แล้งก็อยู่ได้ ท่วมก็อยู่ได้ แนวทางบริหารจัดการน้ำเพื่ออนาคต

จันทร์ ๑๓ เมษายน ๒๐๒๐ ๐๘:๑๕
ปัจจุบัน “น้ำ” ของประเทศไทยเริ่มจะมีข้อจำกัด แผนการบริหารจัดการน้ำจึงต้องมองไปในอนาคต ทำอย่างไรให้ “แล้งก็อยู่ได้ ท่วมก็อยู่ได้”
แล้งก็อยู่ได้ ท่วมก็อยู่ได้ แนวทางบริหารจัดการน้ำเพื่ออนาคต

ในเชิงพื้นที่ ประเทศไทยมีพื้นที่ทำเกษตรกรรมเยอะ แต่ในเชิงเศรษฐกิจผลผลิตยังสร้างมูลค่าไม่ได้มากนัก (โดยเฉพาะข้าวที่เราปลูกกันมากแต่ปัจจุบันก็มีคู่แข่งมากเช่นกัน)

โดยประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 321 ล้านไร่ หรือประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่สำหรับการเกษตรประมาณ 43% หรือราว 138 ล้านไร่ และรายได้ของภาคเกษตรคิดเป็นราว 10% ของ GDP

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานการบริหารงานจัดการน้ำ ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า

แน่นอนว่า การทำเกษตรกรรมต้องมีน้ำใช้และใช้น้ำเป็นปัจจัยหลัก หากจะมองยาวไปถึงอนาคต มีอะไรบ้างที่ควรตระหนักและจะมีระบบการบริหารจัดการน้ำให้ “แล้งก็อยู่ได้” “ท่วมก็อยู่ได้” ได้อย่างไร โดยมีประเด็นที่ควรพิจารณา 3 ประการ

ประการแรก จะทำอย่างไร เมื่อ “น้ำ” มีจำกัดและไม่แน่นอนอีกต่อไป (ผลจาก Climate Change)

ปัจจุบัน “น้ำ” ของประเทศไทยเริ่มจะมีข้อจำกัด จากความรุนแรงของ Climate Change การแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นแนวโน้มของการใช้น้ำอาจต้องมาดูแลมากขึ้นกว่าในอดีตเราต้องปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติใหม่ที่มา

การมีเครื่องมือที่ทันสมัย IOT-เทคโนโลยีอัจฉริยะ ระบบเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้เพื่อวัดระดับน้ำและติดตามน้ำในลำคลอง(คลองส่งน้ำชลประทาน) ที่จะช่วยให้การเปิด-ปิดประตูน้ำหรือการบริหารจัดการน้ำให้กับภาคเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการนำไปใช้ในแปลงเกษตรจะทำให้เกษตรกรรู้สภาพความชื้นในดินและจัดการให้น้ำพืชได้เพียงพอ ไม่มากไป ไม่น้อยไป

เมื่อมีการติดเครื่องมือที่ทันสมัยจะทำให้การใช้น้ำตรงตามความต้องการมากขึ้นและลดการสูญเสียน้ำจากการปล่อยน้ำแบบเดิมที่มีน้ำส่วนหนึ่งถูกทิ้งหรือรั่วไหลระหว่างทางลดลง ขณะนี้กำลังมีการศึกษาและทดลองทำในพื้นที่ คบ.ท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร และทำควบคู่ไปกับภาคเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่มาช่วยกันทำและสร้างการบริหารจัดการอย่างมีธรรมมาภิบาล เมื่อสำเร็จจะเป็นตัวอย่างไปทำกับโครงการชลประทานอื่นต่อไป

เทคโนโลยีทันสมัย ช่วยเจ้าหน้าที่ชลประทานระบายน้ำจัดสรรน้ำได้ตรงจุด ตามปริมาณที่ต้องการ และไม่รั่วไหล ทำให้สามารถบริหารน้ำได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นในส่วนของคลองหลัก ส่วนคลองซอยก็มีกลุ่มผู้ใช้น้ำคอยดูแลเทคโนโลยีทันสมัย ช่วยเกษตรกรประเมินความต้องการน้ำของพืชที่ปลูก ประหยัด และพอเพียง และเพิ่มทางเลือกการทำเกษตรบนต้นทุนน้ำที่เป็นจริง ทั้งพึ่งตนเองและพึ่งพิงระบบชลประทาน เห็นความเชื่อมโยงการใช้น้ำตลอดสายและแบ่งปัน จากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

เทรนด์ของการทำเกษตรยุค 4.0 เป็นการทำเกษตรที่ค่อนข้างใช้น้ำน้อยแต่พืชได้น้ำเพียงพอและให้ผลผลิตที่ดี จากการใช้เทคโนโลยี มีเครื่องมือควบคุมการให้น้ำพืชมาช่วย การที่เกษตรกรรู้ข้อมูลความต้องการน้ำของพืชที่ปลูกก็จะทำให้ไม่ต้องใช้น้ำเกินจริงซึ่งนอกจากไม่มีประโยชน์กับพืชแล้ว ยังถือเป็นการสูญเปล่า

ประการที่สอง เป้าหมายการใช้น้ำของประเทศไทยโดยรวม มี 3 เรื่องหลัก คือ

ทำอย่างไรจะให้ใช้น้ำได้อย่างพอเพียง ซึ่ง คำว่า พอเพียง ในที่นี้หมายถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดทำอย่างไรจะเพิ่มมูลค่าจากการใช้น้ำให้มากขึ้น ประเทศไทยใช้น้ำต่อลูกบาศก์เมตร สร้างรายได้เกือบจะลำดับที่ 28 ของอาเซียน เราชนะลาวกับเขมรเท่านั้น ที่อื่นเขาใช้น้ำ 1 คิว ทำเงินได้มากกว่าเรา 10 เท่า

