วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรม...รองรับโลกอนาคต

พฤหัส ๒๖ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๑:๕๐

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ ผนึกความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำโดย รศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ รศ.นพ.ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ในโอกาสมาเยี่ยมชมและขับเคลื่อนแนวทางพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมรองรับโลกอนาคต เพื่อให้เกิดความรู้ที่หลากหลายและต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเศรษฐกิจไทยและประชาคมโลก ณ ศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม Innogineer Maker Studio คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรม.รองรับโลกอนาคต

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการที่ก้าวหน้าทันสมัยและ Eco-System ต่าง ๆที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การศึกษาและวิจัยบูรณาการที่ตอบโจทย์ใช้ประโยชน์ได้จริง อาทิ Innogineer Maker Studio ศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม เปรียบเสมือนเวิร์คช็อป ครบครันเครื่องมือไฮเทคที่เปิดโอกาสให้เมคเกอร์และเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาทำโปรเจคต่าง ๆ บ่มเพาะสตาร์ทอัพ สร้างชิ้นงานและต้นแบบจากความคิดสร้างสรรค์ สานความฝันสู่ความเป็นจริงและกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย , BART LAB ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์, Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือแพทย์, BCI LAB ห้องปฎิบัติการการเชื่อมต่อคลื่นสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์, BIOSENS LAB ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีไอโอเซนเซอร์ เทคโนโลยีสำหรับการตรวจวัดหาสาร , SMART LAB ห้องวิจัยที่พัฒนาอุปกรณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการฟื้นฟูเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีการประมวลภาพและสัญญาณจากกล้ามเนื้อ, AIOT LAB ห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่ง และ Flexible Manufacturing System ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม การเชื่อมประกอบแบบโดยใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมที่ให้ความยืดหยุ่น รวมถึงการผลิตเครื่องมือแพทย์ทางด้านงานโลหะและการขึ้นรูปโลหะ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้นำชมโครงการแข่งขันชิงแชมป์โลก ไซบาธอน2020 (Cybathlon)?ซึ่งเปรียบเสมือนโอลิมปิกแห่งเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการ การแพทย์และมนุษยชาติ ซึ่งมีผู้สมัครเข้าแข่งขัน 77 ทีม จาก 30 ประเทศ โดยทีมมหิดลบีซีไอแลบ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างนวัตกรรมและส่งนักแข่งผู้พิการร่วมแข่งขัน 2 ประเภท เมื่อเร็วๆนี้ และสามารถคว้ารองแชมป์โลก รางวัลเหรียญเงิน ในประเภท BCI (Brain-Computer Interface Race) หรือ ใช้คลื่นสมองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ควบคุมสั่งการแข่งรถ แค่คิด?ก็ขับรถแข่งได้ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!