ITAP เครือข่าย ม.พะเยา คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม เชิญสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ และเพิ่มศักยภาพการใช้พลังงานทดแทน

พุธ ๓๐ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๔:๔๘
ITAP เครือข่าย ม.พะเยา คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม เชิญสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ และเพิ่มศักยภาพการใช้พลังงานทดแทน

คณบดีคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ ผู้จัดการเครือข่าย ITAP-UP มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วย ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร ผู้อำนวยการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. และ ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์ ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา นำทีมสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ สถานที่ดำเนินโครงการ Biogas บริเวณโดยรอบ ณ บริษัท รวมพรมิตร ฟาร์ม จำกัด ตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 จากความต้องการของผู้ประกอบการ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด ที่ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเสียของกิจการที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงไก่ ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญได้ลงพื้นที่หารือ พร้อมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการติดตั้งระบบบาบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนน้ำเสียและของเสียให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ และสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบพลังงานทดแทนได้โดยการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ในกิจการ และยังลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น เพิ่มประสิทธิภาพของระบบและน้ำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบสามารถผลิตก๊าซชีวภาพในปริมาณที่สูงขึ้น

โดยการติดตั้งเครื่องกวนผสมแบบเชิงกลที่ไม่ทำให้เกิดการเติมอากาศภายในบ่อหมักแบบอัตโนมัติ (PLC) แบบ Airlift เพื่อทำการกวนตะกอนภายในบ่อหมัก เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศท้างานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดย ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์ ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา ได้เป็นผู้ให้คำปรึกษาและดูแลโครงการนี้ร่วมกับผู้ประกอบการ รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ ผู้จัดการเครือข่าย ITAP-UP มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า การพัฒนาแบบเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชนที่นำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด เกิดเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กับการพัฒนางานวิจัยเชิงนวัตกรรมของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความเหมาะสมสอดคล้อง และตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น และจากการดำเนินงานของ iTAP เครือข่าย ม.พะเยา 3 ปีที่ผ่านมา สามารถสนับสนุนธุรกิจในระดับ SME ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน ด้านนวัตกรรมอาหาร ด้านการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อกระบวนการผลิตการส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรและ Smart Farm ด้วย

ทั้งนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศหรือระบบก๊าซชีวภาพที่ได้ติดตั้งไปนั้น สามารถตอบโจทย์เป้าหมายของกิจการ ซึ่งปัจจุบันบริษัทสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพหมดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและจำนวนแมลงวัน อีกทั้งยังสามารถนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในฟาร์มได้ถึง 70% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในฟาร์ม นอกจากนี้ ยังช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ติดตามมาคือ บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน และบริษัทสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4