นศ.คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยพืชชายฝั่งตรวจจับน้ำมันรั่ว เฝ้าระวังระบบนิเวศทางทะเล

พฤหัส ๒๕ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๐:๐๔
การเกิดน้ำมันรั่วไหลในท้องทะเล ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง รวมถึงทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งสาเหตุของการรั่วไหลเกิดขึ้นได้ทั้งตามธรรมชาติ และเกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยคราบน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศบริเวณนั้น รวมถึงอัตราการสังเคราะห์แสงของพืชที่ขึ้นเจริญเติบโตอยู่ในน้ำทะเล
นศ.คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยพืชชายฝั่งตรวจจับน้ำมันรั่ว เฝ้าระวังระบบนิเวศทางทะเล

รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดทั้งวิกฤติ และโอกาส โดยช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ต้องอยู่บ้าน เพื่อรักษาระยะห่างป้องกันการติดเชื้อ (Social Distancing) กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่ดีที่เหล่าสิ่งมีชีวิตรวมถึงพืชพรรณต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ว่างเว้นจากการถูกทำลายโดยมนุษย์

ที่ผ่านมา ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลบอบช้ำจากการรั่วไหลของน้ำมันที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยสาเหตุหลัก ได้แก่ จากการขุดเจาะ ขนส่ง และลักลอบปล่อยน้ำมันลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ได้สนับสนุนให้นักศึกษาระดับปริญญาโทศึกษาวิจัยและประเมินความสามารถของพืชในการเป็น Bioindicator เพื่อตรวจจับน้ำมัน โดยเปรียบเทียบระหว่าง "ผักบุ้งทะเล" ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ และ "หญ้าไหวทาม" ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยคาดว่าผลจากการศึกษาพืชเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการตรวจจับการปนเปื้อนของน้ำมันในธรรมชาติได้

นางสาวญาณิศา โอฬารานนท์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการพืช (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ศึกษาวิจัย เรื่อง “ผลกระทบของน้ำมันดิบต่อพืชชายฝั่งทะเล” กล่าวเสริมว่า พืชเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญต่อระบบนิเวศ โดยพืชชายฝั่งทะเลเปรียบเสมือน “ยามชายฝั่ง” ที่อาจตรวจจับการรั่วไหลของน้ำมัน และส่งสัญญาณให้เรารับรู้ได้แม้ว่ามีการปนเปื้อนเพียงเล็กน้อย

จากการศึกษาโครงสร้างภายในของพืชเปรียบเทียบกันระหว่างพืชที่ได้รับน้ำมันดิบ และไม่ได้รับน้ำมันดิบ พบว่า “หญ้าไหวทาม” มีคุณสมบัติในการเป็น Bioindicator ตรวจจับน้ำมันดิบได้ เนื่องจากมีความสามารถในการปรับตัวเมื่อได้รับน้ำมันดิบในความเข้มข้นเพียงร้อยละ 1 โดยมีการปรับเปลี่ยนลักษณะเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้นานถึง 120 วัน ในขณะที่ “ผักบุ้งทะเล” มีความสามารถในการปรับตัวที่น้อยกว่าและไม่สามารถทนต่อน้ำมันดิบได้

จากผลการวิจัยนี้สามารถนำไปถ่ายทอดเป็นความรู้ให้กับคนทั่วไปเพื่อประยุกต์ใช้ “หญ้าไหวทาม” เป็นเครื่องมืออย่างง่ายและราคาถูกสำหรับตรวจจับการปนเปื้อนของน้ำมันดิบในเขตชุมชนนั้นๆ และใช้ “ผักบุ้งทะเล” เป็นกรณีศึกษาเพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล เนื่องจากพืชหลายชนิดอาจไม่สามารถทนทานต่อการปนเปื้อนได้เช่นเดียวกับผักบุ้งทะเล

นางสาวญาณิศา โอฬารานนท์ จะร่วมเสนอผลงานแบบปากเปล่า (Oral Presentation) ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ระดับปริญญาโท เพื่อเข้าชิงรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2563 ระหว่างเวลา 09.00 - 11.00 น. ผ่าน Zoom ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียด และลงทะเบียนเพื่อเข้าฟังแบบออนไลน์ได้ที่ https://www.facebook.com/grad.mahidol สอบถาม email : [email protected]

นศ.คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยพืชชายฝั่งตรวจจับน้ำมันรั่ว เฝ้าระวังระบบนิเวศทางทะเล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4