นศ.เทคนิคแม่สอด จ.ตาก เปิดตัวแอปพลิเคชันจิตดี ระบบช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หวังช่วยดูแลสังคมในภาวะตึงเครียดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

อังคาร ๓๑ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๕๐
ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก การเสพข่าวต่าง ๆ ส่งผลทำให้เกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะนำไปสู่ภาวะการเกิดโรคซึมเศร้าได้
นศ.เทคนิคแม่สอด จ.ตาก เปิดตัวแอปพลิเคชันจิตดี ระบบช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หวังช่วยดูแลสังคมในภาวะตึงเครียดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า แอปพลิเคชันจิตดี (Jiddee) ระบบช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์หรือบรรเทาสาธารณภัยของทีมนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแม่สอด จังหวัดตากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับจังหวัด (จังหวัดตาก) และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัล Honor Awards ระดับภาค (ภาคเหนือ) จากงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มุ่งมั่นในการพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนการสอนตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อเตรียมกำลังคนสู่ศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ได้คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้มีคุณภาพ ทันสมัย ได้มาตรฐาน สามารถนำไปใช้งานได้จริง ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในชุมชน สังคม และภาคอุตสาหกรรม

น้องเหน่ง หรือ นายศุภกิตติ์ วงศ์ทวิภูมิ นักศึกษาชั้นปวช. 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด จังหวัดตาก เล่าว่า ปัจจุบันโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่พบบ่อย ซึ่งจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและพบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเหตุการณ์เลวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ซึ่งสาเหตุของโรคซึมเศร้า เชื่อว่าสัมพันธ์กับหลายๆปัจจัย ทั้งจากพันธุกรรม หรือพื้นฐานดั้งเดิม มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า หรือ มีลักษณะนิสัยอ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบ รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การมีสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล ตลอดจนสภาพแวดล้อมตั้งแต่เด็กจนโต เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ อิทธิพลจากคนใกล้ชิดรอบข้าง เป็นต้น โดยโรคซึมเศร้า สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา และการรักษาทางจิตใจ เช่น การพูดคุยให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นได้จนสามารถทำงานและดำรงชีวิตได้อย่างปกติหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม

นายศุภกิตติ์ เล่าต่อไปว่า “แอปพลิเคชัน” หรือ “แอป” คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันการสนทนา สังคมออนไลน์หรือวีดีโอ ตนและเพื่อนๆ จึงเกิดแนวคิดสร้างระบบแอปพลิเคชันให้สามารถช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับระบบของโรงพยาบาลได้โดยตรง มีครูรุจน์ ปันแก้ว ครูแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นครูที่ปรึกษา เริ่มจากผู้ใช้งานต้องโหลดแอปพลิเคชัน Jiddeeจาก Google Play Store ผ่านระบบ Android จากนั้นลงทะเบียน และตอบแบบสอบถาม 2Q และ 9Q เพื่อประเมินภาวะอารมณ์เบื้องต้น หลังจากตอบแบบสอบถาม แอปจะประมวลผลว่าผู้ใช้งานมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับใด หากมีอาการของโรคระดับรุนแรง ทางแอปจะให้เข้าสู่ระบบรับบริการปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรับฟังข้อแนะนำหรือทำการบำบัด ซึ่งตัวแอป เปรียบเสมือนเป็นช่องทางการติดต่อให้ผู้ใช้และแพทย์ได้สอบถามข้อมูลของอาการป่วย โดยจะส่งรายละเอียดตามที่ผู้ใช้งานได้ส่งให้แพทย์ได้ทราบ และแพทย์จะตอบกลับมาเป็นข้อแนะนำ หรือช่องทางและวิธีการบำบัด รวมทั้งการนัดพบเพื่อรับการตรวจ ตลอดจนสามารถอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ กรณีติดตามตัวคนไข้ หากขาดการติดต่อเป็นระยะเวลานาน แอปพลิเคชัน Jiddee นี้จึงเป็นเหมือนกับสื่อกลางที่ช่วยให้ผู้ใช้และทีมแพทย์สามารถสื่อสารเรื่องอาการป่วยได้สะดวกมากขึ้น โดยส่วนสำคัญของการสร้างแอป คือ การใช้ภาษาโค้ดดิ้งหรือภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโค้ดโปรแกรมแอปพลิเคชัน มีการวางรูปแบบของความหมายและการดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ ไว้โดยการพิมพ์คำสั่งที่ถูกระบุไว้อย่างถูกต้อง โดยแอปพลิเคชัน Jiddee ระบบช่วยเหลือดูแล

ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า มีอยู่ 3 ระบบด้วยกัน คือ

ระบบผู้ใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือและผ่านเว็บไซด์ จะช่วยคัดกรองและประเมินความเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้า โดยผู้มีความเสี่ยงจะมีรหัสผู้ใช้งานในการเข้ารับฟังคำปรึกษาของบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงการนัดหมายและการปฏิบัติตัวเบื้องต้นระบบเจ้าหน้าที่ สามารถเข้าถึงคนไข้ที่อยู่ในระบบได้ทั้งการนัดหมาย ส่งข้อความ การจัดบุคลากรทางการแพทย์ให้ดูแลคนไข้ ตลอดจนเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ และระบบบุคลากรทางการแพทย์ สามารถใช้งานได้เหมือนกับเจ้าหน้าที่เกือบทุกอย่าง แต่ไม่สามารถเลือกคนไข้ได้ และสามารถดูข้อมูลส่วนตัวของคนไข้ที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงได้

ดังนั้น แอปพลิเคชันJiddee ระบบช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า จึงเป็นระบบที่สามารถใช้งานได้สะดวก เข้าถึงได้ทุกเพศ ทุกวัย และที่สำคัญเปรียบเสมือนเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวเพราะสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่และแพทย์ของโรงพยาบาลได้โดยตรง

โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ดังข้อความที่ปรากฎในคำประกาศของโรงพยาบาลแม่สอดซึ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและเสริมสร้างสุขภาพตามขั้นตอนและมาตรฐานโรงพยาบาล

ทั้งนี้ หากโรงพยาบาลใดสนใจติดตั้ง แอปพลิเคชัน Jiddee ระบบช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า สามารถติดต่อได้ที่โทร.082-881-7251 หรือโทร. 055-532-644 หรือที่วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด จังหวัดตาก

นศ.เทคนิคแม่สอด จ.ตาก เปิดตัวแอปพลิเคชันจิตดี ระบบช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หวังช่วยดูแลสังคมในภาวะตึงเครียดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 นศ.เทคนิคแม่สอด จ.ตาก เปิดตัวแอปพลิเคชันจิตดี ระบบช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หวังช่วยดูแลสังคมในภาวะตึงเครียดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 นศ.เทคนิคแม่สอด จ.ตาก เปิดตัวแอปพลิเคชันจิตดี ระบบช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หวังช่วยดูแลสังคมในภาวะตึงเครียดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4