ม.มหิดล วางยุทธศาสตร์มุ่งผลิตนวัตกรรมสุขภาพ พัฒนาระบบสุขภาพไทยในยุค 5G

อังคาร ๑๗ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๔๒
โลกในศตวรรษที่ 21 มีสิ่งที่ท้าทายในระบบสุขภาพมากมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบและความสูญเสียต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมหาศาล จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ

ในการพัฒนาระบบสุขภาพไทย โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ การแพทย์ เป็นความหวังที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพได้ตามความต้องการ และรวดเร็ว โดยพบว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เริ่มเข้ามามีบทบาทในระบบสาธารณสุขทั่วโลกมากขึ้น

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ได้รับเกียรติบรรยายในหัวข้อ "ระบบสุขภาพไทยในยุค 5G" ในการประชุมวิชาการครั้งที่ 27 เรื่อง "ความท้าทายการพยาบาลในศตวรรษที่ 21" จัดโดย สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ โดยกล่าวว่า “ระบบสุขภาพ” (Healthcare System) ทั่วโลกตอนนี้กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง (disruption) อย่างสิ้นเชิง ด้วยความก้าวหน้าทางดิจิทัลและเทคโนโลยี 5G ที่กำลังมา ทำให้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) มีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น แต่ก็ยังมีบางอย่างที่เทคโนโลยีทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นคนควรจะไปทำในสิ่งที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้ และลดบทบาทในส่วนที่หุ่นยนต์ทำได้ดีกว่า ในทางการแพทย์ก็เช่นเดียวกัน ระบบสุขภาพในยุค 5G ประเทศไทยต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งระบบงานและทรัพยากรบุคคล ในอนาคตคนไข้บางส่วนที่อาการไม่รุนแรงอาจไม่ต้องมาโรงพยาบาลก็ได้ หากเรามีระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีที่มีประสิทธิภาพมาคอยรองรับ ระบบสุขภาพก็จะเปลี่ยนไป ชีวิตคนจะมีคุณภาพดีขึ้นด้วย

“เทคโนโลยีทำให้คนมีความรู้ดีขึ้น เทคโนโลยีไม่ได้แค่ช่วยรักษาโรค แต่ช่วยป้องกันโรคได้ด้วย เพราะการที่คนมีความรู้ดีขึ้น มีที่ปรึกษาที่ดี ชีวิตก็จะมีความเสี่ยงน้อยลง ซึ่งที่ผ่านมายังพบว่าคนไทยยังมีความเข้าใจในระบบสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากขาดความรู้ ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราเป็นหวัด คนไทยก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นหวัดต้องกินยาแก้อักเสบ โดยมักเข้าใจกันผิดๆ ว่า “ยาแก้อักเสบ” หมายถึง “ยาฆ่าเชื้อ” ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นคนละเรื่องกันเลย โดยยาฆ่าเชื้อที่ว่านี้ส่วนใหญ่หมายถึง “ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” แต่เวลาที่เราเป็นหวัดส่วนใหญ่เป็น “เชื้อไวรัส” ซึ่งแปลว่า ยาที่เราซื้อมากินนอกจากไม่ช่วยอะไรแล้วยังสร้างความเสียหาย เพราะจะทำให้เราดื้อยาได้ในที่สุด หากเราใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้ประชาชนเข้าใจเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ก็จะช่วยลดความเสียหายโดยไม่จำเป็น” ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน กล่าว

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ยังได้กล่าวถึงบทบาทของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ว่าได้วางยุทธศาสตร์ที่เน้นในเรื่องการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีจุดแข็งทางด้านดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งคำว่า “สุขภาพ” ไม่ได้หมายถึง “การแพทย์” อย่างเดียว แต่อาจหมายถึง “การส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องสุขภาพที่ดี” และ “การป้องกันโรคที่ดี” ด้วย ตัวอย่างผลงานนวัตกรรมเด่นภายใต้การดูแลของ iNT ที่ผ่านมาได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารข้นหนืดสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการกลืนอาหาร และผู้สูงอายุ โดยพัฒนาให้มีรสชาติเลียนแบบของจริง ได้แก่ ข้าวเหนียวมะม่วง ต้มข่าไก่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนจากถั่วดาวอินคา ซึ่งมีโปรตีนสูงเท่าเนื้อสัตว์ และล่าสุด คือ “ถั่งเช่ามังสวิรัติ” ที่เลี้ยงด้วยวิธีธรรมชาติโดยไม่ใช้หนอน มีสารออกฤทธิ์ครบถ้วนและคุณภาพสูง ผู้ที่เป็นมังสวิรัติรับประทานได้ ซึ่งตอนนี้มีบริษัทเอกชนสนใจนำไปผลิตทั้งในและต่างประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นไป ได้แก่ วัคซีนไข้เลือดออก และ ชุดน้ำยาตรวจมะเร็งปากมดลูก ซึ่งทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพสูง และทำให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงการรักษามากขึ้น เนื่องจากคิดค้นได้เอง จึงมีต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างนวัตกรรมจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลที่สามารถไปสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) มีผลงานโดดเด่นที่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้อันดับ 1 ของประเทศไทยจากผลงานด้านนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญาสูงสุดจากการจัดอันดับโลกของ Scimago ประเทศสเปน ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมา รวมถึงเป็นมหาวิทยาลัยไทยแห่งเดียวที่ได้รับรางวัล Triple E Award 2020 Asia-Pacific จาก Accreditation Council for Entrepreneurial and Engaged Universities (ACEEU) ประเทศเนเธอร์แลนด์ จากการสนับสนุนงานด้านวิจัย นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และการส่งเสริมระบบผู้ประกอบการ โดยในปี 2562 มหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานการรับทำวิจัยและบริการวิชาการกว่า 300 โครงการ มีผลงานการยื่นจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร กว่า 60 เรื่อง ร่วมกับผลงานด้านทรัพย์สินปัญญาอื่นๆ จำนวนมาก มีกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการกว่า 20 โครงการ และมีความร่วมมือกับเอกชนหลายแห่งในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคมต่อไป

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหมนักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไปสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโทร.0-2849-6210

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4