“วิทยาศาสตร์ กับ ธุรกิจ” คือ สกิลครบเครื่องของเด็กรุ่นใหม่ โมเดล นิวนอร์มอล ของการเรียนที่ วิทยาศาสตร์ฯ มธ.

ศุกร์ ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๔๖
เด็กวิทย์ยุคใหม่ต้องโก “สตาร์ทอัพ” ! วิทยาศาสตร์ฯ มธ. อวดโมเดล “SCI+BUSINESS” ปั้น นักวิทย์คิดประกอบการ พร้อมโชว์ตัวอย่างสตาร์ทอัพ 3 วงการ “คณิตศาสตร์ - แพทย์ - เกษตร”
วิทยาศาสตร์ กับ ธุรกิจ คือ สกิลครบเครื่องของเด็กรุ่นใหม่ โมเดล นิวนอร์มอล ของการเรียนที่ วิทยาศาสตร์ฯ มธ.

#SCITU #Thammasat #SCIBUSINESS #วิดยามธ #ธรรมศาสตร์ #เด็กวิทย์ยุคใหม่ #นักวิทย์คิดประกอบการ #DEK63 #TCAS63 #JCCOTH หลายคนอาจจะมีความเชื่อที่ว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการได้ จะต้องจบการศึกษาจากคณะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือการจัดการธุรกิจเท่านั้น แต่หากตั้งข้อสังเกตจะพบว่า เจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง 'อีลอน มัสก์’ เจ้าพ่อนักประดิษฐ์ที่จบปริญญาด้านฟิสิกส์และเศรษฐศาสตร์ แต่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ ในฐานะผู้ก่อตั้งแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า TESLA, SpaceX และล่าสุดกับการก่อตั้งโรงเรียน Ad Astra ที่เข้มข้นด้านวิทยาศาสตร์ หรือกระทั่ง 'สตีฟ จอบส์’ ผู้ที่บอกลาชีวิตมหาวิทยาลัยก่อนจบการศึกษา พร้อมเบนเข็มคิดค้นและพัฒนาระบบการทำงานส่วนต่าง ๆ ของสมาร์ทโฟนแบรนด์ดังอย่าง iPhone ที่ไม่ว่าใครก็รู้จัก! ซึ่งนั่นเป็นเพราะ บุคคลเหล่านี้ มีแนวคิดที่แหลมคมและคิดเชิงนวัตกรรม หรือ Innovative Thinking และคิดต่อยอดเป็นธุรกิจที่นับวันจะสร้างมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เพราะหัวใจของการขับเคลื่อน “ธุรกิจสตาร์ทอัพ” ให้สามารถเติบโตและไปต่อได้นั้นคือ “วิทยาศาสตร์ และ ธุรกิจ” เพราะความรู้เฉพาะทาง หลักคิดที่เป็นเหตุและผล ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ด้านมาร์เก็ตติ้ง มีส่วนสำคัญในการหลอมรวมเป็นความรู้ที่สดใหม่ ผลักดันธุรกิจให้ฉายแววและแตกต่างจากธุรกิจอื่น แต่ทั้งนี้สำหรับผู้ที่จบสาขาเฉพาะทาง แต่มีแนวคิดประกอบธุรกิจหรือตั้งเป้าเติบโตในสายงานสตาร์ทอัพ มีความจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม ผ่านการเรียนคอร์สออนไลน์ หรือรับชมแบบ LIVE Stream (รับชมแบบถ่ายทอดสด) จากหลากหลายแห่ง เพื่อเติมเต็มทักษะด้านดังกล่าว ให้เกิดเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่สร้างรายได้ในอนาคต

ซึ่งปัญหาการเทคคอร์ส (Take Course) เพื่อ Up Skill และ Re Skill จำนวนมากในหลายสถาบัน อาจส่งผลต่อการจัดสรรเวลาได้ แต่ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ SCI-TU สถาบันการศึกษาด้านวิทย์-เทคโนโลยี ที่มีความพร้อมในการปลุกปั้นคุณให้ก้าวข้ามข้อจำกัด และฉีกกรอบภาพจำของการเรียนวิทย์ที่ต้องทำงานในห้องแล็บ สู่การเป็น “เจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพ” ภายใต้แนวคิด “SCI+BUSINESS” ด้วยการขมวดรวมความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ากับความรู้ด้านธุรกิจได้อย่างลงตัว ในเวลา 4 ปีการศึกษา !

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. (SCI-TU) เล่าว่า ด้วยเป้าหมายของการผลิต SCI+BUSINESS ในทุกสาขา ให้เข้มข้นด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านการเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ พร้อมทั้งหล่อหลอมให้เกิดแนวคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) ที่สามารถผสานความรู้ต่างสาขา อย่าง “หลักสูตรบริหารธุรกิจ” ภายใต้ความร่วมมือกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอก จนนำไปสู่สตาร์ทอัพสายวิทย์ และผลิตบัณฑิตวิทย์ ที่มีความสามารถด้านการปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว แม้โลกการทำงาน การทำธุรกิจจะเปลี่ยนแปลง หรือกระทั่งเกิดการดิสรัปในอนาคต สะท้อนผ่านผลสำเร็จของ คณาจารย์นักวิจัย นักศึกษาปัจจุบัน รวมถึงศิษย์เก่า “นักวิทย์คิดประกอบการ” ที่สามารถผลิดอกออกผลความรู้ สู่ “ไอเดียนวัตกรรม” “ธุรกิจสตาร์ทอัพ” หรือ “นวัตกรรมเชิงพาณิชย์” ได้อย่างโดดเด่น อาทิ

- สตาร์ทอัพด้านคณิตศาสตร์ ขึ้นชื่อว่าศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขและหลักสถิติหลากรูปแบบ อาจจะเป็นข้อจำกัดสำหรับใครหลายคนที่มองว่า เป็นเรื่องยากต่อการพัฒนาสู่นวัตกรรมใหม่ แต่ที่ SCI-TU สอนให้นักศึกษามองโลกอย่างลึกซึ้ง หยิบยกปัญหาเป็นโจทย์พัฒนางานวิจัย กระทั่ง นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัย สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ในชื่อทีม 'Kidi kids’ สามารถคว้า รางวัลชนะเลิศ จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 60 ทีม บนเวทีประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (OIC InsurTech Award 2019) ด้วยไอเดียนวัตกรรม 'ประกันสุขภาพเด็กระยะสั้น’ แอปฯ ประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการและตรงตามความเสี่ยงของผู้บริโภค และช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถคำนวณเบี้ยได้ตรงตามความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัย พร้อมลดอัตราการเกิดความเสียหาย (Loss ratio) ของบริษัทประกันภัยได้อีกทางหนึ่ง

- สตาร์ทอัพด้านเกษตร ด้วยความเข้มแข็งด้านวัตถุดิบอาหารและผลผลิตทางการเกษตร ไทย เป็นผลให้นักวิจัย SCI-TU มีโจทย์ในการเรียนรู้และตั้งสมมติฐาน เพื่อพัฒนานวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งเกษตรกรไทยจำนวนมาก อาทิ 'สมาร์ทฟาร์มคิท' (Smart Farm Kit) อุปกรณ์ควบคุมการรดน้ำอัจฉริยะ ต้นทุนต่ำ สร้างความยั่งยืนเกษตรกรไทย ที่นักวิจัยได้ผสานความรู้เชิงลึกเรื่องพืช ถึงความต้องการน้ำ อัตราความชื้นที่พืชต้องการ ร่วมกับความรู้ด้านซอฟต์แวร์ และ IoT เพื่อสั่งการเปิด-ปิดน้ำผ่านแอปฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 'แพคเกจทุเรียนเก็บกลิ่น 100%' พร้อมรักษาความสดนาน 2 เดือน แพคเกจจิ้ง สำหรับเก็บรักษาคุณภาพทุเรียนปอกเปลือกพร้อมบริโภคสด ด้วยเทคโนโลยี Active ที่สามารถดูดซับกลิ่นทุเรียนได้ 100%

