นักวิชาการ 'สงขลานครินทร์’ รับรางวัล Southeast Asia Women 2020 จากการขับเคลื่อนงานวิชาการติดตามสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง

อังคาร ๑๘ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๒๓
นักวิชาการ ม.สงขลานครินทร์ ได้รับคัดเลือกจาก Young Southeast Asia Leader Initiative (YSEALI) Women’s Leadership Academy Alumni Network เครือข่ายเพื่อสนับสนุนบทบาทการเป็นผู้นำของผู้หญิงและส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้รับรางวัล Southeast Asia Women 2020 จากความมุ่งมั่นใช้งานวิชาการติดตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง
นักวิชาการ 'สงขลานครินทร์ รับรางวัล Southeast Asia Women 2020 จากการขับเคลื่อนงานวิชาการติดตามสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง

ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ ม.อ. เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามันอย่างจริงจังมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมา ม.อ.ได้มีการจัดตั้งสถานวิจัยสมุทรศาสตร์ชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG (Sustainable Development Goal) ในหัวข้อว่าด้วยการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล ตามกรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ โดยที่ผ่านมา มีนักวิจัย ม.อ. ได้ลงพื้นที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการประเมินศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศหญ้าทะเล เพื่อทำงานเชิงวิชาการในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมชายฝั่ง

ทั้งนี้ จากความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างจริงจังของนักวิชาการ ม.อ. ทำให้ Young Southeast Asia Leader Initiative (YSEALI) Women’s Leadership Academy Alumni Network ซึ่งเป็นเครือข่ายสนับสนุนบทบาทการเป็นผู้นำของผู้หญิงและส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้คัดเลือก ผศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. เป็น 1 ใน 80 คน จาก 10 ประเทศ และกลุ่มสาขา ให้รับรางวัล Southeast Asia Women 2020 ในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และการศึกษา

ผศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย Southeast Asian Women โดยได้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการประเมินศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศหญ้าทะเล ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องอาศัยเครือข่ายและการสื่อสารให้แก่ทุกภาคส่วน เพื่อช่วยกันบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทำงานด้านวิชาการด้านการติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งและสภาพภูมิอากาศ จึงทำให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้

“ต้องขอบคุณมหาวิทยาลัยที่เห็นความสำคัญของดูแลสิ่งแวดล้อมตามชายฝั่ง จึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถานวิจัยสมุทรศาสตร์และให้โอกาสตนได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง โดยมีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งทำให้เราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล ตามกรอบการดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติ” ผศ.ดร.พิมพ์ชนก กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4