ม.มหิดล เตรียมผลักดันโครงการ University Industrial Collaboration (UIC) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมพัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์โลกยุคดิสรัปชั่น

จันทร์ ๐๘ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๐๙:๒๓
การศึกษาด้านกายภาพบำบัด ถือเป็นความหวังสำคัญของการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในโลกยุคดิสรัปชั่น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วย โจทย์วิจัยจึงตั้งขึ้นตามความต้องการของผู้ป่วยโดยตรง โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มสูงอายุที่มีมากขึ้นตามแนวโน้มของสภาวการณ์ของสังคมที่เปลี่ยนไป

ท่ามกลางปัญหาความขาดแคลนนักกายภาพบำบัดที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของสังคมไทย ซึ่งในจำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ 70 ล้านคน ประเทศไทยมีนักกายภาพบำบัดจำนวนเพียงประมาณไม่ถึงหนึ่งหมื่นคน ในขณะที่สถาบันการศึกษากายภาพบำบัดในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้นเพียง 16 แห่ง โดย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันแรกที่มีการเรียนการสอนด้านกายภาพบำบัด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 โดยปัจจุบันเป็นกำลังสำคัญในการผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัด ทั้งในระดับปริญญาตรี โท เอก เพื่อรับใช้สังคมไทยมาร่วม 55 ปี

รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า คณะฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งในด้านการวิจัย จึงได้จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการทางด้านกายภาพบำบัด โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 8 โดย 2 ปีที่ผ่านมาจัดร่วมกับ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประชุมวิชาการและวิจัย The International Physical Therapy Research Symposium 2020 (IPTRS 2020) ปีนี้จัดในหัวข้อ "Innovation in Physical Therapy" วัตถุประสงค์เพื่อการสร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการสร้างนวัตกรรมทางกายภาพบำบัด โดยเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในรูปแบบของ Semi-virtual Symposium เผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid – 19 ด้วยการจัดที่นั่งแบบเว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) ภายในห้องประชุม

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า "นวัตกรรม" (Innovation) คือการแก้ปัญหาที่เกาะกระแสโจทย์ต่างๆ ที่ท้าทายที่เกิดขึ้นในสังคม ด้วยความคิดนอกกรอบ ผ่านการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของสังคมได้อย่างแท้จริง

ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMUTT) ได้ให้เกียรติเสวนาหัวข้อ “Innovation in Physical Therapy: Disruptive World” โดยกล่าวว่า แรงบันดาลใจ (Passion) คือจุดเริ่มต้นของการริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมีอุปสรรคและคู่แข่งขันเป็นความท้าทาย สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องทำด้วยหัวใจ และจริยธรรม

ร่วมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นแนวคิดเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมในโลกยุคดิสรัปชั่น ด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ "Build" หรือ การสร้างขึ้นมาจากการคิด วิเคราะห์ วิจัย "Measure" หรือ การทดลองใช้และประเมิน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ รับฟัง feedback ต่างๆ และ "Learn" หรือ การปรับปรุงต่อยอดจากสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือจากการประเมินที่ได้รับ ซึ่งอาจจะนำกลับไป "Build" ใน version ใหม่ที่ดีขึ้น เป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ผลงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแท้จริง บางผลิตภัณฑ์อาจต้องผ่านวงจรนี้หลายรอบ หรือวนเช่นนี้ไปแม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะได้นำไปใช้จริงแล้วก็ตาม

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ภัทรชัย กีรติสิน อธิบายว่า หลักการ Build - Measure - Learn มีแนวคิดมาจากเรื่อง "Lean Startup" ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรตามความจำเป็น ใช้เวลาน้อย ไม่ลงทุนครั้งเดียวมากๆ แต่ช่วยพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้เรื่อย และทันต่อกระแสความต้องการของผู้ใช้และสังคม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรมในโลกยุคดิสรัปชั่น

เร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) จะริเริ่มดำเนินโครงการ University Industrial Collaboration (UIC) ซึ่งจะเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับภาคอุตสาหกรรม ให้มีการเริ่มต้นคิดโจทย์วิจัยร่วมกัน เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาดใน 4 ด้าน คือ เครื่องมือแพทย์ (Medical Devices) Medical AI (ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์) Medical Food (อาหารทางการแพทย์) และ คุณภาพชีวิต (Quality of Life) โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่กำลังเป็นประเด็นเร่งด่วนของสังคมไทยในปัจจุบัน

"สิ่งที่มหาวิทยาลัยมหิดลอยากจะเห็นในการพัฒนานวัตกรรมทางด้านกายภาพบำบัดในโลกยุคดิสรัปชั่น คือ Deep Tech ซึ่งเป็นการพัฒนาเครื่องมือที่จำเป็นที่ใช้เทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุด ซึ่งต้องลงทุนสูง จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนการตลาดล่วงหน้า ด้วยการตกลงกันระหว่างฝ่ายวิจัย และฝ่ายการตลาดตั้งแต่เริ่มต้น"

"เชื่อว่านักกายภาพบำบัด คือ "นวัตกร" (Innovator) โดยสายเลือด ถึงเวลาแล้วที่จะต้องพัฒนานวัตกรรมโดยให้ความสำคัญในเชิงพาณิชย์ด้วย เพื่อเป็นการต่อยอดที่ตอบโจทย์ประโยชน์ของประชาชน และการพัฒนาวิชาชีพนักกายภาพบำบัดที่ยั่งยืนต่อไป" ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ภัทรชัย กีรติสิน กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4