กระทรวงเกษตรฯ แจ้งข่าวดี ! ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการเพาะเลี้ยงหอยทะเล & สัตว์น้ำในกระชังทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ธ.ค. 65

จันทร์ ๐๕ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๑๕
กระทรวงเกษตรฯ แจ้งข่าวดี ! ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการเพาะเลี้ยงหอยทะเล สัตว์น้ำในกระชังทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ธ.ค. 65

กรมประมง แจ้งข่าวดี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แก่พี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงหอยทะเล สัตว์น้ำในกระชัง และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ทำการเพาะเลี้ยงในที่สาธารณสมบัติ

ของแผ่นดิน มีผลตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 ธันวาคม 2565 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ให้สามารถประกอบอาชีพและเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงสร้างรายได้แก่ครอบครัวและเพิ่มรายได้ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากนโยบายของท่าน ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มอบหมายให้กรมประมงหาแนวทางการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่มีการเลี้ยงหอยทะเลและการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา
โดยเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับกรมประมง และผู้แทนเกษตรกรกลุ่มต่างๆ อาทิ ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงหอยแครงบางตะบูน และผู้แทนผู้เพาะเลี้ยงหอยทะเล ฯลฯ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวฯ ซึ่งผลที่ประชุมมีมติเสนอให้ออกกฎกระทรวงฯ เพื่อยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิด และมอบหมายให้กรมประมง เร่งดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด เพื่อประกาศใช้ต่อไป

ขณะนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกกฎกระทรวง ? ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2563 ? ลงวันที่ 30 กันยายน 2563 โดยเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งการเพาะเลี้ยงหอยทะเล การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวนกว่า 30,000 ราย คิดเป็นเงินกว่า 60 ล้านบาท ในพื้นที่ 71 จังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าว โดยให้สิทธิ์ในแต่ละพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต 1 รอบใบอนุญาต เริ่มตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ หากจังหวัดใดมีการชำระค่าธรรมเนียมไปแล้วก่อนหน้านี้ เกษตรกรจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตฯ ในรอบใบอนุญาตครั้งถัดไป

จึงถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ ที่ ดร. เฉลิมชัย  ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายมีศักดิ์  ภักดีคง  อธิบดีกรมประมง พยายามผลักดันมาตรการดังกล่าวจนเป็นผลสำเร็จในวันนี้  และกรมประมงได้เร่งรัดให้ประมงจังหวัดแลประมงอำเภอในพื้นที่สร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ถึงสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินได้รับทราบโดยทั่วกัน และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กรมประมง โทร. 0 2561 0211 ในวันเวลาราชการ  รองอธิบดีฯ กล่าวในตอนท้ายว่า กรมประมง จะมุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงให้มีความยั่งยืน สร้างความอยู่ดีมีสุขของพี่น้องเกษตรกร ชาวประมง และผู้ประกอบการด้านประมง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาชีพประมงและด้านเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!