โควิด-19 เปลี่ยนวิถีการส่งออกเครื่องสำอาง สินค้าด้านความงาม ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณและร่างกาย ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีควรเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรต่อจากนี้

พฤหัส ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๐๐
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคไปทั่วโลก ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 นั้นเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึง ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ข้อมูลล่าสุดจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยเผยว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ความงาม และเครื่องสำอางลดลง 5.7% ในไตรมาสแรกของปี 2563[1]
โควิด-19 เปลี่ยนวิถีการส่งออกเครื่องสำอาง สินค้าด้านความงาม ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณและร่างกาย ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีควรเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรต่อจากนี้

จากรายงานของเว็บไซต์ CosmeticsDesign-Asia.com[2] พบว่า โควิด-19 ส่งผลให้ตลาดเครื่องสำอางสำหรับการแต่งหน้าและน้ำหอมชะลอตัว เนื่องจากคนทำงานจากที่บ้านมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ขณะที่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณ และสุขอนามัยส่วนบุคคลมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมความงาม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกายนั้น ปัจจุบันการป้องกันสุขภาพและสุขอนามัยได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักและรับรู้เรื่องของการป้องกันสุขภาพ และความปลอดภัยเพิ่มขึ้น พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อความงามจึงเปลี่ยนเป็นการมุ่งเน้นที่ “สุขภาพและสุขอนามัย” มากกว่า และเทรนด์นี้มีแนวโน้มต่อเนื่องในระยะยาว

ในขณะเดียวกัน ผู้คนมีเวลาให้กับตัวเองหรือให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง (me-time) มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ประเทศและการรักษาระยะห่างทางกายภาพในสังคม

นี่คือโอกาสครั้งสำคัญสำหรับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ด้านความงาม เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาผิวพรรณที่จะได้นำเสนอสินค้าที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียหรือรักษาความชุ่มชื้น หรือแม้กระทั่งชุดดูแลผิวด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงผิวหน้า ผิวกาย ผม เล็บ ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาสร้างบรรยากาศในการดูแลตัวเองอย่างผ่อนคลายเหมือนทำสปาที่บ้าน

“เราเห็นสัญญาณมากมายในอุตสาหกรรมความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายที่ยังมีโอกาสฟื้นตัวจากสถานการณ์วิกฤตในปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงมองหาความพึงพอใจจากการดูแลตัวเอง หรือการทำทรีตเมนต์ขณะอยู่ที่บ้าน ความต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายยังคงมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญของแบรนด์ในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกิจกับประเทศที่กำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาด เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม เป็นต้น” เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าว

“ยังคาดเดาได้ยากว่าสถานการณ์โควิด-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อไร แต่สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับเศรษฐกิจที่กำลังจะกลับมา ผลการวิจัยจาก Kantar[3] เผยว่า การปรนนิบัติผิวหรือการบำบัดทางร่างกาย (Beauty Therapy) เป็นกิจกรรมอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคคิดจะทำหลังจากมาตรการล็อคดาวน์ของประเทศตนเองผ่อนคลายลง หรือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้น”

5 เคล็ดลับส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 การส่งสินค้าไปต่างประเทศอาจมีความล่าช้า ซึ่งโดยมากเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับพิธีการทางศุลกากรซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในสถานการณ์เช่นนี้ รวมถึงปัญหาการเดินเอกสารเพื่อเคลียร์สินค้าในประเทศปลายทาง อย่างไรก็ตามคุณสามารถป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์เหล่านี้ได้ด้วย 5 เคล็ดลับที่ช่วยให้พิธีการศุลกากรเป็นเรื่องง่าย และส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าของคุณได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีอุปสรรค ดังนี้

1.เตรียมตัวให้พร้อมก่อนรุก เข้าใจกฏระเบียบและข้อบังคับของตลาด โดยเฉพาะเมื่อเริ่มส่งสินค้าไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก ทำความเข้าใจกฎระเบียบและข้อบังคับของประเทศปลายทาง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มส่งสินค้าไปขาย หรือส่งให้ผู้รับที่ต่างประเทศเป็นครั้งแรก มิฉะนั้น คุณอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เกิดความล่าช้าในการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้า หรือแม้แต่ต้องส่งสินค้ากลับไปประเทศต้นทาง

2.มองหาตัวช่วยจากหน่วยงานศุลกากรท้องถิ่น ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่จะมีหน่วยงานรัฐบาลที่ให้คำแนะนำด้านศุลกากรฟรีสำหรับเอสเอ็มอี เอสเอ็มอีเผชิญกับข้อกำหนดในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น แม้ว่าสินค้าจะถูกส่งถึงประเทศปลายทางแล้ว แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ผู้ประกอบการควรใช้โอกาสจากการได้รับคำปรึกษาฟรีจากหน่วยงานต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎระเบียบแล้ว ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วย

