ความต้องการในเรื่องการเพิ่มผลผลิต ผลักดันให้ภาคการเกษตรของไทยใช้ไอทีมากขึ้นถึง 7.02%

อังคาร ๐๕ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๒:๓๓
ความทันสมัย (Modernization) และ การเป็นดิจิตอล (Digitalization) ของภาคการเกษตรของประเทศไทยได้ผลักดันให้การใช้ไอทีมากขึ้นถึง 7.02% การปรับเปลี่ยนซึ่งเริ่มต้นมาจากโยบายของภาครัฐฯ มุ่งเน้นไปยังการสร้างสมาร์ทฟาร์ม และการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาสร้างนวัตกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนการเกษตรจากรูปแบบเดิมๆ

39% ของแรงงานไทยนั้นอยู่ในภาคเกษตร และเป็นแหล่งรายได้หลักของประชากรในประเทศไทย การทำการเกษตรของไทยต้องประสบปัญหาในหลายด้าน เช่น ความเสื่อมโทรมของหน้าดิน การใช้ปุ๋ย สารเคมี และแรงงานขาดทักษะทำให้ได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ การพัฒนาความสามารถในการใช้ดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบถือเป็นโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์ม ด้วยการนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 – คลาวด์ โมบิลิตี้ และเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ การสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการเพิ่มผลผลิต อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความเข้าใจในพื้นฐานของเทคโนโลยี ระดับการศึกษา และ เงินทุน

"แท้จริงแล้วอุปสรรคไม่ได้อยู่ในตัวของเทคโนโลยีเอง เทคโนโลยีเหล่านี้มีพร้อมอยู่แล้วในปัจจุบันแต่กลับกลายเป็นเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของภาคการเกษตร และความสามารถในการนำเสนอสิ่งเหล่านี้ให้เหมาะสมแก่การลงทุนอย่างประหยัดและใช้งานง่าย" เอมิลี่ ดิทตอน หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านเหมืองแร่ทั่วโลก ของ IDC Energy Insights กล่าว "บริษัทในอุตสาหกรรมการเกษตรนั้นเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องของความสำคัญและประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้งานกับฟาร์ม พื้นที่ของฟาร์ม การใช้งานแรงงาน วิธีการทำการเกษตร จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับบริษัทเหล่านั้นผ่านทางการมีฐานะทางการเงินที่มั่งคั่ง ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่และเพิ่มการลงทุน

โครงการใหม่ในการพัฒนาสมาร์ทฟาร์ม จะเปลี่ยนแปลงแนวทางการใช้เทคโนโลยีและวิธีการทำการเกษตร เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ โมบิลิตี้ บิ๊กดาต้า และเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ ร่วมกับนวัตกรรมสนับสนุน (เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ IoT เครื่องมื่อช่วยวิเคราะห์บิ๊กดาต้าและระบบการสร้างการรับรู้ข้อมูล) ได้ถูกนำมาใช้ร่วมกันในการยกระดับรูปแบบการทำการเกษตรและเพิ่มบทบาทของเทคโนโลยีเหล่านั้นด้วย

อัตราการเติบโตการใช้ไอทีของภาคการเกษตร ไอดีซีวิเคราะห์มาจากผลผลิตที่ได้ต่อหนึ่งรอบการเพาะปลูกร่วมกันกับข้อมูลสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก หน่วยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของไทยกำลังมองหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และการบริหารจัดการฟาร์ม บทบาทของ IoT และการบริหาร การใช้งานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผลจะเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เทคโนโลยีถูกนำมาใช้ได้อย่างเพิ่มคุณค่า

"ภาคการเกษตรของไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการใช้ดิจิตอล และกำลังอยู่ในขั้นของการปรับเปลี่ยน ซึ่งจะยกระดับรูปแบบการทำการเกษตรของไทย เมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ" ไมเคิล อาราเนต้า ผู้จัดการประจำไอดีซีประเทศไทย กล่าว "ขั้นตอนนี้จะดำเนินไปทีละก้าว การหาโอกาสที่รวดเร็วและนำมาปฏิบัติได้ง่ายในการปรับเปลี่ยนจะถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ และในที่สุดสิ่งนี้ก็จะปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรของไทยได้ทั้งหมด"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest