อย่าให้ “โรค” หยุด “โลก”! ส่องพลังคนไปรษณีย์กว่า 5.3 ล้านคน ทั่วทุกมุมโลก เชื่อมคนไทย เชื่อมคนทั่วโลก ให้เดินต่อไม่สะดุด

จันทร์ ๑๕ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๔:๑๗
การระบาดของโรคโควิด – 19 ทำให้ทั่วโลกต้องหยุดชะงักทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญที่มนุษย์เรียนรู้เพื่อความอยู่รอดในภาวะวิกฤติ ทั้งวิกฤติเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ หรือโรคระบาด คือ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว ให้ยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อได้เพื่อความอยู่รอด นอกจากนี้ การบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน จะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนและแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเดิมที่ผู้คนออกมาจับจ่ายซื้อของ เหมือนถูกแช่แข็งจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโดยรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจในโลกดิจิทัล หรือออนไลน์มาร์เก็ตเพลสเติบโตไปพร้อมๆ กับธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ที่เป็นสายพานหลักในเส้นทางแห่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคล็อกดาวน์เมือง
อย่าให้ โรค หยุด โลก! ส่องพลังคนไปรษณีย์กว่า 5.3 ล้านคน ทั่วทุกมุมโลก เชื่อมคนไทย เชื่อมคนทั่วโลก ให้เดินต่อไม่สะดุด

บริการพื้นฐานด้านไปรษณีย์และการขนส่ง ที่กลายเป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการประชาชนในสถานการณ์ดังกล่าว จากพลังคนไปรษณีย์กว่า 5.3 ล้านคนทั่วทุกมุมโลก ในที่ทำการไปรษณีย์กว่า 650,000 แห่ง (ข้อมูลจากสหภาพสากลไปรษณีย์ หรือ UNIVERSAL POSTAL UNION) ที่ดำเนินการให้บริการพื้นฐานทางสังคมด้านการสื่อสารและขนส่งในแต่ละประเทศ ได้ตั้งเป้าหมายส่งมอบบริการในช่วงมาตรการล็อกดาวน์เมือง และการทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงส่งต่อสิ่งของให้กับประชาชน นอกจากนี้ มีอีกหลายไปรษณีย์ทั่วโลกที่ไม่เพียงแค่ทำหน้าที่ให้บริการในเชิงธุรกิจเท่านั้น แต่ยังคงช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์โดยใช้ศักยภาพด้านการขนส่งอย่างเต็มความสามารถ อาทิ

การไปรษณีย์อินเดีย (India Post) ที่ให้บริการส่งหน้ากากอนามัยและยาถึงผู้รับ ผ่านแอพพลิเคชัน Post Info พร้อมทั้งตั้งมาตรฐานการนำจ่ายพัสดุไม่ให้เกิดความล่าช้า เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว บริการส่งผลผลิตทางการเกษตรช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้แจกอาหารในชุมชนต่างๆ ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19

การไปรษณีย์จีน (China Post) ตั้งเป้ารักษามาตรฐานและส่งมอบบริการที่ปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ พร้อมบริการจัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อบรรเทาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก

การไปรษณีย์เวียดนาม (Vietnam Post) ให้บริการส่งหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ และกระจายไปยังเมืองที่มีผู้ติดเชื้อสูง อาทิ โฮจิมินส์ ฮานอย

การไปรษณีย์ออสเตรเลีย (Australia Post) อำนวยความสะดวกประชาชนผ่านบริการส่งยาและเวชภัณฑ์ถึงบ้าน ตามมาตรการกักตัวประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

การไปรษณีย์สวิสเซอร์แลนด์ (Swiss Post) จัดส่งขนมปังให้กับประชาชนที่กักตัวตามมาตรการล็อกดาวน์ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนและช่วยเหลือร้านค้าท้องถิ่นในวิกฤติโควิด-19

การไปรษณีย์สเปน (Spain Post) ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐให้บริการขนส่งหน้ากากอนามัยจากผู้ผลิตไปยังโรงพยาบาลที่ต้องการในช่วงสถานการณ์โควิด-19