3. ใช้บริการลอจิสติกส์แบบครบวงจรที่เหมาะสำหรับผู้ส่งออกประเภท B2C เมื่อเอสเอ็มอีส่งออกโดยตรงไปยังผู้บริโภคในประเทศต่างๆ มักจะนำโมเดลที่เรียกว่า "Duty and Tax Paid on Import" มาใช้ ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการเกี่ยวกับการเดินพิธีศุลกากรในประเทศปลายทางทั้งหมดแทนที่จะให้ผู้ซื้อเป็นคนจัดการ อย่างไรก็ตาม นั่นหมายความว่าเอสเอ็มอีต้องสื่อสารกับตัวแทนต่างๆ มากมายเพื่อจัดการเกี่ยวกับภาษีอากร และขั้นตอนพิธีการทางศุลกากรอื่นๆ การทำงานกับผู้ให้บริการเดียวที่สามารถให้บริการแบบ door-to-door ตั้งแต่รับของจากผู้ส่ง ดำเนินการส่งของเข้าไปยังประเทศปลายทางและส่งของถึงมือผู้รับ จะช่วยลดความยุ่งยากในกรณีที่มีข้อติดขัด หรือความท้าทายอื่นๆที่เกิดขึ้น4. ลองประยุกต์ใช้โมเดลการขายแบบ B2B: ขายผ่านช่องทางผู้จัดจำหน่ายในพื้นที่เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนสินค้าส่งออก และส่วนแบ่งการตลาด การจัดการด้านศุลกากรอาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับธุรกิจแบบ B2C ซึ่งคุณสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้ได้ด้วยการส่งออกไปยังผู้จัดจำหน่ายในพื้นที่ โดยทั่วไปผู้จัดจำหน่ายมักจะมีประสบการณ์ตรง หรือมีคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหรือตลาดนั้นๆ และอาจอำนวยความสะดวกให้คุณได้มากกว่าหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเอื้อให้เอสเอ็มอีได้ประโยชน์ตรงที่สามารถเร่งครื่องทำธุรกิจ และขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น บางครั้งการมีพาร์ทเนอร์ด้านการจัดจำหน่ายเพิ่มเข้ามาแล้วจะทำให้สัดส่วนกำไรของคุณลดลง แต่ก็แลกมาซึ่งความมั่นใจในการทำธุรกิจ ทำให้เอสเอ็มอีทำการส่งออกสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถขยายส่วนแบ่งการตลาดในประเทศใหม่ๆได้อย่างราบรื่น

5.อย่ากลัวที่จะเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อเอสเอ็มอีสั่งสมความรู้และประสบการณ์ด้านการส่งออกเรื่องการเดินพิธีศุลกากรในแต่ละประเทศปลายทาง และกฏระเบียบการนำเข้าในแต่ละประเทศที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของตนเองจนคล่องแล้ว มั่นใจได้ว่าเอสเอ็มอีจะสามารถขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ๆ ในประเทศใหม่ๆ ได้เร็วกว่าที่เคยเป็น การพัฒนาความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ศุลกากรต้องการก่อนทำการค้าขายกับลูกค้าปลายทาง และการทำงานกับลอจิสติกส์พาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิดเป็นโอกาสที่เอสเอ็มอีจะได้เติมเต็มประสบการณ์ด้านการส่งออก การนำความรู้และประสบการณ์มาปรับใช้เป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว และไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเอสเอ็มอีอีกต่อไป ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส คือผู้นำด้านการขนส่งด่วนระหว่างประเทศ เราพร้อมที่จะช่วยขยายธุรกิจของคุณไปยังทั่วโลก เยี่ยมชม เว็บไซต์ เพื่อรับประสบการณ์การบริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ หรือดาวน์โหลดอีบุ๊ค Cosmetics and Personal Care Going Global ฟรี! ได้ที่ https://www.iexpressbydhl.com/th/landing/cosmetics-and-personal-care-export-trend

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๔๔ กรรมการ กคช. ลงพื้นที่ชุมชนดินแดง ย้ำ ! ตรวจสอบอาคาร D1 ให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องดินแดง
๑๑:๑๑ สาขาการผลิตอีเว้นท์ฯ ม.กรุงเทพ พร้อมผลักดันวงการ T-POP ใน CHECKMATE T-POP DANCE BATTLE
๑๐:๑๓ ฟอร์ติเน็ตผนึกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมเป็นศูนย์กลางภาคเหนือ สร้างกำลังพลมืออาชีพด้านไซเบอร์เต็มรูปแบบ
๑๐:๕๘ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ชวนสัมผัสฟาร์มกลางท้องทุ่ง และเรียนรู้อนุรักษ์ควายไทย ในงาน INTO THE FARM มนต์รัก
๑๐:๓๐ วว. แนะวัสดุปลูกต้นอ่อนทานตะวันจากก้อนเห็ดเก่าใช้แล้ว
๑๐:๒๑ MICRO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (E-AGM) ประจำปี 2567 ชูกระแสเงินสดแกร่ง - เตรียมชำระคืนหุ้นกู้ 321 ลบ. เม.ย.
๐๙:๔๓ ยางคอนติเนนทอล ฉลองครบรอบความสำเร็จ 15 ปี ในประเทศไทย และการก่อตั้งโรงงานยางคอนติเนนทอลแห่งแรกในประเทศไทยกว่า 5
๐๙:๕๖ เนสท์เล่ ประเทศไทย เร่งเครื่องกลยุทธ์ ขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ เพื่อผู้บริโภค นำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่อร่อยและมีคุณค่าโภชนาการ
๐๙:๑๑ วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย เปิดศูนย์บริการซ่อมตัวถั และสีมาตรฐานครบวงจรแห่งใหม่ ณ โชว์รูมและศูนย์บริการวอลโว่ พระนคร
๐๙:๔๔ HONNE (ฮอนน์) วงดูโอ้สุดแนวจากอังกฤษ ปล่อยเพลงใหม่ Imaginary ต้อนรับศักราชใหม่ เรื่องราวความรักโรแมนติกที่อิงจากชีวิตจริง