สทนช.ลุยตรวจงาน 3 โปรเจคยักษ์ แก้ท่วม-แล้งลุ่มน้ำทะเสสาบสงขลา

จันทร์ ๑๒ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๓๑
สทนช.ลุยตรวจงาน 3 โปรเจคยักษ์ แก้ท่วม-แล้งลุ่มน้ำทะเสสาบสงขลา

สทนช. ลงใต้ตรวจงานโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ล็อกเป้า 3 จุดสำคัญ ?แนวขุดลอกร่องน้ำแหลมสนอ่อน-แก้มลิงบ้านชะแล้-ประตูระบายน้ำบางหยี? ย้ำช่วยสะท้อนการดำเนินงานภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน พร้อมแจงมาตรการเฝ้าระวังน้ำหลากภาคใต้ช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ วันนี้ (10 ต.ค.63) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เดินทางลงพื้นที่ จ.สงขลา เพื่อติดตามการดำเนินการโครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยทะเลสาบสงขลา ที่ สทนช. ได้ดำเนินการศึกษามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ปัจจุบันผลการศึกษาใกล้จะแล้วเสร็จและจะจัดให้มีการประชุมปัจฉิมนิเทศ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

เลขาธิการ สทนช. ระบุว่า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นลุ่มน้ำสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา (อำเภอเมือง หาดใหญ่ สะเดา รัตภูมิ ระโนด สทิงพระ ควนเนียง กระแสสินธุ์ นาหม่อม บางกล่ำ คลองหอยโข่ง จังหวัดพัทลุงทั้งหมด และจังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอชะอวด และหัวไทร) ที่ผ่านมาพื้นที่บริเวณนี้ มีปัญหาน้ำท่วม ขาดแคลนน้ำ คุณภาพน้ำ การรุกตัวของน้ำเค็ม ตะกอนในทะเลสาบ เป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจและเริ่มมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหามาตั้งแต่ปี 2514 แต่ด้วยสภาพพื้นที่ขนาดกว้างใหญ่และการใช้ประโยชน์ที่แตกต่าง ทำให้การศึกษาและการดำเนินการโครงการยังไม่ได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ ส่งผลให้มีบางโครงการต้องถูกระงับไป ภายหลังจากที่รัฐบาลได้จัดตั้ง สทนช. เมื่อปี 2560 และหลังจากที่พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ได้ประกาศใช้เมื่อต้นปี 2562 ได้กำหนดให้ สทนช. เป็นหน่วยงานหลักในการศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมในเชิงยุทธศาสตร์และบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนศึกษาแผนหลักและแผนปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะการบรรเทาอุทกภัยภัยแล้ง และพื้นที่ Area Based ที่เกี่ยวข้องในทุกลุ่มน้ำ สทนช. จึงได้คัดเลือกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาขึ้นมาดำเนินการเพื่อหวังผลในการหาทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลจากรอบด้านทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และจากการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ผ่านมา ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน ในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำ 5 ด้าน ได้แก่ 1.ปัญหาอุทกภัย 2.ปัญหาการขาดแคลนน้ำ/การรุกตัวของน้ำเค็ม 3.ปัญหาคุณภาพน้ำ 4.ปัญหาตะกอนในทะเลสาบ/สิ่งแวดล้อม และ 5.ปัญหาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยในการศึกษาได้กำหนดแนวทางพัฒนาทรัพยากรน้ำ สำหรับจัดทำแผนหลัก 20 ปี รวมงบประมาณกว่า 69,395 ล้านบาท ได้แก่ ด้านน้ำท่วม 14 กลุ่มโครงการ ด้านขาดแคลนน้ำ/รุกตัวของน้ำเค็ม 28 กลุ่มโครงการ ด้านคุณภาพน้ำ 9 กลุ่มโครงการด้านตะกอนในทะเลสาบ/สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ 20 กลุ่มโครงการ ด้านองค์กร/การบริหารจัดการ จัดทำในลักษณะของข้อเสนอแนะการปรับองค์กร การปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้บริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น แก้ไขปัญหาด้านพื้นที่ทับซ้อน