การไปรษณีย์โอมาน (Oman Post) ร่วมกับมูลนิธิการกุศลขนส่งอาหารไปยังครอบครัวผู้ยากไร้ที่ได้รับผลกระทบ และส่งต่อคอมพิวเตอร์กว่า 1,000 เครื่อง ไปยังนักเรียนที่ขาดแคลนทั่วประเทศ สำหรับเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19

การไปรษณีย์ซาอุดิฯ (Saudi Post) ให้บริการจัดส่งพัสดุสิ่งของท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 และได้รับรางวัลด้านการบริการลูกค้าจากการส่งพัสดุด่วน (EMS) จากสหภาพสากลไปรษณีย์ หรือ UPU

และอีกประเทศหนึ่งที่ยังไปต่อได้ในภาวะวิกฤตินี้ก็คือ “ประเทศไทย” จากจุดแข็งการปรับตัวและยืดหยุ่นของวงการขนส่งโลจิสติกส์ของไทย ที่ขนส่งหลากหลายรูปแบบปรับการบริการให้เข้ากับสถานการณ์ อาทิ รถแท็กซี่ ปรับเปลี่ยนจากการรับส่งผู้คนมาขนส่งพัสดุ มอเตอร์ไซค์รับจ้างจากเดิมที่รับส่งผู้โดยสาร ผันตัวสู่การให้บริการด้านฟู้ดเดลิเวอรี่ หรือรับส่งเอกสาร หรือแม้แต่กระทั่งตุ๊ก ตุ๊ก รถสองแถว ที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย หรือรถม้าบริการนักท่องเที่ยว ก็ผันตัวมาให้บริการด้านขนส่งโลจิสติกส์เช่นเดียวกัน และหากเอ่ยถึงองค์กรในวงการสื่อสารและโลจิสติกส์ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า “ไปรษณีย์ไทย” เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม

จากจุดยืน “ไปรษณีย์ไทย” กับการเป็นบริการพื้นฐานทางสังคมที่เป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล และช่วยเหลือสังคมอย่างรอบด้าน ทั้งการอำนวยความสะดวกประชาชนในการส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศโดยไม่เสียค่าฝากส่ง บริการส่งยาและเวชภัณฑ์ให้กับผู้ป่วยถึงบ้านเพื่อลดการแออัดในโรงพยาบาล หรือมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรช่วยขน ช่วยขายผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออก จากการปรับตัวพัฒนาตลอดเวลาและบริการเพื่อสังคม ทำให้คนไทยยังคงมั่นใจและมองว่าไปรษณีย์ไทยเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่เป็นขุมพลังสร้างรายได้ให้กับประเทศ พร้อมเคียงคู่คนไทยในทุกสถานการณ์

ท้ายที่สุด การเยียวยาสภาพเศรษฐกิจหลังภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 เป็นสิ่งที่ต้องบูรณาการความรวมมือ จากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ร่วมมือกันขับเคลื่อนให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ไปรษณีย์ไทย ยังคงเดินหน้าพัฒนาคุณภาพและบริการ และเปิดบริการขนส่งระหว่างประเทศเต็มรูปแบบ ทั้งบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ (EMS World) บริการ ePacket บริการ Courier Post และบริการโลจิสโพสต์ระหว่างประเทศ หลังรัฐบาลทั่วโลกคลายมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ อาทิ จีน เกาหลีใต้ อิตาลี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และพร้อมเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร และส่งต่อความห่วงใย ด้วยมาตรฐานการให้บริการที่รวดเร็ว ปลอดภัย เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการ และเป็นเบื้องหลังผู้ส่งต่อบริการที่ดีที่สุดให้กับคนไทยทุกคน ด้วยปณิธานหลักอยู่เคียงข้างสังคมไทยในทุกสถานการณ์ และเป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยตลอดไป

อย่าให้ โรค หยุด โลก! ส่องพลังคนไปรษณีย์กว่า 5.3 ล้านคน ทั่วทุกมุมโลก เชื่อมคนไทย เชื่อมคนทั่วโลก ให้เดินต่อไม่สะดุด อย่าให้ โรค หยุด โลก! ส่องพลังคนไปรษณีย์กว่า 5.3 ล้านคน ทั่วทุกมุมโลก เชื่อมคนไทย เชื่อมคนทั่วโลก ให้เดินต่อไม่สะดุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