สอวช. เปิดแพ็กเกจฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤตโควิด ผุดโครงการเร่งด่วน ช่วยคนตกงาน ชุมชน เอสเอ็มอี และนักเรียน

ศุกร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๒๐ ๐๙:๒๕
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เสนอร่างแพ็กเกจฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ต่อผู้ทรงคุณวุฒิระดับแนวหน้าของประเทศไทย ผ่านระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ประจำสัปดาห์ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 เพื่อร่วมให้ความเห็นข้อเสนอแพ็กเกจฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
สอวช. เปิดแพ็กเกจฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤตโควิด ผุดโครงการเร่งด่วน ช่วยคนตกงาน ชุมชน เอสเอ็มอี และนักเรียน

ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิทุกสัปดาห์เพื่อเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูประเทศหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด 19 สอวช. ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ จัดทำร่างแพ็กเกจฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยมุ่งฟื้นฟู 4 เรื่อง คือ 1. ยกระดับทักษะผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิดเพื่อกลับสู่ตลาดงานหรือประกอบอาชีพใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คนตกงานและนักศึกษาจบใหม่ที่ไม่สามารถหางานได้ 2. ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ: สร้าง Growth Poles หรือเสาหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจฐานราก โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ชุมชน แรงงาน และบุคลากรที่กลับชนบท 3. ฟื้นฟูและปรับโครงการเอสเอ็มอีสู่ธุรกิจที่มุ่งเน้นนวัตกรรมหรือ ไอดีอี โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ธุรกิจเอสเอ็มอี 4. ปรับระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนรองรับการเปิดเรียนหลังโควิด โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนระดับอนุบาล - มัธยมศึกษา

ทั้งนี้ ดร.กิติพงค์ ได้กล่าวถึงรายละเอียดในแต่ละเรื่องว่า การยกระดับทักษะผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ โควิดเพื่อกลับสู่ตลาดงานหรือประกอบอาชีพใหม่นั้น จากข้อมูลการรายงานของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. พบว่า เกิดการว่างงานของแรงงานจากการปิดกิจการชั่วคราว 7.13 ล้านคน และแรงงานจำนวนมากย้ายถิ่นกลับชนบท วิกฤตครั้งนี้ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการพัฒนาทักษะในบางสาขาเพิ่มเติม เช่น การพัฒนาแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวดิจิทัล เป็นต้น นอกจากนี้ ในประเด็นของนักศึกษาที่ใกล้สำเร็จการศึกษายังมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่มีงานทำ สอวช. จึงมีแนวคิดในการทำโครงการเพื่อยกระดับทักษะผู้ที่รับผลกระทบเพื่อให้สามารถกลับมาสู่ตลาดงานหรือประกอบอาชีพใหม่ได้ โดยการเสนิมสร้างและพัฒนาทักษะ (Reskill – Upskill) ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ เพื่อลดการว่างงาน และเพิ่มทักษะใหม่ให้บุคลากรเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างธุรกิจที่ใช้ความรู้และวิทยาการใหม่ โดยเสนอภาครรัฐ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม รวมถึงอุดหนุนการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ ผ่านการสนับสนุนค่าเงินเดือนบางส่วนร่วมกับภาคเอกชน

ส่วนโครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ: สร้างเสาหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ Growth Poles ด้วยนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจฐานราก นั้น เพื่อรองรับแรงงานจำนวนมากเดินทางกลับชนบทโดยที่ยังไม่มีงานรองรับ โดยโครงการดังกล่าวเน้นสร้างงานในชนบท ผ่านการใช้โมเดลสร้างผลิตภาพของชุมชนที่มีความสนิทสนม โดยมีนวัตกรรมการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ระบบริหารแบบสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือรูปแบบอื่นๆ ที่ชุมชนเป็นเจ้าของหรือมีหุ้นส่วนในกิจการ และมีการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน

โครงการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างเอสเอ็มอีสู่ธุรกิจฐานนวัตกรรม โดยต่อยอดแนวคิดกองทุนนวัตกรรมเดิม คือมีการตั้งกองทุนนวัตกรรม โดยให้บริษัทขนาดใหญ่ร่วมกันบริจาคเข้ากองทุนเพื่อใช้ส่งเสริมให้เอสเอ็มอีทำนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยผู้บริจาค สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายทางภาษีนิติบุคคลได้ และรัฐมีบทบาทในการร่วมสมทบเงินเข้ากองทุน โครงการนี้จะทำให้โจทย์ความต้องการได้รับการแก้ไขปัญหาโดยเอสเอ็มอีร่วมกับมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัย

ส่วนโครงการปรับระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนรองรับการเปิดเรียนหลังโควิด และTransformation นั้น มีประเด็นที่ต้องเร่งพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ให้เป็นแบบผสมผสาน รวมถึงต้องเร่งพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านหลักสูตรแบบผสมผสาน พัฒนาการด้านการปฏิสัมพันธ์กับสังคมของเด็ก คือ เรียนรู้จากการไปโรงเรียน พบปะเพื่อนร่วมชั้นเรียน การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของครูผู้สอนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา และพัฒนาระบบและการสื่อการสอนแบบออนไลน์ สำหรับระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา รวมถึงการจัดเตรียมมาตรการในการเปิดสถานศึกษาหลังการระบาดด้วย

ภายหลังจากการนำเสนอ ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลายโดยเฉพาะโครงการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างเอสเอ็มอีเข้าสู่ธุรกิจฐานนวัตกรรมที่ใช้โมเดลกองทุนนวัตกรรมมาต่อยอด นั้น ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนเห็นว่าประเด็นสำคัญคือการบริหารจัดการกองทุนที่ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว คล่องตัว มีความยืดหยุ่น และไม่ติดเงื่อนไขด้านเวลาในการดำเนินงาน ซึ่งการให้ภาคเอกชนมาเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักโดยมีภาครัฐทำหน้าที่คอยสนับสนุนจะคล่องตัวและเห็นผลได้เร็วกว่า ส่วนการยกระดับทักษะผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิดเพื่อกลับสู่ตลาดงานหรือประกอบอาชีพใหม่ ที่ประชุมเสนอให้ตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมวิเคราะห์หาหลักสูตรที่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแท้จริง รวมถึงลงรายละเอียดระยะเวลาการอบรม และช่องทางการเข้าถึงที่เหมาะสม โดยคณะทำงานที่เร่งให้ตั้งขึ้นนี้จะต้องรีบจัดทำโรดแมปเพื่อหาทักษะใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาดและเหมาะกับประเทศไทย

ส่วนธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอแอพลิเคชั่นที่มีดำเนินการสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและมีเครือข่ายอยู่แล้ว สามารถนำโครงการที่ สอวช. คิดขึ้น อาทิ โปรแกรมการท่องเที่ยวเสมือนจริง ไปเพิ่มลงในแอพลิเคชั่นได้ ส่วนในประเด็นการสร้างอาชีพในชุมชน สำหรับแรงงานที่กลับชนบท ที่ประชุมสะท้อนให้เห็นว่า คนในชุมชนไม่สามารถลงทุนได้เพียงลำพัง ต้องอาศัยการรวมกลุ่ม ต้องอาศัยภาคเอกชนและภาครัฐที่มีหน่วยงานที่กระจายอยู่แต่ละพื้นที่มาสร้างพลังและให้องค์ความรู้กับชุมชน และสิ่งสำคัญคือสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นต้องดูความช่วยเหลือให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ด้วย อย่างไรก็ตาม สอวช. จะรับข้อเสนอไปพัฒนาร่างแพ็คเกจ รวมถึงลงรายละเอียดการออกแบบกลไกแต่ละโครงการให้ชัดเจนมากขื้น เพื่อเสนอต่อรัฐบาลผ่านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้