เปิดมุมมองหลักสูตร CCIO รุ่น 3 กับการพัฒนาเมืองสู่เมืองนวัตกรรม เพื่อองค์กรยุค2020

จันทร์ ๒๔ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๔๔
“นวัตกรรม” กำลังกลายเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาธุรกิจทั้งด้านวิกฤตและโอกาสให้คลุมในทุกมิติ ซึ่งหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ต่างเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะขึ้นของโลกในอนาคต
เปิดมุมมองหลักสูตร CCIO รุ่น 3 กับการพัฒนาเมืองสู่เมืองนวัตกรรม เพื่อองค์กรยุค2020

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA NIA ยังคงดำเนินการพัฒนาหลักสูตรหลักสูตร “ผู้บริหารเมืองนวัตกรรม” (Chief City Innovation Officer: CCIO) อย่างต่อเนื่อง และในปี 2563 ได้สานต่อเปิดหลักสูตรผู้บริหารเมืองนวัตกรรมเป็นรุ่นที่ 3 เพื่อพัฒนาบุคลากรที่จะเข้ามาพัฒนาเมืองให้เกิดนวัตกรรม และนำพาประเทศก้าวสู่อนาคตอย่างสมบูรณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนัช สุขวิมลเสรี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในผู้บริหารที่ให้ความสนใจเข้าร่วมหลักสูตรนี้ เปิดเผยว่า เมื่อได้เห็นข่าวการเปิดรับสมัครการอบรมในหลักสูตร CCIO 2020 รุ่นที่ 3 จึงเกิดความสนใจ และมีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมการอบรม เพื่อต้องการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเป็นผู้นำที่เท่าทันโลก มีความรู้และความเข้าใจในนวัตกรรมที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนและพัฒนาเพื่อยกระดับความเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม

“ด้วยหลักสูตรผู้บริหารเมืองนวัตกรรม รุ่นที่ 3 มุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดความรู้ให้แก่กลุ่มผู้บริหารระดับสูง กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง จากภาครัฐ ภาคการพัฒนา ภาคการลงทุน ภาคการศึกษา ภาคการบริการโครงสร้างพื้นฐาน และภาคประชาสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความสามารถและสร้างมุมมองความเข้าใจในนวัตกรรมให้สามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาเชิงพื้นที่ จึงเป็นความคาดหวังของผมซึ่งอยู่ในภาคการศึกษา ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญในการช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองในบริบทของนวัตกรรม และได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้เข้าร่วมการอบรมที่มาจากทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นจุดสำคัญในการทำให้ประเทศก้าวสู่ความเป็นนวัตกรรมในอนาคตอันใกล้

ผมคิดว่าทุกท่านที่เข้าอบรมน่าจะมีความรู้สึกเดียวกัน คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการอบรมด้วยหลักสูตรที่ออกแบบมาอย่างมีคุณภาพนี้ จะสามารถนำไปต่อยอดความรู้และสร้างความพร้อมด้านการพัฒนาและจัดการเมืองนวัตกรรม รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาเมืองร่วมกันของกลุ่มผู้บริหาร เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการมีส่วนร่วมในการบริหารเมืองให้กลายเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม ที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ชุมชน และสังคมในพื้นที่เมืองต่างๆ ของประเทศให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี”

อ.ธนัช กล่าวต่อว่า ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตรนี้ จะเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้และต่อยอด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารและการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยผ่านการสอนและการวิจัยเพื่อส่งเสริมและให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่ยั่งยืนต่อไป

“ตลอดการอบรมในหลักสูตรนี้ ผมเกิดความประทับใจในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความพร้อมในการจัดการอบรม โดยเฉพาะการเลือกสถานที่อบรม หัวข้อเรื่องที่มีการวางลำดับและคัดสรรมาอย่างดี การเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ที่เต็มเปี่ยมเกี่ยวกับความเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้ลงไปสัมผัสกับพื้นที่ศึกษาโดยตรง นอกจากนี้ ยังได้คัดสรร Moderator ที่มีความช่ำชองในด้านผังเมือง มาดำเนินรายการและสรุปในประเด็นสำคัญ และที่ขาดไม่ได้คือ เจ้าหน้าที่ทุกท่านที่อำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่ต้นจนจบ และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้จัดการอบรมในหลักสูตรนี้ หากเป็นไปได้ผมอยากให้มีการติดตามความสำเร็จของผู้เข้าอบรมในทุกรุ่นที่ได้นำองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงเพื่อเป็นการสร้างฐานข้อมูล และเพื่อให้เกิดความเป็นเครือข่ายที่ใหญ่และแข็งแกร่งในการพัฒนาเมืองร่วมกันของทุกรุ่น”

ทางด้าน ดร.สมชาย ฉินสกลธนากร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปัจจุบันตนรับผิดชอบงานหลายส่วนด้วยกัน ทั้งโปรแกรมที่ทำเกี่ยวกับดิจิตอล, งานที่เกี่ยวข้องกับ Smart City, ทำรถระบบราง และดูแลเรื่องการทำ EOD ของสถานีรถไฟ รวมถึงการพิจารณาให้ทุนวิจัยเกี่ยวกับการทำ EOD นอกจากนี้ก็มีเรื่องของการทำ Industry 4.0 อีกด้วย

ดังนั้นการตัดสินใจเข้าร่วมหลักสูตรนี้ก็เพราะว่าที่ผ่านมางานที่ดูแลอยู่เกี่ยวเนื่องกับ Smart City ค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงคาดหวังว่าการเรียนหลักสูตร CCIO นี้อย่างแรกเลยก็จะได้ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรม การที่จะนำเอานวัตกรรมนั้นมาใช้ในการพัฒนาเมือง หรือ Theme ของ Smart City และอีกสิ่งหนึ่งที่จะได้ก็คือ Connection หรือ Network กับผู้ที่เข้ามาร่วมในหลักสูตรรุ่นนี้ รวมถึงรุ่นที่เรียนไปแล้วและรุ่นที่จะตามมา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเชื่อมโยงการทำงานมากขึ้น

“สำหรับความประทับใจจากการเข้าร่วมหลักสูตรนี้ ก็คือความกระตือรือร้นของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เข้าร่วมคลาสทุกท่าน ทำให้เวลาที่พูดคุยกันก็เหมือนเราได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ทำความรู้จักกัน ทุกคนต่างก็มีประสบการณ์ในการทำงานด้านที่เกี่ยวข้องมาพอสมควร ส่วนตัวผมก็อยากมาสร้าง Connection ก็เลยทำให้รู้จักกันได้ง่ายขึ้น แม้จะเป็นการพูดคุยผ่าน Group Line ก็ตาม ดังนั้นถ้าถามว่า หากมีโอกาสในการอบรมครั้งต่อไป จะส่งตัวแทนจากองค์การหรือหน่วยงานในความดูแลเข้าร่วมอบรมหรือไม่ ต้องบอกว่าเรื่องนี้ผมยินดีมาก”

ในอนาคตอันใกล้เราคงได้เห็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นำองค์ความรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง รวมถึงต่อยอดเครือข่ายการพัฒนาเมืองไปปรับใช้เป็นผลสำเร็จ

เปิดมุมมองหลักสูตร CCIO รุ่น 3 กับการพัฒนาเมืองสู่เมืองนวัตกรรม เพื่อองค์กรยุค2020 เปิดมุมมองหลักสูตร CCIO รุ่น 3 กับการพัฒนาเมืองสู่เมืองนวัตกรรม เพื่อองค์กรยุค2020

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน