ทีเส็บ ปั้นเด็กไมซ์ ในยุคโควิด เตรียมพร้อมเปิดกิจกรรมไมซ์ในยุค NEW NORMAL

อังคาร ๑๖ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๗:๑๗
อุตสาหกรรมไมซ์ในเมืองไทยเร่งสร้างคน สร้างงาน ลุยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทย หลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนอย่างเร่งด่วน ซึ่งหลายมาตรการเป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการและบุคลากรไมซ์ ล่าสุดสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เล็งเห็นโอกาสสำคัญหวังปั้น สร้างงานให้บุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นพันธุ์เมล็ดกล้าชั้นดีแห่งธุรกิจไมซ์ มุ่งส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาไทยที่สนใจในธุรกิจการจัดงานไมซ์และอีเว้นท์ ให้เข้าร่วมโครงการ “MICE Student Chapter” เปิดโอกาสเรียนรู้กระบวนการ เพื่อการก้าวเข้าสู่วงการด้านการจัดประชุมและนิทรรศการในฐานะคนสายพันธุ์ไมซ์อย่างมืออาชีพ ต่อยอดการจ้างงาน ลดภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่ ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มการกระจายรายได้จากกิจกรรมไมซ์ไปสู่ภูมิภาค ที่จะส่งเสริมการเพิ่มจำนวนการจ้างงานไมซ์ทั่วประเทศ
ทีเส็บ ปั้นเด็กไมซ์ ในยุคโควิด เตรียมพร้อมเปิดกิจกรรมไมซ์ในยุค NEW NORMAL

โครงการนี้จะสามารถพัฒนาและผลิตสร้างผู้นำไมซ์รุ่นใหม่ (Creating Future MICE Leaders) ที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ ในการให้โอกาสให้เยาวชนและผู้ประกอบการสร้างและปรับธุรกิจใหม่ในยุคสังคมวิธีใหม่ (New Normal) ที่จะได้ร่วมกันฝึกประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ ออกแบบแผนธุรกิจร่วมกับสถานประกอบการจริงผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่ ที่จะต่อยอดการปั้น “MICE Start Up” ใน ๕ กลุ่ม อาชีพ ไมซ์ ได้แก่ การประชุมองค์กร , การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล, การประชุมวิชาชีพ ,งานแสดงสินค้าและงานอีเว้นท์ รวมทั้งด้านการจัดการสุขอนามัยด้านไมซ์ผ่าน ๑๗ กลุ่มเครือข่ายเยาวชน สร้าง ๑๐ MICE Start up ภายใต้แนวคิดการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดงานไมซ์ รวมถึงแพลทฟอร์มออนไลน์ในภาวะวิกฤติ COVID-19 และสังคมวิถีใหม่ (New Normal) ส่งเสริมต่อยอดนวัตกรรมด้านไมซ์ให้ประเทศไทยในอนาคต และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจ้างงานผ่าน “ตลาดนัดแรงงาน” (Job Fair) โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายให้ประชาชน บัณฑิตที่ว่างงาน นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการทั่วประเทศ

นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการของ ทีเส็บ กล่าวว่า ในขณะที่รากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศในขณะนี้คือการสร้าคน สร้างงาน สร้างรายได้ ทีเส็บจึงร่วมมือกับพันธมิตรหลายหน่วยงาน คือ สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน, สมาคมการแสดงสินค้า(ไทย), สมาคมโรงแรมไทย, สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย) และเครือข่ายภาคการศึกษาไมซ์ในภูมิภาค ร่วมกันจัดตั้งโครงการเครือข่ายเยาวชนไมซ์ หรือ “MICE Student Chapter” สานฝันนิสิต นักศึกษาไทยที่อยากเรียนรู้และเข้าการทำงานในสายอาชีพในอุตสาหกรรมไมซ์แบบครบวงจร การดำเนินงานของโครงการจะผ่านการสร้างเครือข่ายภาคเยาวชนในสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านไมซ์ ในประเทศกว่า 100 แห่งที่เป็นพันธมิตรของทีเส็บ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง ผลักดันองค์ความรู้ กิจกรรมด้านไมซ์ในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรรุ่นใหม่เข้าสู่สายอาชีพ ที่เป็นประโยชน์ต่อนิสิต นักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการฯ เช่น ทุนการศึกษา โอกาสได้งานบริษัทไมซ์ชั้นนำ การฝึกทำแผนธุรกิจร่วมกับสถานประกอบการจริงรวมทั้งได้รับคาปรึกษา แนวคิด ตลอดการทางานร่วมกับสถานประกอบการ การประกวดแข่งขันแผนธุรกิจ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อเร่งพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทยเรื่องบุคลากร ซึ่งเป็นภารกิจที่ต้องเดินหน้าอย่างเร่งด่วนในภาวะวิกฤตโควิดนี้ ที่จะยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย สู่การแข่งขัน โดยวางเป้าหมายประเทศไทยเป็น “สถาบันองค์ความรู้ไมซ์ในภาคพื้นอาเซียน” หรือ “ASEAN MICE Institute” ที่จะต้องอาศัยเยาวชนอนาคตของชาติเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จ

นายสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา นายกสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) กล่าวว่า การพัฒนาทักษะในการทำงานด้าน การประชุมองค์กร (Meetings), การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentives), การประชุมวิชาชีพ (Conventions), เยาวชนควรมีความเข้าใจพื้นฐานของงานแต่ละประเภท รวมถึงเริ่มพัฒนาตนเองจากพื้นฐานและต่อยอดการทำงานขึ้นเรื่อย ๆ โดยเริ่มจากสิ่งที่ถนัดแล้วค่อย ๆ พัฒนาการทำงานก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ การเข้าใจวัตถุประสงค์ของลูกค้ามีความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำงานให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ นอกจากนี้ทักษะที่ต้องการในการทำงาน เช่น การรวมรวมข้อมูล การเปิดหูเปิดตา พัฒนาตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงาน หากนักศึกษาได้มีโอกาสฝึกประสบการณ์มากขึ้น ก็จะทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดความรู้ ความสามารถได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามในธุรกิจไมซ์ ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทำงานที่มากขึ้น ความปลอดภัยในการจัดงานที่มีมากขึ้น การวางแผนที่ละเอียดขึ้น แต่การพบปะเจอกันแบบเผชิญหน้า หรือที่เรียกว่า face-to-face เป็นสิ่งสำคัญและช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมองค์กร (Meetings), การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentives), การประชุมวิชาชีพ (Conventions)

นายทาลูน เทง นายกสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) กล่าวว่า ทักษะที่นักศึกษาหรือเยาวชนสามารถนำมาปรับใช้ในธุรกิจการจัดแสดงนิทรรศการ คือ ความละเอียดอ่อน ความอยากรู้อยากเห็น ความรักในงานที่ทำ โดยงานส่วนของธุรกิจการจัดแสดงนิทรรศการมีหลากหลายทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง เช่น การออกไปพบปะลูกค้าและการพบกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ การสนับสนุน การประสานงานกับลูกค้า เป็นต้น การพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น ความรู้รอบตัว ความใส่ใจในการทำงาน การใช้ภาษา การปรับตัวกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการทำงาน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถประสบความสำเร็จในการทำงานได้ ดังเช่นในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส เราต้องหาให้เจอว่าโอกาสนั้น ๆ คืออะไร เช่น การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น การปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามธุรกิจการจัดแสดงสินค้านั้น เป็นธุรกิจที่ต้องพบปะพูดคุยกัน แต่ในอนาคตอาจมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การจัดงานแบบ Hybrid คือ การที่คนมาพบปะกันในสถานที่จริง ผสมผสานกับการทำนิทรรศการเสมือนจริง หรือ Virtual Exhibition การจัดงานจะมีความตื่นเต้น หลากหลายและสร้างสรรค์มากขึ้น ดังนั้นนิสิต นักศึกษาและเยาวชนที่สนใจในธุรกิจไมซ์ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเอง โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่มาพร้อมกับการเรียนรู้ หรือการฝึกงาน การทำแผนธุรกิจกับสถานประกอบการนั้น ๆ อีกทั้งยังเชื่อว่า MICE Student Chapter จะเป็นตัวแทนของคนกลุ่มไมซ์ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

