รมว. ดีอีเอส มอบนโยบายผู้บริหารบูรณาการโครงการหนุนเพิ่มรายได้ปชช.

พุธ ๑๖ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๗:๐๙
“พุทธิพงษ์” มอบนโยบายผู้บริหารดีอีเอส และหน่วยงานในสังกัด ถึงยุคปรับ Mindset เชื่อมโยงหลายโครงการเข้ามาทำร่วมกัน บูรณาการข้อมูล สนับสนุนการต่อยอดให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเพื่อเพิ่มรายได้ บรรเทาผลกระทบจากเศรษฐกิจหลังโควิด-19
รมว. ดีอีเอส มอบนโยบายผู้บริหารบูรณาการโครงการหนุนเพิ่มรายได้ปชช.

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วันนี้ (11 ก.ย. 63) เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายผู้บริหาร ในโอกาสที่มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนงานสำคัญ ปี พ.ศ. 2564 ของกระทรวงดิจิทัลฯ กำหนดทิศทางเพื่อมุ่งสร้างการปรับเปลี่ยนแนวคิด (Mindset) ในการทำงาน โดยนำโครงการแต่ละหน่วยงานที่สามารถเชื่อมโยงกันได้มาทำร่วมกัน นำทักษะของแต่ละหน่วยงานมาต่อยอดโครงการ เพิ่มความรู้และทักษะให้กับประชาชนที่เป็นกลุ่มผู้รับประโยชน์ มีการติดตามผลและบูรณาการข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน และเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับประชาชน โดยเฉพาะในสถานการณ์หลังโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบแทบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

ปัจจุบัน เห็นภาพชัดเจนแล้วว่าหลังโควิด-19 ทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันและการทำงาน ปรับเปลี่ยนมาเป็นดิจิทัล เป็นสถานการณ์ที่เจอกันทั่วทุกพื้นที่ ทำให้การสื่อสารมีความสำคัญ ระบบเปลี่ยนแปลง และเมื่อระบบเปลี่ยนแปลง ดีอีเอส ซึ่งมีบทบาทชัดเจนด้านนี้ และผู้บริหารกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิด

ทั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างโครงการนำร่องที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ คือ โครงการ Free Wi-Fi ในพื้นที่ชุมชนเมืองกรุงเทพ และภูมิภาค มุ่งเป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำในชุมชนเมือง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ต และเพื่อต่อยอดด้านดิจิทัล สร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน และปรับวิถีการใช้ชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) โดยมอบหมายให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ. ทีโอที สำรวจและคัดเลือก กำหนดไว้รายละ 10 พื้นที่ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกอยู่แล้ว

“โครงการนี้เราใช้วิธีคิดแบบใหม่ เน้นการต่อยอดพื้นที่มีโครงข่ายลากไปถึงอยู่แล้ว ที่พื้นที่เป้าหมายเป็นชนบทและพื้นที่ห่างไกล ติดตั้งหมู่บ้านละ 1 จุด ซึ่งเดิมมองที่การอำนวยความสะดวก ให้ชาวบ้านเข้าถึงการสื่อสารได้ แต่จากผลกระทบโควิด-19 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน มีความต้องการใช้ มีคนใช้ไวไฟมากขึ้น ทำให้ไม่เพียงพอรองรับความต้องการจำนวนคนหลายๆ คนพร้อมกัน” นายพุทธิพงษ์กล่าว

ทั้งนี้ หลักการเลือกพื้นที่เป้าหมายจะนำร่องชุมชนที่มีความแตกต่างกันเรื่องโจทย์ความต้องการ เช่น ชุมชนที่เป็นแหล่งค้าขายขนาดใหญ่ 1 แห่ง เข้าไปติดตั้งไวไฟสปีดแรงกระจายไว้ 50 จุด จากนั้นเอาหน่วยงานของดีอีเอส เช่น กสท หรือสดช. เข้าไปอบรมการขายของออนไลน์ให้ผู้ประกอบการในชุมชน ปลดล็อกปัญหาขายสินค้าไม่ได้เพราะพิษโควิด/เพิ่มโอกาสการขายสินค้าออนไลน์ และใช้บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) เป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้า พร้อมให้มอบโปรโมชั่นส่วนลดค่าบริการให้กับผู้ค้า

ส่วนชุมชนเมืองในภูมิภาค บางพื้นที่อาจมุ่งเพิ่มโอกาสด้านการศึกษา ให้เด็กสามารถเข้าถึงเรียนออนไลน์, มุ่งการสร้างอาชีพ ในบางพื้นที่ซึ่งมีวัยแรงงานที่ต้องโยกย้ายกลับภูมิลำเนาเพราะตกงานจากโควิด เมื่อมีการกระตุ้นให้เกิดการค้าขายออนไลน์ในชุมชน คนกลุ่มนี้ก็อาจปรับเปลี่ยนมาเป็นพนักงาน delivery สินค้าภายในชุมชน/ชุมชนใกล้เคียงได้ เป็นต้น

ป้จจุบัน ปณท. มีความพร้อมในการเข้ามาเป็นหนึ่งในหน่วยงานสนับสนุนอี-มาร์เก็ตเพลส หรือคอมเมิร์ซชุมชนในโครงการนำร่องฟรีไวไฟชุมชนเมือง เนื่องจากล่าสุด “โครงการสนับสนุนค่าจัดส่งสินค้าอุปโภค บริโภค และค่าจัดส่ง/จัดซื้อสินค้าที่จำหน่ายใน Platform ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อาทิ www.thailandpostmart.com ฯลฯ และการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ เพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และ กระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19” ได้รับการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ตามกรอบวงเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 วงเงิน 4 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยื่นเสนอขอสนับสนุนงบประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งแม้จะไม่ได้รับการอนุมัติเต็มตามจำนวนที่เสนอไป แต่ก็จะเป็นโครงการสำคัญที่สามารถช่วยเหลือให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายในใช้บริการ ขณะที่ การที่มีหลายหน่วยงานของกระทรวงฯ เข้ามาร่วมบูรณาการสนับสนุนและต่อยอดโครงการอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ จะช่วยให้มีการใช้งบประมาณได้มาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และส่งผลกระทบในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

โดยจะมีภาคส่วนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้ประกอบการ/ประชาชนทั่วไป จะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็น 2. ประชาชนที่สั่งซื้อ/ผู้รับสินค้า จะได้รับการสนับสนุนเงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นซึ่งจำหน่ายผ่าน www.thailandpostmart.com หรือใช้เป็นค่าจัดส่งสินค้าสำหรับการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ

และ3. ผู้ประกอบการ/หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน สามารถใช้บริการ ปณท เพื่อส่งสิ่งของ/สินค้าระหว่างกันได้ในอัตราค่าบริการพิเศษ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยค่าบริการส่วนต่างจากอัตราค่าบริการที่ ปณท เรียกเก็บในอัตราปกติ

รมว. ดีอีเอส มอบนโยบายผู้บริหารบูรณาการโครงการหนุนเพิ่มรายได้ปชช.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