ปภ.บูรณาการระบบการแจ้งเตือนภัย เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลเตือนภัยรวดเร็ว ทั่วถึง

พฤหัส ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๑๙
การแจ้งเตือนภัยถือเป็นกระบวนการสำคัญในการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากสาธารณภัย ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประสานการปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเข้าถึงข้อมูลและได้รับการแจ้งเตือนภัยอย่างทั่วถึง สามารถวางแผนเตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยได้อย่างทันท่วงที

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการวางระบบพยากรณ์และเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้บูรณาการระบบการแจ้งเตือนภัยให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพเป็น 4 ขั้นตอนตามความรุนแรงและแนวโน้มของสถานการณ์ภัย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน ที่มีเอกภาพและเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ดังนี้

4 ขั้นตอนการแจ้งเตือนภัย

การเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ภัย เป็นการติดตามข้อมูลสถานการณ์ภัย โดยหน่วยงานทางวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและเครื่องมือทางเทคนิค อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี กรมอุทกศาสตร์ ซึ่งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล ประเมิน วิเคราะห์ และคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ภัย เพื่อเตรียมรับมือสาธารณภัยการแจ้งเตือนล่วงหน้า เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่บ่งชี้ว่ามีแนวโน้มจะเกิดสาธารณภัย โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางแจ้งข้อมูลข่าวสารแนวโน้มการเกิดสาธารณภัยไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อให้ติดตามข้อมูลด้านสาธารณภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับระยะเวลาในการแจ้งเตือนล่วงหน้าขึ้นอยู่กับประเภทของสาธารณภัย โดยทั่วไปต้องแจ้งเตือนล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 120 ชั่วโมง โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์และหน่วยงานที่มีหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัย เพื่อให้การแจ้งเตือนล่วงหน้ามีเอกภาพและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยการแจ้งเตือนภัย เมื่อประเมินแล้วมีความเสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางดำเนินการแจ้งแนวทางปฏิบัติแก่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ให้เตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยแจ้งเตือนก่อนเกิดภัยไม่ต่ำกว่า 72 ชั่วโมง มุ่งเน้นการแจ้งเตือนข้อมูลแนวโน้มสถานการณ์ภัย คาดการณ์ระยะเวลา พื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดสาธารณภัย และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัย ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีการรับมือและการอพยพ โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแต่ละระดับกำหนดแนวทางการดำเนินงาน พร้อมจัดทำแผนอพยพครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการกำหนดเส้นทางอพยพ การฝึกซ้อมแผนอพยพ และจัดหาศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยมีศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตเป็นหน่วยสนับสนุนทรัพยากรเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยในการเผชิญเหตุและรับมือสถานการณ์ภัย

ระดับของการเตือนภัย

เป็นการระบุระดับความรุนแรงและแนวโน้มสถานการณ์ภัย รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตนของประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยได้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัย

สีแดง > ภาวะอันตรายสูง > ประชาชนควรอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ

สีส้ม > ภาวะเสี่ยงอันตรายสูง > เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างควบคุมสถานการณ์ ประชาชนควรอพยพไปยังสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด

สีเหลือง > ภาวะเสี่ยงอันตราย มีแนวโน้มสถานการณ์จะรุนแรง > ประชาชนควรเตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยและปฏิบัติตามคำแนะนำ

สีน้ำเงิน > ภาวะเฝ้าระวัง > ประชาชนควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

อย่างต่อเนื่อง

สีเขียว > ภาวะปกติ > ประชาชนควรติดตามข้อมูลสภาพอากาศอยู่เสมอ

ช่องทางการแจ้งเตือนภัย

เมื่อประเมินสถานการณ์แล้ว คาดว่ามีแนวโน้มเกิดสาธารณภัย จะดำเนินการแจ้งเตือนภัยผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ ข้อความสั้น (SMS) โทรสาร โทรศัพท์ สถานีวิทยุกระจายเสียง เว็บไซต์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เว็บไซต์ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หอเตือนภัยและอุปกรณ์แจ้งเตือนภัย รวมถึงสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ และแอปพลิเคชัน DPM Reporter

ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มุ่งพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัย ของประเทศให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อให้การแจ้งเตือนภัยให้มีความแม่นยำ และประชาชนเข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และครอบคลุมทุกพื้นที่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest