เมื่อ “ทักษะ” สำคัญกว่าใบปริญญา “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” จะเป็นแนวทางการศึกษาของอนาคต สร้าง “กำลังคนคุณภาพ” ด้วย Hard Skills และ Hyper-relevant Skills

จันทร์ ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๕๕
หากมองย้อนไปเมื่อ 20 ปีก่อน บางครอบครัวถือว่าการมีใบปริญญาจากมหาวิทยาลัยดังเปรียบเสมือนสิ่งที่สำคัญที่สุด ในชีวิต กลับกันเมื่อเจ้าพ่อนักประดิษฐ์คนดังอย่าง Elon Musk เจ้าของธุรกิจที่สร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลกอย่าง Tesla และ SpaceX ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในปี ค.ศ. 2014 และมีการกล่าวในทวิตเตอร์อยู่บ่อยครั้งถึงการรับคนเข้าทำงานในบริษัทของเขา โดยมีใจความสำคัญว่า “เขาไม่ได้สนใจใบปริญญาแต่กลับมองหาเอกสารหรือใบการันตีความสามารถพิเศษที่สามารถพิสูจน์ได้ หรือเรียกง่ายๆ นั่นคือ Portfolio” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า ใบปริญญาอาจจะไม่ได้เป็นเครื่องการันตี 100% ว่า คุณคือผู้สมัครที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติที่เหมาะสมและจะถูกเลือก หากแต่บริษัทชั้นนำต่างๆ จะหยิบยกและค้นหาสิ่งที่เรียกว่า “ทักษะ” และ “ความสามารถที่พิเศษ” มาเป็นตัวชี้วัดและพิจารณารับคนเข้าทำงานมากยิ่งขึ้น ในอีกทางหนึ่งเราจะเห็นได้จากผู้ทรงอิทธิพลที่สามารถผลักดันธุรกิจให้มีมูลค่ามหาศาลและสร้างปรากฏการณ์พลิกโลก หลายคนก็ไม่ได้เรียนจบมหาวิทยาลัย แต่กลับประสบความสำเร็จมากมายไม่ว่าจะเป็น Bill Gates แห่งอาณาจักร Microsoft หรือ Larry Ellison ผู้ก่อตั้ง Oracle รวมถึง Richard Branson ผู้ก่อตั้ง Virgin Group หรือแม้แต่กระทั่ง Steve Jobs สุดยอดซีอีโอผู้ล่วงลับแห่ง Apple ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “ทักษะ” เปรียบเสมือน “อาวุธสำคัญ” แห่งโลกยุคนี้และโลกอนาคตในการสร้าง “กำลังคนคุณภาพ” ที่จะผลักดันองค์กรให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวไกลและสามารถสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละประเทศได้อย่างยั่งยืน
เมื่อ ทักษะ สำคัญกว่าใบปริญญา การเรียนรู้ตลอดชีวิต จะเป็นแนวทางการศึกษาของอนาคต สร้าง กำลังคนคุณภาพ ด้วย Hard Skills และ Hyper-relevant Skills

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “SEAC เชื่อเสมอว่า “คน” คือทรัพยากรอันทรงคุณค่าในการสร้างสรรค์ แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตามโจทย์พันธกิจของเราในเรื่อง Empower Living เรายังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจในการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของคนไทยผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเพิ่มคุณค่าและตอบโจทย์ทุกเป้าหมาย ของการใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งโลกปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีความไม่แน่นอนสูงมาก องค์ความรู้ใหม่ ก็จะต้องเกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อให้สอดรับสถานการณ์ หลักสูตรและวิชาการที่สอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทัน SEAC เดินหน้าสรรหาพันธมิตรที่มีมาตรฐาน ความเชี่ยวชาญและเจตนารมณ์เดียวกับเราเพื่อร่วมกัน Reskill และ Upskill คนไทย จนเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ SEAC ขึ้น เพื่อหาแนวทางในการสร้างและพัฒนา “กำลังคนคุณภาพ” ให้พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) ที่จะพัฒนานักศึกษา ที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่โลกของการทำงานให้พร้อมทั้งทักษะ Hard Skills หรือ ความรู้เชิงเทคนิค และ Hyper-relevant Skills หรือ ความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน หรือเรียกง่ายๆ ว่า ทักษะชีวิต ที่จะนำไปสู่โอกาสมากมายในการทำงาน”

Hard Skills และ Hyper-relevant Skills ต้องเกิดขึ้นควบคู่กัน สู่อีกขั้นของบันไดแห่งความสำเร็จ

Hard Skills หรือ ความรู้เชิงเทคนิค และ Hyper-relevant Skills หรือ ความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันตอนนี้มีความสำคัญมากต่อชีวิตการทำงาน โดยทักษะเหล่านี้ จะเกิดประสิทธิภาพได้ดีที่สุดเมื่อทำงานควบคู่ไปด้วยกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “Hard Skills ทำให้คุณได้สัมภาษณ์งาน แต่คุณจะได้งานและรักษางานจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จำเป็นต้องมี Hyper-relevant Skills” อาทิ การทำงานเป็นทีมได้ รู้แพ้รู้ชนะ สื่อสารกับคนอื่นรู้เรื่อง แสดงออกและเสนอความคิดได้ รวมทั้งมีระบบความคิดที่สมเหตุสมผล แปลว่า การเพิ่มทักษะอยู่ตลอดเวลา Upskill และ Reskill คือเคล็ดลับสำคัญ สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะเข้าตลาดแรงงาน รวมไปถึงคนที่อยู่ในระบบ การทำงานแล้ว

