หัวเว่ยปลื้ม ลูกค้าคว้า 3 รางวัลเมืองอัจฉริยะ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 3 รางวัลที่งาน 2020 Smart City Expo World Congress

ศุกร์ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๔:๑๖

--เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และเขตหนานไห่ เมืองฝอซาน ได้รับรางวัล

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่งาน Smart City Expo World Congress ครั้งที่ 10 ลูกค้าของหัวเว่ย ได้รับรางวัล World Smart City Award จำนวน 3 รางวัล และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอีก 3 รางวัลสำหรับไอเดียเชิงนวัตกรรมและความสำเร็จที่โดดเด่นในการดำเนินโครงการเมืองอัจฉริยะ โดยเซินเจิ้นได้รับรางวัล Enabling Technologies Award สำหรับการใช้เทคโนโลยีพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของเมือง เซี่ยงไฮ้ได้รับรางวัล City Award ซึ่งเป็นรางวัลที่ยกย่องเมืองอัจฉริยะระดับโลก เขตหนานไห่ เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้งได้รับรางวัล Economy Award ขณะที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี มหานครเทียนจิน (Tianjin Economic - Technological Development Area - TEDA) เขตเศรษฐกิจใหม่เจิ้งตง (Zhengdong New District) มณฑลเหอหนาน และเมืองหวงซาน มณฑลอันฮุย ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Inclusive & Sharing Cities Award (เมืองที่ให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มคนและการแบ่งปัน) รางวัล Innovative Idea Award (ไอเดียเชิงนวัตกรรม) รางวัล Governance & Service Award (ธรรมาภิบาลและบริการ) และรางวัล Economy Award (เศรษฐกิจ) ตามลำดับ รางวัลเหล่านี้ไม่เพียงยกย่องผู้ได้รับรางวัล แต่ยังแสดงถึงความชื่นชมที่อุตสาหกรรมมีต่อหัวเว่ยในด้านการสร้างเมืองอัจฉริยะ โดยในระหว่างงานเอ็กซ์โป หัวเว่ยยังได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Smart City Summit ภายใต้ธีม "Empowering the City Being with Intelligence and Vitality" (ส่งเสริมชีวิตในเมืองด้วยความอัจฉริยะและพลังชีวิต) เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการสร้างเมืองแห่งอนาคต

Yue Kun ประธาน Global Government Business Unit ของหัวเว่ย กล่าวว่า "ขณะที่เราเดินหน้าการก่อสร้างและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เราต้องเริ่มต้นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในขั้นต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติด้วยประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของเรา เนื่องจากเมืองอัจฉริยะเป็นรูปแบบใหม่ของการพัฒนาเมืองในอนาคต เราจึงต้องมุ่งเน้นไปที่ปัญหาหลักของเมือง ยึดแนวคิดที่มุ่งเน้นผู้คน มุ่งให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและมุ่งเน้นประสบการณ์เกี่ยวกับบริการของเมือง ตลอดจนมุ่งสร้างความเชื่อมโยงแนวนอนและการรื้อปรับกระบวนการ กระบวนการดังกล่าวรวมถึงการวางแผนระบบธุรกิจในภาพรวม ความร่วมมือในห้าวงการเทคโนโลยีหลัก การเชื่อมถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพของระบบข้อมูล และการพัฒนาระบบปฏิบัติการอย่างยั่งยืน การสร้างเมืองให้เป็นบ้านแสนสุขอย่างมีระบบจะทำให้เราสามารถสร้างคู่แฝดเมืองอัจฉริยะและสร้างชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกัน"

เซี่ยงไฮ้ได้รับรางวัล City Award ในฐานะเมืองอัจฉริยะที่สร้างสุขด้วยเทคโนโลยี

การพัฒนาเมืองขึ้นอยู่กับแนวคิด รากฐาน และรูปแบบของการก่อสร้างเมือง ซึ่งผลปรากฏว่า เซี่ยงไฮ้ เมืองอัจฉริยะระดับโลกจากนวัตกรรมของหัวเว่ยในยุคดิจิทัล ได้รับการยกย่องด้วยรางวัล City Award ระดับโลก

