโปรแกรม AI ที่พัฒนาขึ้น จะทำให้ทราบว่ามอเตอร์มีประสิทธิภาพการทำงานอยู่ในระดับใด ข้อดีของอุปกรณ์ชุดนี้คือช่วยในการตรวจวัดแบบพื้นฐานโดยไม่ต้องหยุดการทำงานมอเตอร์ ช่วยวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการเปลี่ยนมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้ อีกทั้งซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของมอเตอร์ลักษณะตามมาตรฐานได้ มีความแม่นยำมากพอและมีประโยชน์ต่อการจัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของมอเตอร์ในอนาคต

สจด. เปิดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ คว้ารางวัลงานวันนักประดิษฐ์ 2563 สจด. เปิดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ คว้ารางวัลงานวันนักประดิษฐ์ 2563 สจด. เปิดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ คว้ารางวัลงานวันนักประดิษฐ์ 2563

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?