นายอุปถัมภ์ นิสิตสุขเจริญ นายกสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน กล่าวว่า การทำงานในธุรกิจอีเวนท์ มีความหลากหลาย เป็นการผสมผสานกันหลายแขนงวิชา เช่น จิตวิญญาณของการจัดการ การมีจิตใจบริการ (Service Mind)

ความรอบรู้ในหลาย ๆ เรื่องในการทำงาน เช่น ในการทำงานจริง อาจจะเจอโจทย์ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน การแก้ปัญหาแบบใหม่ ๆ ซึ่งถือเป็นสเน่ห์ของการทำงาน หากเรามีความรักมีความสุขในงานที่ทำ และมีความตั้งใจ งานนั้น ๆ ก็จะประสบความสำเร็จ ในอนาคตของธุรกิจอีเวนท์จะมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น การจัดงานแบบออนไลน์ที่จะมาช่วยเสริมการจัดอีเวนท์นั้น ๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น วิธีการจัดการของการจัดงาน คือมีการเก็บข้อมูลของผู้เข้าร่วมงานให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น สุขภาพอนามัยของคนที่มาเข้าร่วมงาน การเตรียมตัวเข้าร่วมงาน เป็นการเพิ่มการระมัดระวังและความปลอดภัยในกับการจัดงานมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าการพบปะระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่คนในสังคมต้องการและเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนวิถีชีวิต รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

นางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาบุคลากรเป็นเรื่องที่ท้าทายมากในยุคโควิด สสปน. ยังคงเดินหน้าสร้างความมั่นใจให้อุตสาหกรรมไมซ์ ส่งเสริมพัฒนาเยาวชนไมซ์เข้าร่วมฝึกประสบการณ์การทำงาน โดยปรับเปลี่ยน Mindset ในยุค NEW NORMAL ร่วมกับผู้ประกอบการโดยให้โอกาสน้องๆ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานผ่านรูปแบบ Social ภายใต้โครงการ MICE Student Chapter จากบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการกว่า 15 บริษัท อาทิ Pullman Hotel Bangkok, NCC Exhibition Organizer, CMO MICE Business Unit, Centara Grand and Central World, Stream Events Asia DMC, Paragon Hall, Kingsmen C.M.T.I Public Co., Ltd, VNU Exhibitions Asia Pacific Co., Ltd. รับนักศึกษาเข้าฝึกงานเพื่อพัฒนาแผนธุรกิจร่วมกัน โดยใช้ระยะเวลาพัฒนาแผนธุรกิจ 2 เดือน ก่อนที่คณะกรรมการจะมีการคัดเลือกแผนธุรกิจที่เด่นที่สุดแล้วนำมาพัฒนาต่อยอดในการสร้างธุรกิจใหม่ให้อุตสาหกรรมไมซ์ไทยในวิกฤตนี้ นอกจากนี้ภายในงานเปิดตัวโครงการ MICE Student Chapter ยังได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ คุณเฟอร์รี่ ทาโจโน่ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลเวิลด์ และ คุณปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี ผู้บริหารบริษัท ฟังใจ จำกัด สตรีมมิ่งสัญชาติไทยที่มาพร้อมม็อตโต้ “ประชาธิปไตยทางดนตรี” มาแบ่งปันประสบการณ์ เสริมกำลังใจ ในช่วง “เก่งครบเครื่องเรื่องไมซ์ และ Keep แนวคิด “Keep Calm and Explore the World & The Future Belongs to You” คาดการณ์ว่าจะมีเยาวชนไมซ์รุ่นใหม่เข้าสู่วงการกว่า ๑,๐๐๐ คน

สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ ของโครงการ สามารถติดตามได้ที่ www.micestudentchapter.com หรือโทร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