หัวเว่ย และ Urban Operation and Management Center ได้ร่วมกันพัฒนาระบบสัมผัสอัจฉริยะ "12345" ในเขตสวีหุ้ย นครเซี่ยงไฮ้ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นสำคัญจากสามมิติ ได้แก่ เวลา พื้นที่ และผู้คน ซึ่งจากการรับมือประเด็นสำคัญในอดีตที่ผ่านมา ได้มีการสร้างโมเดลพื้นฐานเพื่อเป็นกระบวนการวงปิดในการสร้างการรับรู้อัจฉริยะ การวิเคราะห์ข้อมูล และการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับเครื่องจักร ทำให้สามารถคาดการณ์ประเด็นด่วนและความเสี่ยงที่สำคัญได้ล่วงหน้า เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และระหว่างการก่อสร้างเขตเมืองอัจฉริยะ เขตหวงผู่ของเซี่ยงไฮ้ได้เสนอภารกิจการก่อสร้างและเป้าหมายโดยรวมของ "IoT, การเชื่อมโยงข้อมูล และการเชื่อมต่ออัจฉริยะ" โครงการดังกล่าวมีการออกแบบเชิงนวัตกรรมระดับโลก และจะสร้าง Urban Operation Management Center ในเขตหวงผู่ด้วยโมเดลการปฏิบัติการและการจัดการเชิงนวัตกรรมที่ครอบคลุม พร้อมคำนึงถึงทุกพื้นที่และเวลาด้วยกระบวนการวงปิดอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบัน เขตดังกล่าวมีแอปพลิเคชั่นพิเศษ 15 แอปในสี่ด้าน ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ การบริหารจัดการสาธารณะ บริการสาธารณะ และปฏิบัติการเศรษฐศาสตร์ ในกระบวนการปรับปรุงการบริหารจัดการเมืองระดับมหานคร แนวคิด "การจัดการเครือข่ายอย่างมีเอกภาพ" ช่วยส่งเสริมธรรมาภิบาลของเมืองอัจฉริยะเพื่อนำไปสู่เขตหวงผู่ที่มีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น

เซินเจิ้นได้รับรางวัล Enablng Technologies Award จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้น

จากเป้าหมายในการสร้างคู่เมืองอัจฉริยะชั้นหนึ่งแห่งใหม่ (Double First-Class New Smart City) เซินเจิ้นได้สร้างคู่แฝดเมืองอัจฉริยะเผิงเฉิง (Pengcheng Intelligent Twins) โดยใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเมืองอย่างครอบคลุม ด้วยการวางระบบในหกด้าน ได้แก่ บริการสาธารณะ ความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ ธรรมาภิบาลของเมือง อุตสาหกรรมอัจฉริยะ บริการบิ๊กดาต้า และเครือข่ายการรับรู้ เซินเจิ้นได้สร้างรูปแบบการก่อสร้างเมืองอัจฉริยะแบบใหม่ที่ใช้การบูรณาการ ประกอบด้วยแพลตฟอร์ม แอปพลิเคชั่น และสมองอัจฉริยะของเมือง ซึ่งยกระดับการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นธรรมาภิบาลของเมือง บริการสาธารณะ และการพัฒนาอุตสาหกรรม

เซินเจิ้นได้วาดภาพเมืองที่มีภูมิทัศน์อัจฉริยะแห่งอนาคตแบบครบวงจรในหนึ่งเดียว (all-in-ONE) ได้แก่ แผนที่เมืองในที่เดียว หมายเลขโทรศัพท์เดียวสำหรับบริการของเมือง คลิกเดียวสำหรับวิสัยทัศน์รอบด้าน โครงสร้างเดียวสำหรับการทำงานและการเชื่อมต่อที่รวมไว้ในที่เดียว และหน้าจอเดียวสำหรับการใช้ชีวิตแบบอัจฉริยะ ด้วยระบบบริการของรัฐที่เชื่อมถึงกันผ่านระบบดิจิทัล บริการอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของรัฐบาลได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เสมอ ในปี 2020 เซินเจิ้นวางแผนสร้างสถานีฐาน 5G จำนวน 46,000 แห่ง เป็นเมืองแห่งแรกในจีนที่มีโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่ครอบคลุมอย่างสมบูรณ์พร้อมเครือข่ายที่เป็นอิสระ เซินเจิ้นกำลังจะก้าวเป็นศูนย์รวมเชิงนวัตกรรมสำหรับความอัจฉริยะของอุตสาหกรรมและการเป็นผู้นำในแง่ของเทคโนโลยี

นอกจากนี้ ด้วยการสร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการรายงานและดำเนินการในไม่กี่วินาที เซินเจิ้นได้ทำให้บริการหลัก 350 รายการในสำนักงานรัฐบาล 53 แห่งย้ายเข้าไปอยู่ในระบบคลาวด์ เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับการบริหารจัดการในเมืองและเขตต่างๆ ซึ่งส่งเสริมคุณภาพของบริการสาธารณะ ด้วยแพลตฟอร์มคลาวด์ของเมือง ข้อมูลจะถูกส่งโดยตรง เป็นการลดกระบวนการที่ต้องกระทำกันต่อหน้า และส่งเสริมบริการไร้สัมผัสในหลากหลายบริการของเมือง นอกจากนี้ เซินเจิ้นยังดำเนินหลากหลายวิธีในการบริหารเวลาทำการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยลดระยะเวลาการจดทะเบียนและอนุมัติบริษัทใหม่ให้เหลือเพียงไม่ถึงนาที การยื่นเอกสารโครงการขององค์กรไปจนถึงการอนุมัติใช้เวลาทั้งหมดเพียงหกวินาทีเท่านั้น

เขตหนานไห่ เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้งได้รับรางวัล Economy Award