ในอนาคตเราจึงต้องสู้ด้วยเกษตรทันสมัย อย่างเช่น ในกรณีข้าว คาดว่าอีกไม่นานประเทศพม่าหรือเมียนมาจะส่งออกข้าวแข่งกับไทย ส่วนเวียดนามจะเลิกปลูกข้าวแข่ง แต่จะหันไปทำอย่างอื่นที่สร้างมูลค่าจากการใช้น้ำได้มากกว่า เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เพราะน้ำ 1 คิวหรือ ลบ.ม.เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งได้มูลค่ามากกว่าข้าว

ฉะนั้นเกษตรกรต้องปรับตัวและเน้นการพึ่งตนเองไว้ก่อน เช่น การมีแหล่งน้ำของตนเองสำรองไว้ส่วนหนึ่ง แล้วใช้น้ำจากระบบชลประทานเป็นส่วนเสริม การทำเช่นนี้ยังช่วยให้ระบบชลประทานได้กระจาย/แบ่งปันน้ำได้อย่างทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ไม่กระจุกตัวในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง ความขัดแย้งลดลง

สิ่งที่เกษตรกร/กลุ่มผู้ใช้น้ำควรรู้คือ แนวทางการจัดสรรน้ำในอนาคต จะไม่ได้มองแค่จะจัดสรรน้ำเท่าไร่ แต่จะมองด้วยว่าสร้างมูลค่าให้กับพื้นที่ ตำบล/จังหวัดมากขึ้นเท่าไหร่ การจัดสรรน้ำไม่ได้หมายความว่ามีพื้นที่เยอะจะแล้วจะได้น้ำเยอะ แต่สิ่งที่จะนำมาพิจารณาประกอบคือน้ำที่จัดสรรไปนั้นสร้างมูลค่าให้กับพื้นที่ได้มากน้อยแค่ไหน นี่ก็เป็นมุมมองอนาคตว่าจะเป็นไปในแนวทางนี้

สิ่งที่เป็นพื้นฐาน คือ ข้อมูล จากทั้งส่วนกลางและพื้นที่ ซึ่งข้อมูลที่เชื่อมประสานกันจะมีผลต่อการจัดสรรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง และที่สำคัญน้ำที่จัดสรรไปนั้นสร้างรายได้(มีมูลค่าเพิ่มขึ้น) และประการสำคัญทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วม กลไกแบบนี้ทั้งน้ำและผลผลิตมันจะโยงไปโยงมาเพื่อจะให้ความอยู่รอดของตัวตำบลและความก้าวหน้าก็จะพัฒนามากขึ้น แต่ละตำบลอาจจะมีรูปแบบแตกต่างกัน เมื่อเกิดระบบที่ดี ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ “ไม่ต้องวิ่งเต้นผู้มีอำนาจในพื้นที่เพื่อให้ได้น้ำอีกต่อไป”

นี่คือสิ่งที่กำลังมีการศึกษาทดลองจริงเพื่อให้เกิดระบบจัดการน้ำที่ช่วยให้ “แล้งก็อยู่ได้ ท่วมก็อยู่ได้” เป็นสิ่งที่ในแง่ของตำบลจะแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาต่าง ๆ ต้องทำอะไรบ้าง ต้องมีประตูน้ำ ต้องมีบึง แล้วค่อยเสนอข้อมูลขอจากภาครัฐ

ประการที่สาม ทำอย่างไรจะมีงบพัฒนาจังหวัด และมีระบบควบคุมการใช้งบประมาณที่ดี ซึ่งต้องตั้งต้นด้วยการมีข้อมูลจริงก่อน

สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลเตรียมทำคือ เรื่องงบพัฒนาจังหวัด แต่เดิมระบบควบคุมการใช้งบประมาณยังไม่ดี มีการใช้ถูกทางบ้างไม่ถูกทางบ้าง แต่จากนี้ไปก็จะทำระบบงบประมาณจังหวัด ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ข้อมูลจากพื้นที่ระดับตำบลสามารถส่งตรงสู่ระดับได้เลย โดยการคีย์ข้อมูลคำขอในระบบได้เลย ซึ่งต่อไปการจัดสรรงบประมาณผ่านจังหวัดมากขึ้น ตั้งต้นด้วยการมีข้อมูลจริงก่อน ถ้าเสนอเข้าไปแล้วมีข้อมูลชัดเจนอธิบายได้ก็จะได้รับอนุมัติได้ไว แต่ถ้าไม่ได้เขาก็จะเอาไปให้กับที่อื่นที่ชัดเจนกว่า เป็นต้นทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่จะแสดงให้เห็นว่า ถ้าทำให้ตรงไปตรงมาก็จะทำให้รู้ว่าบ้านเราจะพัฒนาต่อไปยังไง

แล้งก็อยู่ได้ ท่วมก็อยู่ได้ แนวทางบริหารจัดการน้ำเพื่ออนาคต แล้งก็อยู่ได้ ท่วมก็อยู่ได้ แนวทางบริหารจัดการน้ำเพื่ออนาคต แล้งก็อยู่ได้ ท่วมก็อยู่ได้ แนวทางบริหารจัดการน้ำเพื่ออนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?