องค์การสหประชาชาติ ระบุ แนวทางและแผนงานระดับโลกเป็นสิ่งจำเป็นในการต่อ สู้กับโควิด–19

พฤหัส ๒๖ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๑๗
นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส (Ant?nio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ประกาศแผนงานด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 ซึ่งจะดำเนินการในประเทศที่เปราะบางทั่วโลก เพื่อปกป้องประชากรหลายล้านคนจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และป้องกันไม่ให้ไวรัสนี้กระจายไปทั่วทั้งโลก โดยจะใช้เงินทุนราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 65,000 ล้านบาท)

ขณะนี้โรคโควิด–19 ได้คร่าชีวิตประชากรกว่า 16,000 คนทั่วโลก และมีรายงานผู้ติดเชื้อกว่า 400,000 ราย โดยไวรัสได้กระจายไปทั่วโลก และกำลังแพร่ไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งเผชิญวิกฤตด้านมนุษยธรรมอยู่ก่อนแล้ว อันเป็นผลมาจากการสู้รบภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

แผนงานด้านมนุษยธรรมครั้งนี้ จะดำเนินงานโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับนานาชาติ และกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นผู้ปฏิบัติงานหลัก ซึ่งบทบาทดังกล่าว ได้แก่

การจัดส่งเครื่องมือและอุปกรณ์จำเป็นสำหรับห้องแล็บเพื่อใช้ตรวจ หาเชื้อไวรัส

ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยการติดตั้งที่ล้างมือในค่ายผู้ลี้ภัยและศูนย์พักพิงชั่วคราวการรณรงค์ให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันตนเองและผู้อื่นจากไวรัส และการจัดตั้งศูนย์และเส้นทางส่งความช่วยเหลือทางอากาศ ทั่วทวีปแอฟริกา เอเชียและละตินอเมริกา เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่และสิ่งของจำเป็นไปยังพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า “โรคโควิด- 19 กำลังเป็นภัยคุกคามมวลมนุษยชาติ ฉะนั้นพวกเราทุกคนต้องร่วมกันต่อสู้กับภัยครั้งนี้ การรับมือของประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงลำพังนั้นไม่เพียงพอ เราต้องให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและเปราะบางที่สุด ซึ่งมีมากมายหลายล้านคนที่ไม่อาจปกป้องตนเองได้ นี่เป็นเรื่องมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานและเป็นสิ่งจำเป็นในการรับมือกับไวรัส และนี่คือเวลาที่เราต้องยื่นมือไปช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะเปราะบาง”

นายมาร์ค โลคอค รองเลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า “ขณะที่ประชากรในหลายประเทศที่ร่ำรวยที่สุดกำลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตอนนี้ไวรัสกำลังแพร่มาสู่พื้นที่ที่ประชากรอาศัยอยู่ในเขตที่มีการสู้รบ ผู้คนไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดหรือสบู่ได้โดยง่าย และไม่มีหวังที่จะมีแม้แต่เตียงสักเตียงที่จะรองรับหากพวกเขาเจ็บป่วยรุนแรง การทอดทิ้งให้ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ยากจนที่สุดและเปราะบางที่สุดเผชิญชะตากรรมนี้เป็นสิ่งที่เป็นโหดร้ายและเป็นวิธีที่ไม่ฉลาดนัก การปล่อยให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้แพร่กระจายอย่างอิสระในพื้นที่เหล่านี้จะทำให้ประชาชนหลายล้านคนตกอยู่ในความเสี่ยงทั่วภูมิภาคจะเกิดความโกลาหล และจะทำให้ไวรัสสามารถกลับมาแพร่ระบาดได้อีกทั่วทั้งโลก

การที่ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับประชากรของตนก่อนไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ความจริงที่เจ็บปวดก็คือ ประเทศต่างๆ จะไม่สามารถปกป้องประชากรของตนเองได้เลย หากไม่ช่วยเหลือประเทศที่ยากจนที่สุดให้สามารถปกป้องประชากรของพวกเขาอย่างเร่งด่วนในตอนนี้