เขตหนานไห่ เมืองฝอซานได้รับรางวัล Economy Award สำหรับการก้าวจากอดีตสู่สมัยใหม่ เขตหนานไห่ใช้ระบบไอซีทีแบบใหม่ในการสร้าง "หนานไห่ดิจิทัล" ประกอบด้วยศูนย์บูรณาการข้อมูล การติดตามการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์การตัดสินใจ นิทรรศการที่ครอบคลุม และการบัญชาการและควบคุม ด้วยแนวคิดดังกล่าว ทั้งเมืองสามารถดูได้ในแผนที่เดียว ด้วยระบบปฏิบัติการอัจฉริยะบนหน้าจอเดียวและแอปพลิเคชั่นที่มีเอกภาพบนหนึ่งระบบคลาวด์

ลูกค้าของหัวเว่ยได้เข้าชิงหลากหลายรางวัล

เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี มหานครเทียนจิน (TEDA) เป็นหนึ่งในผู้เข้าชิงรางวัล Inclusive & Sharing Cities Award จากความสำเร็จในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการสร้างเมืองอัจฉริยะ ในปี 2018 หัวเว่ยได้ร่วมมือกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี มหานครเทียนจิน และได้ประกาศ "เมืองอัจฉริยะ AI+" (AI+ Smart City) เป็นแห่งแรกของจีน ได้แก่ TEDA New City หลังจากดำเนินการก่อสร้างอยู่สามปี เมืองอัจฉริยะ Teda New City มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบแอปพลิเคชั่นระดับโลกสำหรับการสนับสนุนนวัตกรรมทางสังคมและบริการทางสังคม เมืองแห่งนี้ได้กลายเป็นเมืองสมัยใหม่ที่เจริญรุ่งเรือง น่าอยู่ และมีความสุข และได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่การสร้างเมืองอัจฉริยะ

เกาะอัจฉริยะเจิ้งโจว (Zhengzhou Smart Island) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Innovative Idea Award สำหรับห้องปฏิบัติการเชิงนวัตกรรม เกาะอัจฉริยะเจิ้งโจวมุ่งเน้น "อนาคต" และ "นวัตกรรม" โดยได้สร้างห้องปฏิบัติการเมืองแห่งอนาคตแบบพาโนราม่าเพื่อสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตในเมืองที่มุ่งเน้นอนาคต ปัจจุบันมีการใช้โดรน 5G และปัญญาประดิษฐ์เพื่อติดตามสภาพแวดล้อมแบบรอบด้าน เป็นระบบอัตโนมัติที่เข้ามาแทนที่การปฏิบัติงานแบบเดิม ขณะเดียวกัน ด้วยบิ๊กดาต้า เกาะอัจฉริยะแห่งนี้ใช้ข้อมูลองค์กรแบบละเอียด 360 องศา สร้างระบบส่งเสริมการลงทุนแบบตรงจุด และสร้างฐานข้อมูลขององค์กร 54 ล้านองค์ทั่วจีน เกาะอัจฉริยะแห่งนี้ใช้โมเดลดิจิทัลสำหรับทุกวัตถุทางกายภาพเพื่อสร้างแฝดดิจิทัลในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เป็นการจัดแสดงเมืองอัจฉริยะและเป็นตัวขับเคลื่อนใหม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจดิจิทัล

เมืองหวงซานได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Governance & Service Award สำหรับการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยว ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างเช่นระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และบิ๊กดาต้า เมืองหวงซานทำตามหลักการ "แบ่งปันแพลตฟอร์ม ร่วมกันสร้างคอนเทนต์ แบ่งปันความสำเร็จ" เพื่อเร่งให้เกิดการสร้างมาตรฐานทรัพยากรข้อมูลและปรับปรุงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ด้วยสมองของเมืองหวงซาน การปฏิบัติงานและศูนย์บัญชาการของ "รัฐบาลดิจิทัล" สามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ ด้วยการมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชั่นวิเคราะห์ด้วยบิ๊กดาต้าในด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการปกป้องสิ่งแวดล้อม เมืองหวงซานเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลของวัฒนธรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ทั้งนี้ หัวเว่ยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเมืองอัจฉริยะ โดยใช้แนวคิดคู่แฝดเมืองอัจฉริยะ (City Intelligent Twins) ในการส่งเสริมการวางแผนร่วมกัน และการก่อสร้างแพลตฟอร์มเชิงเทคนิคต่างๆ อย่างเช่น 5G, คลาวด์, AI และเทอร์มินัลอัจฉริยะ ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือในการให้บริการ หัวเว่ยทำงานร่วมกับคู่ค้าในการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นสำหรับการใช้งานหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการของรัฐบาล ธรรมมาภิบาลทางสังคม บริการสาธารณะ อารยธรรมแห่งนิเวศ และบริการทางเศรษฐกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาเมืองที่หลากหลายและช่วยลูกค้าสร้างแฝดเมืองอัจฉริยะเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันในภาพรวม ปัจจุบัน หัวเว่ยได้ให้บริการโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะแก่เมืองกว่า 200 แห่งใน 40 ประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4