ทำไมหลักสูตร Non-Degree จึงเป็นทางออกใหม่สำหรับนักศึกษาและคนทำงาน

โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีความไม่แน่นอนสูง องค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา วิชาการที่เรียนอยู่วันนี้ อาจล้าสมัยในอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า หลายอาชีพกำลังจะหายไป บ้างถูกแทนที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาชีพใหม่ ก็ไม่อาจคาดเดาว่าเป็นอะไร หลากหลายธุรกิจต้องปรับ รวมไปถึงรูปแบบการใช้ชีวิตก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะทำให้เราสามารถอยู่รอดได้คือการรู้จักต่อยอดตัวเองและเน้นเพิ่มเติมทักษะที่จำเป็นเข้าไปเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สถาบันการศึกษาเองต้องพร้อมปรับตัว มองภาพใหม่ของการศึกษา ไม่ยึดติดกับการสอนเฉพาะเนื้อหาทางวิชาการแต่ต้องมองไปถึงทักษะการใช้ชีวิต รวมไปถึงกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตัวเองและตลอดชีวิตเพื่อความอยู่รอดในสังคมปัจจุบัน โดยหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) บนความร่วมมือระหว่าง มจธ. และ SEAC จะมาช่วยตอบความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะอัดแน่นไปด้วยทักษะเชิงเทคนิคความรู้และทักษะชีวิต สอนให้ผู้เรียนมี Learning Mindset ใหม่ๆ ที่สามารถปรับตัวให้เข้าได้กับทุกสถานการณ์ พร้อมส่งเสริมและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและมีทักษะครบถ้วนตามความต้องการของตลาดแรงงานผ่านการจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ตอบรับรูปแบบใหม่ของกรใช้ชีวิตที่มีคล่องตัว ทันสมัย และตรงกับความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ เรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ระบบออนไลน์ (Online Learning) แบบห้องเรียน (Classroom Learning) และรูปแบบอื่นๆ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อลดปัญหาแรงงานไม่มีคุณภาพ ลดอัตราคนว่างในอนาคต เน้นผลิต “คน” ที่ตรงกับความต้องการ

รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า “หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) จะไม่เน้นที่ใบปริญญา แต่จะเน้นสร้างศักยภาพให้กับ “นักศึกษา” โดยในที่นี้หมายถึง คนที่เข้ามาเรียนรู้ใน มจธ. ทุกคนต้องสามารถเอาความรู้มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์รูปแบบใหม่ๆ ได้ ซึ่งตรงนี้ มจธ. เชื่อว่าเราจะมองแต่นักเรียนที่จบ ม. 6 ไม่ได้ แต่ต้องมองคนที่อยู่ในระบบทำงานแล้วด้วย เพราะคนทุกคนมีความหมายและเป็นผู้นำที่สร้างงานที่มีคุณค่าและมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิม เป็นประโยชน์ให้สังคมได้ นอกจากนั้นทาง มจธ. เองก็ได้ให้ความสำคัญกับคณาจารย์ที่จะต้องมีหูตากว้าง ต้อง Upskill และ Reskill ด้วยเช่นกัน และต้องทำวิจัยที่ตอบโจทย์จริงของสังคม เป็นงานวิจัยที่เป็นที่ต้องการของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่มาใช้ถ่ายทอดให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเอาองค์ความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอด หรือแก้ไขปัญหา ในเชิงของบริการทางวิชาการให้กับภาคธุรกิจต่างๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยอีกด้วย นอกจากนั้น ภายใต้ความร่วมมือนี้ ยังจะสร้างทักษะให้กับกลุ่มอาชีพใหม่ๆ ป้อนภาคการศึกษา ได้แก่ Online Instructional Designer (นักออกแบบการสอนแบบออนไลน์), Virtual Learning Facilitator (อาจารย์เกื้อหนุนสำหรับการเรียนแบบออนไลน์) และ Data Scientist Facilitator (อาจารย์เกื้อหนุนด้าน Data Science) ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงอีกหนึ่งก้าวของ มจธ. ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณค่าและความหมายให้กับประเทศชาติและสังคมโลกด้วยการบูรณาการในหลากหลายมิติภายใต้บทพิสูจน์ในการ “ผลิตกำลังคนคุณภาพ” ป้อนเข้าสู่สังคมได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

นางอริญญา กล่าวสรุปว่า “จากการร่วมมือกันครั้งนี้ระหว่าง มจธ. และ SEAC นอกจากจะนับเป็นก้าวสำคัญของวงการศึกษาที่สถาบันของภาครัฐจับมือกับองค์กรด้านการเรียนรู้ภาคเอกชนเพื่อร่วมกันสร้างกำลังคนคุณภาพให้กับประเทศไทยจากการผสานความเข้มแข็งของทั้งสององค์กรแล้ว ยังถือเป็นมิติใหม่ที่ทั้งสองสถาบันจะสร้าง Lifelong Learning Community ให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย คือการร่วมเรียนรู้แบบไม่จำกัดเรื่องอายุ เป็นโอกาสสำคัญที่นักศึกษาและบุคลากรต่างๆ จะได้ร่วมเรียน ทำกิจกรรม แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดและประสบการณ์จริงกับผู้บริหารทุกระดับจากหลากหลายอุตสาหกรรมในคลาสเดียวกัน ในขณะเดียวกันกลุ่มคนทำงาน ผู้บริหารเองก็จะได้มุมมองสดใหม่จากเด็กรุ่นใหม่ รวมถึงประสบการณ์ที่แตกต่างจากกลุ่มบุคลากร แน่นอนว่าผลที่ได้คือการบูรณาการประสบการณ์ จากคนหลากหลายวัย ซึ่งการหลอมรวมทั้งสองส่วนคือประโยชน์ต่อทุกฝ่ายรวมถึงองค์กรหรือบริษัทอย่างเป็นรูปธรรม”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4