สภาวิศวกร เตรียมปรับเงื่อนไขยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” รับวิศวกรโลกยุคใหม่ ตั้งเป้ารองรับผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรมทุกมิติ

จันทร์ ๓๑ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๑๔
สภาวิศวกร เล็งปรับเงื่อนไขยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” หนุน “วิศวกรรุ่นใหม่” รับยุคดิสรัปชัน ผ่านการนำเสนองานวิจัย หรือแผนดำเนินการแก้ไขสอดคล้องสถานการณ์สังคม อาทิ วิกฤตสุขภาพโควิด-19 หรือภัยธรรมชาติ รุดกระตุ้นวิศวกรรุ่นใหม่ พร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลงในยุคดิสรัปชัน บนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญงานวิศวกรรมทุกมิติ นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร ยังแนะการปรับโครงสร้างอาคาร-สิ่งก่อสร้าง รับ NEW NORMAL ลงทุนสูง ย้ำทุกหน่วยงานยึดหลัก “เว้นระยะห่างทางสังคม - รักษาความสะอาด” ต่อเนื่อง ป้องกันโควิด-19 โดยคาดว่าจะสิ้นสุดไม่เกินปี 2564
สภาวิศวกร เตรียมปรับเงื่อนไขยื่นขอ ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รับวิศวกรโลกยุคใหม่ ตั้งเป้ารองรับผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรมทุกมิติ

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่ผ่านมา สังเกตได้ว่า นอกเหนือจากองค์ความรู้ด้านการแพทย์ที่มีบทบาทสำคัญในการคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อ และการตรวจรักษา ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ ก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สภาวิศวกร ในฐานะหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพของวิศวกรไทย จึงเตรียมปรับเงื่อนไขการยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” และการสอบเลื่อนขั้น ผ่านการนำเสนอผลงานด้านวิศวกรรม ที่มีส่วนช่วยแก้ไขหรือบรรเทาสถานการณ์โควิด-19 หรือภัยพิบัติธรรมชาติ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อให้วิศวกรรุ่นใหม่พร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงยุคดิสรัปชัน บนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมครบทุกมิติ

แต่ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ หากขาดความร่วมมือจากทุกมหาวิทยาลัย ที่มีการเรียนการสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการบ่มเพาะทักษะการเรียนรู้นักศึกษา ให้มีความคิดอ่านที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมในอนาคต

อย่างไรก็ดี แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย จะคลี่คลายลง แต่หลายภาคส่วนยังคงให้ความสำคัญกับมาตรการควบคุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distance) การทำความสะอาดด้วยเทคโนโลยีฆ่าเชื้อ และมาตรการตรวจคัดกรองบุคคลด้วยการวัดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดซ้ำ นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างอาคาร/โครงสร้างสาธารณะ ยังเป็นอีกหนึ่งแนวทางแก้ไขในระยะยาว ที่หลายหน่วยงานให้ความสนใจรับวิถีนิวนอร์มอล (New Normal) ซึ่งต้องยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าว เป็นการลงทุนค่อนข้างสูง และอาศัยเวลานาน ดังนั้น ในกรณีที่หน่วยงานมีความต้องการปรับโครงสร้างเร่งด่วนและต้นทุนต่ำ สามารถใช้ “ฉากกั้น” แบ่งโซนพื้นที่ทานข้าว-ทำงานเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล คู่ขนานกับการนำเทคโนโลยีฆ่าเชื้อเข้ามาปรับใช้ ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสิ้นสุดไม่เกินปี 2564 ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรได้ที่ www.facebook.com/coethailand, www.coe.or.th ไลน์ไอดี @coethai หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สายด่วน 1303

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4