วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ เทิร์น “วิจัยเปเปอร์” สู่ “นวัตกรรมใช้ได้จริง” พร้อมชี้วิจัยยุคใหม่ ต้อง “ตรงความต้องการประเทศ - พร้อมแก้ปัญหาสังคม”

อังคาร ๒๖ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๑๘
#TSE #Thammasat #TU #วิศวะธรรมศาสตร์ #วิศวะเพื่อสังคม #แก้ปัญหางานวิจัยไทย #JCCOTH
วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ เทิร์น วิจัยเปเปอร์ สู่ นวัตกรรมใช้ได้จริง พร้อมชี้วิจัยยุคใหม่ ต้อง ตรงความต้องการประเทศ - พร้อมแก้ปัญหาสังคม

นักวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ปักธงแก้ปัญหางานวิจัยไทย ดัน “งานวิจัยเปเปอร์” สู่ “นวัตกรรมเพื่อสังคม” และ “นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ” ที่ได้รับการผลิตและพร้อมปรับใช้ในทุกบริบทสังคม ตอกย้ำนโยบายคณะ มุ่งผลักดันงานวิจัยเกิดขึ้นจริงเป็นรูปธรรม สอดรับความต้องการสังคมและอุตสาหกรรม อาทิ 'Space Walker’ อุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน สู่ธุรกิจสตาร์ทอัพสร้างรายได้แก่นักศึกษาเจ้าของผลงาน หรือ 'Tham-Robot’ หุ่นยนต์จัดส่งเวชภัณฑ์ ลดเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วยใน รพ. ธรรมศาสตร์ฯ เล็งเสนอแนะนักวิจัยไทยเร่งผลิตวิจัยยุคใหม่ ขานรับยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยการ “วิจัยตรงความต้องการประเทศ - วิจัยทันกระแส พร้อมแก้ปัญหาสังคม”

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า ปัจจุบันนักวิจัยไทย ยังเผชิญปัญหาการทำวิจัยอย่างครบวงจร ด้วยข้อจำกัดด้านกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ในการผลักดัน “งานวิจัยหรือนวัตกรรมต้นแบบ” (Prototype) สู่ “นวัตกรรมเพื่อสังคม” และ “นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ” ที่ได้รับการผลิตและพร้อมปรับใช้ในบริบทต่าง ๆ ของสังคม โดยที่ TSE มีนโยบายในการผลักดันงานวิจัย (Full Paper) ให้เกิดขึ้นจริงเป็นรูปธรรม ตลอดจนสอดรับความต้องการสังคมและภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากในภาวะวิกฤตโควิด-19 (COVID-19) นักวิจัย TSE ได้มีส่วนร่วมในการผลิตนวัตกรรมใหม่ สนับสนุนการทำงานปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ไทย อาทิ

'Tham-Robot’ หุ่นยนต์จัดส่งเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วย ภายในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ 'Tham - UV Clean’ ตู้ฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยใน 5 นาที ใช้ซ้ำสูงสุด 10 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับสภาพหน้ากาก) รับสถานการณ์หน้ากากอนามัยขาดแคลน และล่าสุด โครงการวิจัยของคณาจารย์ TSE เรื่อง 'นวัตกรรมการออกแบบระบบห้องและการปรับอากาศความดันลบสำหรับการกักตัวผู้ติดเชื้อ COVID-19 และโมเดลคอมพิวเตอร์ที่สามารถจำลองการเคลื่อนที่ของละอองฝอย’ (Droplets) ยังได้ทุนสนับสนุนการวิจัย จากงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ว่าด้วยแนวคิดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา COVID-19 ที่เพิ่งประกาศล่าสุด บ่งชี้ถึงศักยภาพในการทำวิจัยและนวัตกรรมของ TSE

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา TSE จึงมีนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับกระแสตอบรับเชิงบวกจำนวนมาก อาทิ 'Space Walker’ อุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เป็นใบเบิกทางสำคัญสู่ธุรกิจสตาร์ทอัพและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ที่สร้างรายได้แก่นักศึกษาเจ้าของผลงาน นายวรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาตรีและโท ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล 'นวัตกรรมอาหารแช่แข็งอบร้อนไมโครเวฟ’ ที่ได้ขยายผลงานวิจัยจาก เปเปอร์สู่เชิงพาณิชย์ในร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ ผลงานวิจัยโดย ศ. ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช และคณะ ฯลฯ