ภารกิจสำคัญที่สุดของเรา ณ ตอนนี้ก็คือการช่วยให้ประเทศเหล่านั้นสามารถเตรียมพร้อมและให้ความช่วยเหลือประชากรหลายล้านคนที่กำลังพึ่งพาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากองค์การสหประชาชาติเพื่อมีชีวิตอยู่รอด การรับมือในระดับโลกด้วยเงินทุนที่เพียงพอจะช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ มีเครื่องมือในการต่อสู้กับไวรัส และสามารถช่วยชีวิตผู้คนและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกได้”

ดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซุส เลขาธิการใหญ่ องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “ไวรัสนี้กำลังแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ที่ระบบสาธารณสุขอ่อนแอ หลายประเทศกำลังเผชิญวิกฤตด้านมนุษยธรรมอยู่ก่อนแล้ว ประเทศเหล่านี้ต้องการการสนับสนุนจากเราอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อปกป้องเราทุกคนและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ในขณะเดียวกัน เราไม่ควรต่อสู้กับการแพร่ระบาดครั้งนี้โดยละเลยปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในภาวะวิกฤตเช่นกัน”

นางเฮนเรียตตา โฟร์ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การยูนิเซฟ กล่าวว่า “เด็กคือเหยื่อที่มองไม่เห็นของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ การกักตัวและการปิดโรงเรียนส่งผลกระทบต่อการศึกษา สภาพจิตใจ และการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานของเด็กๆ นอกจากนี้ เด็กๆ ทั้งชายเละหญิง ต่างมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการถูกแสวงประโยชน์และการถูกล่วงละเมิด ในขณะที่เด็กผู้อพยพและเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งอาจต้องเผชิญผลกระทบรุนแรงในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราต้องไม่ทำให้พวกเขาผิดหวัง”

เลขาธิการสหประชาชาติได้แถลงแผนงานด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 ครั้งนี้ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีนายมาร์ค โลคอค ดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซุส และนางเฮนเรียตตา โฟร์ ร่วมแถลงผ่านวิดีโอ ทั้งหมดเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันลดผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่เปราะบาง และยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสทั่วโลก ซึ่งทำได้โดยสนับสนุนแผนงานของสหประชาชาติครั้งนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับยังคงให้การสนับสนุนภารกิจด้านมนุษยธรรมด้านอื่น ๆ ของสหประชาชาติที่กำลังดำเนินอยู่สำหรับประชากรกว่า 100 ล้านคนต่อไป

องค์การสหประชาชาติยังเตือนด้วยว่า หากประเทศสมาชิกโยกย้ายเงินสนับสนุนจากภารกิจด้านมนุษยธรรมอื่นๆ อาจทำให้เกิดปัญหาใหม่ ๆ ตามมา เช่น การแพร่ระบาดของโรคท้องร่วง โรคหัด และไข้สันหลังอักเสบ หรือทำให้จำนวนเด็กที่ประสบภาวะขาดสารอาหารเพิ่มขึ้น หรือส่งผลให้ผู้ก่อความไม่สงบยึดครองพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะยิ่งทำให้การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รุนแรงขึ้น

ในการเริ่มดำเนินแผนงานของสหประชาชาติครั้งนี้ นายโลว์คอค ได้อนุมัติเงินทุนเพิ่มเติมจำนวน 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2 พันล้านบาท) จากกองทุนกลางฉุกเฉินของสหประชาชาติ UN’s Central Emergency Response Fund (CERF) ซึ่งทำให้ ณ ขณะนี้ การสนับสนุนจากกองทุน CERF เพื่อรับมือกับโควิด-19 มีจำนวนทั้งสิ้น 75 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.5 พันล้านบาท) นอกจากนี้ ยังมีเงินทุนจัดสรรจากกองทุนของประเทศต่าง ๆ อีก 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 98 ล้านบาท)

เงินทุนจาก CERF ครั้งนี้ ซึ่งเป็นก้อนใหญ่ที่สุดที่ CERF เคยจัดสรร จะนำไปสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สนับสนุนโครงการอาหารโลกจัดส่งสิ่งของจำเป็นและเจ้าหน้าที่; สนับสนุนองค์การอนามัยโลกยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค และสนับสนุนหน่วยงานสหประชาชาติอื่น ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและปกป้องผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ซึ่งรวมถึงเด็ก สตรี ผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นในประเทศ ทั้งในด้านอาหาร การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ น้ำและสุขอนามัย ตลอดจนโภชนาการและการปกป้องคุ้มครอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4