กรมส่งเสริมการเกษตร ประยุกต์ใช้พาราฟิลม์แทนพลาสติก เปลี่ยนยอดพันธุ์ดี “อะโวคาโด” ลดโลกร้อน

อังคาร ๐๙ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๕:๓๕
นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งของกรมส่งเสริมการเกษตรคือ การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้เกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร ประยุกต์ใช้พาราฟิลม์แทนพลาสติก เปลี่ยนยอดพันธุ์ดี อะโวคาโด ลดโลกร้อน

สามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตการเกษตรอย่างมีคุณภาพ สำหรับไม้ผลที่ได้รับความนิยมจากคนยุคใหม่อย่างอะโวคาโด การพัฒนาสายพันธุ์ให้มีคุณภาพ ผลผลิตรสชาติดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงถือเป็นโอกาสดีในการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตร นำพาราฟิล์ม (Parafilm) มาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทดแทนการใช้ถุงพลาสติกในขั้นตอนการเปลี่ยนยอดพันธุ์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากพาราฟิล์มมีคุณสมบัติช่วยรักษาความชื้นได้ดี ทำให้การเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีมีประสิทธิภาพสูง โดยพาราฟิล์มทำมาจากส่วนผสมของ โพลีโอเลฟินส์ (Polyolefins) และพาราฟิน แว็กซ์ (Paraffin Waxes) คุณสมบัติเด่นคือ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถแลกเปลี่ยนอุณหภูมิและความชื้นกับสิ่งแวดล้อมได้ดี และสามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว จึงนิยมใช้เป็นวัสดุสำหรับการปิดผนึกอุปกรณ์ในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น เพลท เป็นต้น

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักการของการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่อกิ่งหรือเปลี่ยนยอด คือเปลี่ยนจากต้นพันธุ์พื้นเมืองเดิมที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดให้กลายเป็นพืชพันธุ์ดี ที่มีคุณภาพและมีลักษณะตรงตามความต้องการของตลาด และให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรสูง ซึ่งแต่เดิมนั้นจะใช้เทปพลาสติกพันกิ่งหรือใช้ถุงพลาสติกครอบกิ่งยอดพันธุ์ดีไว้เพื่อรักษาความชื้นและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของยอดอ่อน แต่วิธีการนี้จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล เนื่องจากถุงพลาสติกนั้นมีคุณสมบัติที่แลกเปลี่ยนความชื้นและอุณหภูมิได้น้อย ทำให้อุณหภูมิภายในถุงครอบสูง เมื่อเปิดถุงให้ยอดอ่อนเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างกะทันหันอาจจะเป็นเหตุให้ยอดอ่อนปรับตัวไม่ทัน จนแสดงอาการเฉา ใบร่วงและอาจทำให้ตายได้ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องตัดเปิดมุมถุงทีละด้านเพื่อให้ยอดอ่อนได้มีเวลาในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ นอกจากนี้เทปพลาสติกยังมีความยืดหยุ่นต่ำ ยอดอ่อนของพืชไม่สามารถแทงกิ่งออกมาจากเทปพลาสติกได้เอง ต้องหมั่นตรวจตราและกรีดพลาสติกเพื่อให้กิ่งยอดพันธุ์ดีเจริญเติบโต ประกอบกับการใช้ถุงพลาสติกทำให้เกิดขยะมูลฝอยที่จัดการได้ยากและใช้เวลาย่อยสลายนาน หากกำจัดด้วยวิธีการฝังหรือเผาก็จะเกิดสารตกค้างต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งปัญหาจะทวีความรุณแรงมากขึ้นโดยเฉพาะบนที่สูงที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ในขณะที่การนำพาราฟิล์มมาใช้ทดแทนถุงพลาสติก ยอดอ่อนจะสามารถแลกเปลี่ยนอุณหภูมิและความชื้นได้ดี ลดขั้นตอนในการดูแลรักษาได้มาก เนื่องจากยอดอ่อนไม่จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่และสามารถแทงทะลุชั้นเคลือบของพาราฟิล์มออกมาได้เลย นอกจากนี้พาราฟิล์มยังสามารถสลายตัวได้ง่ายในธรรมชาติ ช่วยลดปัญหาโลกร้อน และภาวะเรือนกระจกได้อีกด้วย ดังนั้นการใช้พาราฟิล์มเพื่อทดแทนถุงพลาสติกนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้สะดวก ทั้งในสภาพโรงเรือน และสภาพแปลงปลูก เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการขยายพันธุ์พืชได้หลายชนิด เช่น พลับ มะม่วง แก้วมังกร มัลเบอรรี่ มะขามป้อม พืชตระกูลส้ม เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4