- สตาร์ทอัพด้านการแพทย์ ด้วยนโยบายของคณะ ที่ตั้งเป้าพัฒนาเด็กวิทย์ให้มีทักษะในการบูรณาการความรู้ต่างสาขาที่เรียน รวมถึงต่างคณะ สู่การต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ที่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ของสังคมในบริบท ต่าง ๆ อีกทั้งองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คือ พื้นฐานความรู้ด้านวิทย์-เทคโนโลยี คณาจารย์นักวิจัย และนักศึกษา ของ SCI-TU จึงมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านดังกล่าวในหลายรูปแบบ อาทิ 'THAMMASK’ หน้ากากผ้ากันน้ำสำหรับแพทย์ไทย ที่ใช้ซ้ำและซักได้สูงสุด 30 ครั้ง ผลลัพธ์จากการศึกษาเชิงลึกถึงคุณสมบัติของสิ่งทอ สู่การผลิตหน้ากากผ้าเพื่อแพทย์ไทยยามวิกฤต 'TATIP’ แอปฯ คัดกรองและวิเคราะห์ขนาดของต้อเนื้อ เพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วยโรคต้อเนื้อ และช่วยวัดขนาดต้อเนื้อให้มีความแม่นยำ หรือใกล้เคียงกับผลวิเคราะห์ของแพทย์มากที่สุด โดยเป็นผลงานการพัฒนาระหว่างนักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ กับคณาจารย์จักษุแพทย์ รพ. ธรรมศาสตร์ ที่ได้ให้การสนับสนุนภาพต้อเนื้อกว่า 50-100 ภาพ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา SCI-TU สามารถผลักดันนักศึกษา ในการต่อยอดความรู้สู่ “ธุรกิจสตาร์ทอัพ” การันตีด้วยรางวัลจากเวทีประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ระดับประเทศและนานาชาติจำนวนมาก อาทิ เมโลดี้ เฟรช (Melody Fresh) นวัตกรรมสเปรย์จากสารเคลือบมหัศจรรย์จากกากรำข้าว ยืดอายุดอกไม้ ผลไม้ รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร ให้คงสภาพสดใหม่ สวยงามต้านกาลเวลา พลิกวิกฤตกากรำข้าวเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าว มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ มังคุดโยเกิร์ตอบกรอบ สูตรซินไบโอติก (Mangosteen vegan yoghurt snack (formula: synbiotic)) ขนมทางเลือกใหม่สำหรับคนรักสุขภาพ ด้วยการนำเนื้อมังคุดฟรีซดรายคุณภาพดีที่มีชิ้นขนาดเล็ก และไม่สามารถนำไปจำหน่ายเป็นเนื้อมังคุดฟรีซดรายเกรดพรีเมี่ยมได้ รวมถึงโยเกิร์ตถั่วเหลือง มาพัฒนาสูตรผ่านกระบวนการผลิตและแปรรูปที่ช่วยเพิ่มมูลค่า ฯลฯ

นอกจากนี้ คณาจารย์ SCI-TU ยังสามารถต่อยอดความเชี่ยวชาญ ผ่านการพัฒนางานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน-อุตสาหกรรม เพื่อเสริมศักยภาพภาคการผลิตในมิติของการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าการผลิต หลากรูปแบบ อาทิ นวัตกรรมกล่องเก็บลำไยสด ต่ออายุ Shelf life 120 วัน นวัตกรรม Active Packaging สำหรับลำไย ไม่รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และ HACCPs โดยนวัตกรรมดังกล่าว ทางทีมวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ บริษัท สยามเมอริทพลัส จำกัด เรียบร้อยแล้ว ไรซ์เบอร์รี่สเปรด (Riceberry Spread) แยมข้าวไรซ์เบอร์รี่น้ำตาลต่ำ-ให้พลังงานต่ำ มาพร้อมคุณค่าทางโภชนาการสูง และกระตุ้นระบบขับถ่าย โดยนวัตกรรมซุปเปอร์ฟู้ด เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ทีมวิจัยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KCG)

“การเรียนวิทยาศาสตร์ ถือเป็นสิ่งที่สนุกและท้าทาย แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุด คือต้องมาเรียนด้วยความชอบ จึงจะทำให้มีแรงบันดาลใจในการเรียน หากเด็ก ๆ คนไหนยังไม่มั่นใจว่าชอบเรียนวิทยาศาสตร์ฯ จริงหรือไม่นั้น สามารถร่วมกิจกรรมเข้าค่ายที่แต่ละสาขาจัดขึ้น เพื่อลองดูว่าเนื้อหาที่ต้องเรียนเป็นอย่างไร ไปสัมผัสประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่ที่เรียนมาก่อน ก็จะช่วยให้ตอบตัวเองได้มากขึ้น ส่วนใครที่รู้ตัวว่าชอบเรียนวิทย์แน่ ๆ เราอาจจะได้พบกันที่ SCI-TU ครับ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธนนท์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจศึกษาต่อ SCI-TU สามารถตรวจสอบคุณสมบัติและสมัครเรียนออนไลน์ได้ที่ TCAS รอบ 5 ผ่าน www.mytcas.com ได้ระหว่างวันที่ 9-30 มิถุนายน 2563 ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ SCI-TU ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/ScienceThammasat และ https://sci.tu.ac.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564-4440-59 ต่อ 2010

วิทยาศาสตร์ กับ ธุรกิจ คือ สกิลครบเครื่องของเด็กรุ่นใหม่ โมเดล นิวนอร์มอล ของการเรียนที่ วิทยาศาสตร์ฯ มธ. วิทยาศาสตร์ กับ ธุรกิจ คือ สกิลครบเครื่องของเด็กรุ่นใหม่ โมเดล นิวนอร์มอล ของการเรียนที่ วิทยาศาสตร์ฯ มธ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?