ในการลงพื้นที่ในวันนี้ คณะเลขาธิการ สทนช. ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการที่สอดคล้องกับการศึกษาที่เกี่ยวกับตะกอนในทะเลสาบสงขลา ได้แก่ การดำเนินการขุดลอกร่องน้ำทะเลสาบสงขลา (ร่องใน) ของกรมเจ้าท่า บริเวณ แหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา เป็นจุดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมาก เนื่องจากเป็นร่องน้ำทางเดินเรือของเรือสินค้าขนาดกลางที่มาขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงบริเวณท่าเรือเอกชน รวมถึงเรือประมงที่มาขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา อีกทั้งยังเป็นร่องน้ำที่ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำจากทะเลสาบสงขลาตอนล่างสู่อ่าวไทย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการขุดลอกร่องน้ำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อนำตะกอนสะสมในร่องน้ำออกไม่ให้เกิดความตื้นเขิน ป้องกันการเกิดเนินทรายหรือสันดอนทราย โดยการขุดลอกร่องน้ำดังกล่าวต้องทำควบคู่ไปกับการขุดลอกร่องกลางทะเลสาบตอนล่างและร่องน้ำร่องนอก เพื่อให้เรือสามารถสัญจรเข้า-ออกได้ตามปกติ และช่วยระบายน้ำในฤดูน้ำหลากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดที่สอง การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ได้แก่ การดำเนินการของกรมชลประทาน บริเวณแก้มลิงบ้านชะแล้ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรสทิงพระซึ่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกับ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ได้แก่ อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ และ อ.สิงหนคร ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบชายทะเล ในอดีตไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำ รวมถึงคลองและระบบลำเลียงน้ำในพื้นที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และน้ำทะเลหนุนสูง จนไม่สามารถทำการเกษตรได้ ซึ่งจากการศึกษาของกรมชลประทานพบว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด คือ การสร้างแก้มลิง 3 จุด โดยแก้มลิงบ้านชะแล้เป็นหนึ่งในโครงการดังกล่าว โดยลักษณะโครงการเป็นการขุดแก้มลิงเนื้อที่ประมาณ 275 ไร่ลึก 4 เมตร ความจุประมาณ 1.76 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมก่อสร้างอาคารและส่วนประกอบ เช่น อาคารระบายน้ำอาคารรับน้ำ อาคารอัดน้ำ รางระบายน้ำ ทำนบดิน และถนนลาดยาง ซึ่งหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งสำหรับทำการเกษตรของประชาชนใน ต.ชะแล้ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์ประมาณ 816 ครัวเรือน ประชากร 2,908 คน พื้นที่การเกษตร 1,418 ไร่

สำหรับจุดสุดท้าย คือ แนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยกรมชลประทาน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบรรเทาอุทกภัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ระยะที่ 2) เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จากเดิมได้เพียง 465 ลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่

  1. งานปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ความยาว 21.34 กิโลเมตร
  2. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 เป็นประตูระบายน้ำชนิดบานโค้ง ขนาด 12.50 x 7.50 เมตร จำนวน 3 ช่อง
  3. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 เป็นประตูระบายน้ำชนิดบานระบายตรง ขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 8 ช่อง และ
  4. งานก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยี อัตราการสูบรวม 90 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

?ทั้ง 3 จุด แม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แต่ถือเป็นตัวอย่างการดำเนินงานภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีความเหมาะสมทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และการบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการดำเนินการไม่ได้คำนึงเพียงการพัฒนาสิ่งก่อสร้างให้เกิดผลประโยชน์ ในเรื่องน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาภายใต้การศึกษาที่คำนึงถึงความสมดุลของน้ำ ชลศาสตร์ รวมถึงประเด็นในเรื่องคุณภาพน้ำ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตของประชาชน และอาชีพของคนในพื้นที่ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะนำมาซึ่งความยั่งยืนที่แท้จริง? เลขาธิการ สทนช. กล่าว

ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ไม่เพียงแต่การวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอย่างเป็นระบบข้างต้นแล้ว การติดตามประเมินสถานการณ์น้ำเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการป้องกันผลกระทบไว้ล่วงหน้า ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้มีการติดตามสถานการณ์ฝนในช่วงเดือนตุลาคมร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านทางตอนล่างของประเทศ ส่งผลให้ภาคใต้เริ่มมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากจากการคาดการณ์ปริมาณฝนในช่วง 7 วันข้างหน้า พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำป่าไหลหลาก จำนวน 5 จังหวัด บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล ทั้งนี้ กอนช. จะมีการประชุมติดตามแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง รวมถึงประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำต่าง ๆ แก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 51 แห่ง ยังคงเหลือ 12 แห่ง จากแผนทั้งหมด 115 แห่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?