อย่างไรก็ดี งานวิจัย ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยค้นหาข้อเท็จจริง ช่วยสร้างความเชื่อมั่น เพื่อตอกย้ำแนวคิดหรือหักล้างความเชื่อดั้งเดิม อันก่อให้เกิดวิทยาการหรือเทคโนโลยีใหม่เพิ่มขึ้น ที่นำมาสู่การแก้ไขปัญหา สร้างการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนขับเคลื่อนพฤติกรรมของผู้คน สังคม และเศรษฐกิจในเชิงบวก นอกจากนี้ งานวิจัย ยังเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้นักวิจัย สามารถคาดการณ์เหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างมีหลักการและเชื่อถือได้ รศ. ดร.ธีร กล่าว

ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช อาจารย์ประจำภาควิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (TSE) และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ กล่าวเสริมถึงผลสำรวจงานวิจัยไทยที่พบว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีงานวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) หรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมในมิติต่าง ๆ ร้อยละ 30 เท่านั้น ซึ่งขัดแย้งกับยุทธศาสตร์ชาติที่เน้นนวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการเติมเต็มนวัตกรรมขานรับยุทธศาสตร์ชาติ นักวิจัยไทย ต้องเร่งเดินหน้าพัฒนางานวิจัยยุคใหม่ใน 2 รูปแบบ ดังนี้

วิจัยตรงความต้องการประเทศ ด้วยยุทธศาสตร์ชาติที่เน้นใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ จึงมีความต้องการนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีหลากรูปแบบ ที่พร้อมสนับสนุนการทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม เช่น นวัตกรรมที่ช่วยลดต้นทุนภาคการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ รวมถึงยกระดับสิ่งเหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม สู่นวัตกรรมที่มาพร้อมฟังก์ชันใหม่วิจัยทันกระแส พร้อมแก้ปัญหาสังคม เพราะการทำงานวิจัยที่เท่าทันสถานการณ์ หรือมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาสุขภาพคนไทย ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ย่อมได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนแบบทวีคูณ ทั้งด้านงบประมาณพัฒนางานวิจัยให้สมบูรณ์ และเข้าสู่กระบวนการผลิตระดับอุตสาหกรรม เพื่อนำไปปรับใช้ในบริบทต่าง ๆ ของสังคม

ทั้งนี้ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาวิจัย ในขั้นตอนเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการอ้างอิงผลวิจัย จากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ นั้น ภาครัฐ โดยกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ควรยื่นมือให้การช่วยเหลือนักวิจัยไทยและบัณฑิตศึกษา ผ่านการปรับเกณฑ์พิจารณางานวิจัยชั่วคราว ดังนี้ ผ่อนปรนหรือขยายเวลาทำวิจัย ด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลาในการพัฒนางานวิจัย ที่อาจส่งผลให้การส่งงานเล่มของนักวิจัย ล่าช้ากว่าที่กำหนด อว. จึงควรมีมาตรการผ่อนปรนหรือขยายช่วงเวลาการพัฒนาและส่งเล่มวิจัยเพิ่มขึ้น และ ปรับเกณฑ์ประเมินวิจัยใหม่ ในกรณีที่นักวิจัย สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับกระแสสังคม อว. ควรพิจารณาให้งานวิจัยดังกล่าว สามารถเก็บเครดิตทดแทนวิจัยเดิมได้ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ กล่าว

ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT และ www.engr.tu.ac.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. โทร. 094-664-7146

วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ เทิร์น วิจัยเปเปอร์ สู่ นวัตกรรมใช้ได้จริง พร้อมชี้วิจัยยุคใหม่ ต้อง ตรงความต้องการประเทศ - พร้อมแก้ปัญหาสังคม วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ เทิร์น วิจัยเปเปอร์ สู่ นวัตกรรมใช้ได้จริง พร้อมชี้วิจัยยุคใหม่ ต้อง ตรงความต้องการประเทศ - พร้อมแก้ปัญหาสังคม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4