สั่ง Delivery อย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

พฤหัส ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๓๐
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ทำให้คนส่วนใหญ่มีการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลายหน่วยงานมีนโยบายให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ร้านอาหารแบบนั่งทานที่ร้านปิดให้บริการและเปลี่ยนเป็นการซื้อกลับบ้านหรือสั่ง Delivery แทน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสั่ง Delivery ให้ปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อไวรัส ตั้งแต่ร้านอาหาร คนขนส่งอาหาร ไปจนถึงการดูแลเรื่องความสะอาดของตัวเราเองในฐานะผู้สั่งซื้ออาหาร เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติอย่างถูกวิธี ดังนี้
สั่ง Delivery อย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

ร้านอาหาร Delivery

เลือกร้านที่รักษาความสะอาดของสถานที่ และอุปกรณ์ประกอบอาหาร

อาหารของร้านจะต้องปรุงให้สุก เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส

มีการจัดภาชนะบรรจุอาหารให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท ปิดฝามิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง

ติดฉลากระบุ วันผลิต วันหมดอายุ และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร

ร้านอาหารมีการจัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหารที่เข้ามาใช้บริการ โดยจัดระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม

คนขนส่งอาหาร Delivery

ผู้ขนส่งอาหารควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการไอ จาม ปนเปื้อนอาหาร และเป็นการป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ

ผู้ขนส่งอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนเข้าร้านอาหาร หลังการส่งอาหาร และหลังจับเงิน

ไม่รับอาหารจากคนขนส่งอาหารที่มีอาการป่วย เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ

ระบุจุดรับ-ส่งอาหาร โดยทิ้งระยะห่างระหว่างคนขนส่งอาหารอย่างน้อย 1 เมตร

ผู้สั่งซื้ออาหาร Delivery

หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย อาหารที่ทำโดยวิธีใช้มือสัมผัสมาก เป็นต้น

สวมหน้ากากอนามัยระหว่างการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร

หลังจากรับอาหารจากคนขนส่งอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที

ตรวจสอบคุณภาพอาหารและภาชนะบรรจุให้อยู่ในสภาพปกติ

เลือกวิธีชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับเงิน

นอกจากนี้ รศ.ดร. ขนิษฐา ธนานุวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้แนะนำวิธีเลือกรับประทานอาหารในช่วงที่ต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภท Delivery ว่า เราควรเลือกบริโภคอาหารให้หลากหลาย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอาหารที่ทานในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน ควรเพิ่มเมนูผักเข้าไป ซึ่งบางท่านไม่ชอบทานผักก็อาจจะเริ่มต้นวันละนิด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเมนูผัดผัก แต่เป็นเมนูปกติที่ใส่ผักเข้าไปเพิ่ม หรือเปลี่ยนมาเป็นผักที่เตรียมเองจากที่บ้านจะสะอาดกว่า ส่วนอาหารจำพวก ปิ้ง ย่าง ทอด ควรทานให้น้อยลง เนื่องจากอาหารทอดมีไขมันค่อนข้างสูง อาหารปิ้งย่างมีสารก่อมะเร็ง ควรเปลี่ยนเป็นอาหารประเภทผัดหรือต้มแทน

“Work from Home อาจทำให้เครียด หลายคนมีการรับประทานมากขึ้นเพื่อลดความเครียด เราควรเปลี่ยนเป็นการทานผลไม้ น้ำผลไม้ แทนขนมขบเคี้ยว และพยายามควบคุมการปริมาณการทาน เช่น คนส่วนใหญ่เปิดถุงขนมแล้วก็จะทานจนหมดถุง วิธีแก้คือ ให้เทขนมใส่ภาชนะ ถ้วย หรือชามเล็กๆ แทนที่จะทานในถุง เราจะได้จำกัดว่าหมดชามนี้แล้วให้พอ” รศ.ดร. ขนิษฐา กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital